ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

สำรวจ ทวีปแอนตาร์กติกา ดินแดนแห่งน้ำแข็งขั้วโลกใต้

ทวีปแอนตาร์กติกา

ทวีปแอนตาร์กติกา พื้นที่สภาพอากาศหนาวเย็นมากที่สุด เมื่อเทียบกับทวีปอื่น ๆ จนมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้อย่างถาวร มีเพียงแค่สัตว์บางสายพันธุ์เท่านั้น ที่สามารถเอาตัวรอดได้ เราจึงพามาศึกษาเพิ่มเติมกันว่า แอนตาร์กติกาเป็นทวีปแบบไหน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

ทวีปแอนตาร์กติกา ทวีปหนาวเย็นจัดสุดขั้ว

ทวีปแอนตาร์กติกา (Antarctica) ทวีปส่วนขั้วโลกใต้ จากวงกลมละติจูดแอนตาร์กติก ถูกล้อมรอบด้วย มหาสมุทรแอนตาร์กติก โดยมีขนาดใหญ่กว่า ทวีปยุโรป จัดอยู่ในอันดับ 5 ของโลก กับพื้นที่ทั้งหมด 14 ล้านตารางกิโลเมตร (คิดเป็น 40%) และประชากรอาศัยประมาณ 135 คน (ถาวร) และ 5,000 คน (ชั่วคราว) [1]

อธิบายลักษณะ ทวีปแอนตาร์กติกา

แอนตาร์กติกาส่วนมากปกคลุมไปด้วย แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก ครอบคลุมพื้นที่กว่า 98% ของทวีป โดยแผ่นน้ำแข็งมีความหนาเฉลี่ย 1.9 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยน้ำแข็ง 26.5 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร เทียบเท่ากับปริมาณน้ำจืดทั้งหมดบนโลกถึง 61%

สภาพภูมิอากาศ จะมีเพียง 2 ฤดู คือ ช่วงฤดูหนาวยาวนาน ส่วนฤดูร้อนเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ โดยแอนตาร์กติกา เป็นทวีปที่มีความสูง เหนือระดับน้ำทะเลมากที่สุดเฉลี่ย 2,300 เมตร โดยอุณหภูมิจะหนาวเย็นตลอดเวลา ประมาณ -62 ถึง -55 องศาเซลเซียส [2]

แหล่งอาศัยของประชากร

ขั้วโลกใต้เป็นบริเวณที่ไม่ค่อยมีประชากรท้องถิ่น อาศัยอยู่แบบถาวร เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ และสภาพอากาศไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย โดยจะมีเพียงนักท่องเที่ยว และสถานีวิจัยจากหลายประเทศ เข้ามาสร้างฐานที่ตั้ง ในแอนตาร์กติกาแบบชั่วคราว เพื่อทำการวิจัยตามระยะเวลาเท่านั้น

แตกต่างกับขั้วโลกเหนือ ที่มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ได้ โดยเป็นชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วย ชาวเอสกิโม และ ชาวนอร์เวย์ แม้ว่าจะมีสภาพอากาศหนาวเย็นมาก แต่น้อยกว่าทางขั้วโลกใต้ จึงสามารถอาศัยอยู่ได้มากกว่า เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติ และเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

ทวีปแอนตาร์กติกา ทะเลน้ำแข็งรวมแร่ธาตุสำคัญ

ทวีปแอนตาร์กติกา

ทวีปน้ำแข็งใน แผนที่โลก โดยถูกค้นพบจากนักสำรวจชาวอเมริกัน (John Davis) ปัจจุบันเป็นดินแดนที่มีแร่ธาตุสำคัญอย่างอุดมสมบูรณ์ น้ำทะเลมีความเย็นจัด จนไม่เหลือความเค็มของน้ำทะเล แน่นอนว่าเป็นแหล่งน้ำจืดชั้นดีที่หลายประเทศ ต้องการเข้ามาศึกษาและใช้ประโยชน์ ด้านชลประทานกันเป็นจำนวนมาก

แอนตาร์กติกา เคยเป็นป่าฝนมีไดโนเสาร์?

รู้หรือไม่? แอนตาร์กติกาที่เรารู้จักว่าเป็นทวีปน้ำแข็ง เมื่อประมาณ 90 ล้านปีก่อน เคยเป็นเขตป่าฝน และมีไดโนเสาร์อาศัยอยู่จำนวนมาก จากการศึกษาของทีมนักวิทยาศาสตร์ ทำการขุดเจาะทะเลนอกชายฝั่งตอนใต้ ค้นพบว่ามีดินตะกอนเก่าแก่ และซากฟอสซิลของพืช บ่งชี้ว่าเคยมีต้นไม้หนาทึบและอากาศอบอุ่น

กล่าวว่าอาจมีอุณหภูมิ 12 – 13 องศาเซลเซียส แต่ฤดูร้อนอาจสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายร้อยล้านปีที่ผ่านมา ผืนน้ำแข็งและธารน้ำแข็ง มีการละลายหายไป เกิดจากปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่ทำให้ไดโนเสาร์กินพืช พวกปากเป็ด พวกคอยาว และพวกคล้ายนก ไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไป [3]

เผยข้อสงสัยกับ ทวีปแอนตาร์กติกา

  • ขั้วโลกใต้มีกี่ประเทศ : 19 ประเทศ จากความสำเร็จในการเดินทางสำรวจ
  • ทำไมห้ามสำรวจแอนตาร์กติกา : การสำรวจขั้วโลกใต้ จะถูกจำกัดแบบเข้มงวด ด้วยเหตุผลหลายประการ โดยประการสำคัญคือ เพื่อปกป้องระบบนิเวศอย่างละเอียดอ่อน เพราะกิจกรรมของมนุษย์ มักไปรบกวนสัตว์ป่าและพรรณพืช
  • ทำไมขั้วโลกใต้ถึงเป็นน้ำแข็ง : จากวงโคจรของโลกรอบ ดวงอาทิตย์ ส่งผลให้รังสีความร้อน มีความเข้มข้นต่ำบริเวณขั้วโลก ในช่วงฤดูหนาวจึงหนาวเย็นจัด จนน้ำจับตัวเป็นน้ำแข็ง และมีลมพายุพัดรุนแรง ทำให้หิมะตกอย่างหนัก เรียกกันว่า พายุหิมะ (Blizzards)
  • ขั้วโลกใต้หนาวที่สุดกี่องศา : ช่วงฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิเย็นจัดรุนแรง โดยอุณหภูมิที่บันทึกได้เฉลี่ย -89.2 องศาเซลเซียส ส่วนช่วงฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส
  • แอนตาร์กติกามีสัตว์อะไรบ้าง : เพนกวินจักรพรรดิ แมวน้ำเวดเดลล์ วาฬหลังค่อม นกสคัว กุ้งฝอย สาหร่าย เป็นต้น

สรุป ทวีปแอนตาร์กติกา “Antarctica”

ทวีปแอนตาร์กติกา ทวีปผืนน้ำแข็งขนาดใหญ่อันดับ 5 ด้วยพื้นที่กว่า 14 ล้านตารางกิโลเมตร เราเรียกกันว่า ขั้วโลกใต้ ทวีปที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นมากที่สุด และมีประชากรอาศัยอยู่ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นทวีปที่ดูสวยงามแค่ไหนก็ตาม แต่การเดินทางไปท่องเที่ยว หรือการสำรวจนั้นค่อนข้างยากพอสมควร

อ้างอิง

[1] wikipedia. (November 26, 2024). Antarctica. Retrieved from wikipedia

[2] trueปลูกปัญญา. (May 2, 2019). ความแตกต่างระหว่างขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้. Retrieved from trueplookpanya

[3] bbc. (April 2, 2020). ทวีปแอนตาร์กติกาเคยเป็นป่าฝน. Retrieved from bbc