ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

กระเทียมเถา พรรณไม้ดอกสวย สารพัดประโยชน์

กระเทียมเถา

กระเทียมเถา เป็นพรรณไม้ ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เรื่องของสีสันที่สะดุดตา สวยงามจนต้องหยุดเหลียวมอง นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในรูปแบบ ไม้กระถาง หรือไม้เลื้อยตามซุ้มประตู หรือบริเวณรั้วบ้าน เนื่องจากมีช่อดอกเป็นพวง สามารถนำมารับประทานได้ มีประโยชน์หลายอย่าง มีอะไรบ้างนั้นลองมาดูกันเลย

แนะนำข้อมูล กระเทียมเถา

ชื่อ : กระเทียมเถา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mansoa alliacea (Lam.) A.H. Gentry
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ : Pachyptera hymenaea (DC.) A. Gentry Mansoa hymenaea (Lam.) A. Gentry Pseudocalymma hymeneae (A.P. de Candole) Sanwish
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ถิ่นกำเนิด : ตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ เช่น ในบราซิล ซุรีนัม โบลิเวีย เป็นต้น ต่อมาจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลก

ที่มา: ต้นกระเทียมเถา [1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นกระเทียมเถา

กระเทียมเถา จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย หรือไม้เถาเนื้อแข็งโดยลำต้น หรือเถาสามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียว กิ่งแก่กลมสีเทาอมน้ำตาล มีช่องอากาศกระจายทั่วไปมีมือจับที่ปลายกิ่ง

  • ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงกันข้าม ใบย่อย 1 คู่ เรียงตรงกันข้าม บริเวณข้อเถา มีลักษณะเป็นรูปรี หรือ รูปไข่ โคนและปลายใบแหลมขอบใบเรียบ และเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบาง แต่แข็งกรอบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีอ่อนกว่า เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นคล้ายกระเทียม
  • ดอก : ออกเป็นช่อ บริเวณง่ามใบ ซึ่งใน 1 ช่อ จะมีดอกย่อย 10 – 20 ดอก และเมื่อดอกบานเต็มที่พร้อมกันช่อดอกดูแน่นเป็นพวง ดอกมีสีม่วง หรือ ชมพูอมม่วง แล้วจะซีดลงจนเกือบเป็นสีขาว หรือ ชมพูอ่อน กลีบดอกเป็นรูปกรวยมีอยู่ 5 กลีบ ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนด้านบนมีกลีบใหญ่ เป็นแผ่นกลม 2 กลม ส่วนกลีบล่าง มีกลีบย่น ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อยจำนวน 3 กลีบ มีก้านดอกยาว 0.8 – 1.2 เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยงยาว 4 – 5 มิลลิเมตร ติดกันคล้ายรูประฆังขอบกลีบด้านบนมนเป็นคลื่นเล็กน้อย
  • ผล : ออกเป็นฝัก ลักษณะเป็นฝักแบนแคบ ปลายแหลมรูปขอบขนาน ตามผนังฝักมีเส้นเป็นแนวยาวจากปลายไปหาโคนเมื่อฝักแก่จะแตกตามแนวนี้ ด้านในมีเมล็ด ลักษณะแบนและมีจำนวนมาก โดยด้านข้างของเมล็ด มีด้านข้างมีปีกบางใสทั้งสองด้าน

ที่มา: Mansoa alliacea (Lam.) A. H. Gentry [2]

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ และการตอนกิ่ง
วิธีที่เป็นที่นิยม คือ การเพาะเมล็ด

  • การตอนกิ่ง หากจะให้ติดดี จะต้องใช้ฮอร์โมนช่วย
  • การปักชำกิ่ง ที่ใช้ต้องเป็นกิ่งที่ไม่อ่อน หรือ แก่เกินไป และต้องเด็ดใบออกทิ้งให้หมด ก่อนนำไปปักชำในที่ร่มรำไร

กระเทียมเถาเจริญเติบโตได้ดี ในสภาพแล้ง และที่มีแสงแดดจัด แต่ต้องมีการทำคาน หรือ ที่ยึดเกาะให้กับกระเทียมเถาด้วย เพราะว่าธรรมชาติของกระเทียมเถา จะไม่เลื้อยขึ้นต้นไม้อื่น จึงจำเป็นที่จะต้องช่วยผูกนำทาง ในช่วงแรกของการปลูก เมื่อเลื้อยได้ตามปกติจึงนำเชือกที่ผูกไว้ออก

ประโยชน์ กระเทียมเถา

  • พลังงาน : 255 กิโลจูล (61 กิโลแคลอรี), คาร์โบไฮเดรต 14.15 g, น้ำตาล 3.9 g, ใยอาหาร 1.8 g, ไขมัน 0.3 g, โปรตีน 1.5 g
  • วิตามิน : วิตามินเอ (10%)83 μg, บีตา-แคโรทีน (9%)1000 μg, ลูทีน ซีอาแซนทิน 1900 μg, ไทอามีน (บี1) (5%)0.06 มก., ไรโบเฟลวิน (บี2) (3%) 0.03 มก., ไนอาซิน (บี3) (3%)0.4 มก., กรดแพนโทเทนิก (บี5 )(3%)0.14 มก., วิตามินบี6 (18%)0.233 มก., โฟเลต (บี9) (16%)64 μg, วิตามินซี (14%)12 มก., วิตามินอี (6%)0.92 มก., วิตามินเค (45%)47 μg
  • แร่ธาตุ : แคลเซียม (6%)59 มก., เหล็ก (16%)2.1 มก., แมกนีเซียม (8%)28 มก., แมงกานีส (23%)0.481 มก., ฟอสฟอรัส (5%)35 มก., โพแทสเซียม (4%)180 มก.
  • องค์ประกอบอื่น : น้ำ 83 g

การใช้ประโยชน์

  • ใช้เป็นอาหาร โดยใช้ส่วนของลำต้นเทียมปรุงเป็นอาหารได้
  • ใช้ปรุงรสและแต่งกลิ่นอาหาร
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากถือว่าเป็น ไม้ดอกสีสันสวย เช่นเดียวกันกับต้น แวววิเชียร

สรรพคุณทางยาสมุนไพร กระเทียมเถา

กระเทียมเถาสรรพคุณ เป็นยาฆ่าเชื้อในลำไส้, ขับเสมหะ, ขับปัสสาวะ, บำบัดโรคไขข้ออักเสบ, โรคตับ, และใช้เป็นยาพอก, แก้ไข้หวัด, แก้ไข้หวัดใหญ่, รักษาโรครูมาติก, ใช้เป็นยาลดไข้, แก้เจ็บคอ, ใช้ขับพยาธิ, ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง, ช่วยลดไข้, แก้ไข้มาลาเรีย, แก้ปวด, แก้อักเสบ, ใช้เป็นยาชา และช่วยขับลม [3]

สรุป กระเทียมเถา ไม้ดอกสีสวย เป็นสมุนไพรชั้นดี

กระเทียมเถา

สรุป กระเทียมเถา เป็นไม้ดอกสีสันสวย ที่มีประโยชน์มากมาย สำหรับการใช้ กระเทียมเถาเป็นสมุนไพร นั้นควรจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เช่นเดียวกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสม ที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ การใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับ เด็ก สตรีมีครรภ์ ไม่ควรใช้เพราะว่ายังไม่มีข้อมูล ด้านความปลอดภัยรับรอง

อ้างอิง

[1] wikipedia. (November 20, 2023). ต้นกระเทียมเถา. Retrieved from wikipedia

[2] data.addrun. (November 20, 2017). Mansoa alliacea (Lam.) A. H. Gentry. Retrieved from data.addrun

[3] disthai. (2017-2024). กระเทียมเถา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย. Retrieved from disthai