ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ไคโตซาน หนึ่งในสารอาหารที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ด้วยคุณสมบัติ ช่วยลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นสารธรรมชาติ ที่สกัดจากเปลือกของสัตว์ทะเล มีหลายคำถาม เกี่ยวกับกลไกการทำงาน และประสิทธิภาพที่แท้จริง ในบทความนี้ เราจะพาสำรวจรายละเอียด เกี่ยวกับไคโตซาน จากหลายมุมมอง
ไคโตซานหรือ (Chitosan) เป็นสาร Polysaccharides ที่ได้มาจากการดัดแปลงทางเคมีของ Chitin ซึ่งพบได้ในเปลือกของสัตว์น้ำเปลือกแข็ง เช่นกุ้ง ปู และแมลงบางชนิด ไคตินจะถูกแปรรูปด้วยกระบวนการทางเคมี เพื่อลด Acetyl ให้กลายเป็นไคโตซาน
ไคโตซานมีคุณสมบัติ เป็นสารดูดซับไขมัน มีความสามารถในการจับกับไขมัน และลดการดูดซึมไขมันในร่างกาย ทำให้ไคโตซานมีถูกไปใช้ ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก
นอกจากในสัตว์น้ำ ไคตินยังพบได้ในเชื้อราบางชนิด เช่น Aspergillus และ Mucor ที่มีโครงสร้างของไคติน คล้ายกับในสัตว์ทะเล ไคตินที่พบในผนังเซลล์ของเชื้อรา สามารถถูกแปรรูปให้เป็นไคโตซาน ผ่านกระบวนการดัดแปลงทางเคมี เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้สัตว์ทะเล [1]
บทความจาก MDPI เรื่อง “การวิเคราะห์ Meta เกี่ยวกับการทดลองทางคลินิก แบบสุ่มควบคุมเพื่อประเมินผล ของอาหารเสริมไคโตซานต่อการลดน้ำหนัก, parameter ของไขมันในเลือด และความดันโลหิต” ได้ประเมินประสิทธิภาพของการเสริมไคโตซาน สำหรับการลดน้ำหนัก ผลการศึกษาสำคัญ ได้แก่
งานวิจัยนี้เน้นถึงความจำเป็น ในการทำวิจัยในระยะยาวเพิ่มเติม เพื่อยืนยันผลลัพธ์เหล่านี้ และระบุสูตรไคโตซานที่มีประสิทธิภาพที่สุด สำหรับการจัดการน้ำหนัก [2]
การใช้ไคโตซานเพื่อช่วยลดน้ำหนัก ควรทำอย่างมีความรับผิดชอบ โดยการบริโภคควรเป็นไปตามปริมาณ ที่แนะนำจากผู้ผลิต หรือนักโภชนาการ ไม่ควรใช้ไคโตซานเป็นตัวหลัก ในการลดน้ำหนัก แต่ควรใช้ควบคู่กับการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
ปริมาณไคโตซานที่แนะนำ สำหรับการรับประทาน เพื่อการลดน้ำหนัก อยู่ที่ประมาณ 1,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยควรแบ่งรับประทานเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน ก่อนมื้ออาหาร [3]
ไคโตซานเป็นสารธรรมชาติ ที่มีศักยภาพในการช่วยลดน้ำหนัก ผ่านกลไกการจับไขมัน และลดการดูดซึมไขมันในลำไส้ นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์เพิ่มเติม ในการช่วยลดระดับไขมันในเลือด และเสริมสร้างความรู้สึกอิ่ม ทั้งนี้ผู้บริโภคควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ก่อนเริ่มใช้ไคโตซานในการลดน้ำหนัก เพื่อให้แน่ใจว่า มีการใช้ที่ถูกต้องและปลอดภัย
[1] Springer link. (August 06, 2024). A Green Chemistry Principle. Retrieved from link
[2] mdpi. (December 12, 2018). A Meta-Analysis on Randomized Controlled. Retrieved from mdpi
[3] productnation. (May 09, 2023 ). 10 ไคโตซานยี่ห้อไหนดี. Retrieved from productnation
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.