ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ไทรโลไบต์ พบที่ไหน ฟอสซิลสัตว์ทะเลคล้ายแมงดา

ไทรโลไบต์ พบที่ไหน

ไทรโลไบต์ พบที่ไหน สัตว์ทะเลขาปล้อง หน้าตาคล้ายกับแมงดาทะเล ที่สามารถพบเจอได้ทั่วมหาสมุทรทุกหนแห่ง แต่เฉพาะในยุคดึกดำบรรพ์เท่านั้น เพราะเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วนานหลายล้านปี ถูกค้นพบซากฟอสซิลเป็นจำนวนมาก และค่อนข้างเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ข้อมูลไทรโลไบต์ สัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์

ไทรโลไบต์ (Trilobite) สิ่งมีชีวิตสามแฉก โดยเป็นสัตว์ขาปล้องในทะเล จัดอยู่ในไฟลัม Arthropods ครอบครองมหาสมุทรมานาน 270 – 300 ล้านปี มีสายพันธุ์มากกว่า 22,000 ชนิด กลุ่มสัตว์ขาปล้องชนิดแรกใน รายชื่อ สัตว์สูญพันธุ์ ที่มีการค้นพบซากฟอสซิล อยู่ในยุคแคมเบรียน – ยุคเพอร์เมียน ประมาณ 521 – 251.9 ล้านปีก่อน [1]

ไทรโลไบต์ลักษณะเป็นอย่างไร?

ลักษณะของไทรโลไบต์ มีรูปร่างคล้ายแมงดาทะเล เป็นเปลือกกระดอง และมีรยางค์เป็นข้อปล้อง แบ่งเป็น 3 ส่วน (Tagmata) คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง โดยมีความยาวลำตัวทั่วไประหว่าง 3 – 10 เซนติเมตร และไทรโลไบต์ขนาดใหญ่ที่สุด อาจยาวได้มากถึง 70 เซนติเมตร และน้ำหนักประมาณ 4.5 กิโลกรัม

ส่วนอวัยวะรับความรู้สึก จะมีดวงตาที่ซับซ้อนเป็นแท่งปริซึม มีทั้งเลนส์เดียวและหลายพันเลนส์ ส่วนหนวดของไทรโลไบต์ทั้งหมด จะมีความยืดหยุ่นสูง สำหรับรับรสและดมกลิ่น รวมไปถึงใช้ในการสัมผัสการไหลของน้ำ สัมผัสความร้อน และการรับรู้ของเสียง

อาหารของไทรโลไบต์คืออะไร?

ไทรโลไบต์มีแหล่งอาศัย ในทะเลตื้นและลึก ซึ่งสามารถอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อม ที่มีออกซิเจนต่ำได้ดี บางชนิดเคลื่อนตัวไปตามพื้นทะเล ในฐานะนักล่า พวกมันเลือกกินซาก และดูดสารอาหารจากสารอินทรีย์ บางชนิดว่ายน้ำเลือกกินแพลงก์ตอน และบางชนิดคลานขึ้นมาบนบกได้ด้วย

จากการค้นพบฟอสซิล เผยให้เห็นว่าลำไส้ของไทรโลไบต์ เต็มไปด้วยซากเปลือกหอย ซากเม่นทะเล และซากพลับพลึงทะเล แน่นอนว่าไทรโลไบต์ เป็นสัตว์กินซาก (Scavenger) ที่คาดว่ากินทั้งสัตว์ตายแล้ว และสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งลำไส้ของมันมีความเป็นกรด-ด่าง ค่อนข้างสูง จึงสามารถย่อยสัตว์ทั้งเปลือกได้ง่าย [2]

ไทรโลไบต์ฟอสซิลยอดนิยมของคนทั่วโลก

ไทรโลไบต์ พบที่ไหน

การค้นพบฟอสซิลของไทรโลไบต์ นับว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง เป็นอันดับ 2 รองจากการค้นพบซาก ประวัติ ไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความหลากหลายในสายพันธุ์ และพบฟอสซิลมากกว่า 17,000 ชนิด ที่มีความสำคัญทางด้านงานวิจัย การลำดับชั้นหินทางชีวภาพ และบรรพชีวินวิทยา

ไทรโลไบต์ถูกค้นพบที่ไหนบ้าง?

ไทรโลไบต์ พบที่ไหน สามารถพบได้แทบจะทุกแห่งทั่วโลก ตั้งแต่ปากแม่น้ำกระแสน้ำอุ่น ไปจนถึงทวีปนอกชายฝั่งที่มีกระแสน้ำเย็น โดยตลอดระยะเวลา 300 ล้านปี ไทรโลไบต์มีวิวัฒนาการหลากหลาย กระจายสายพันธุ์อยู่ในมหาสมุทร ภูเขา ชั้นหินตะกอน และพื้นที่ราบลุ่ม ยกตัวอย่างสถานที่ดังนี้

  • แถบอเมริกาเหนือ : เมืองโรเชสเตอร์เชล นิวยอร์ก ถูกค้นพบครั้งแรกช่วงการก่อสร้างคลองอีรี มีมากกว่า 200 ชนิด รวมไปถึงฟอสซิลหอยบราคิโอพอด เซฟาโลพอด และหนอนมาเคอริเดียน
  • แถบอเมริกาใต้ : เมืองลาปาซ โบลิเวีย พบซากจากหินปูนจำนวนมาก อยู่ในระดับความสูงเหนือน้ำทะเล 3,657 เมตร ที่มีอายุประมาณ 370 ล้านปี
  • แถบยุโรป : เทศบาลวาลองโก โปรตุเกส เป็นซากไทรโลไบต์ขนาดใหญ่ กับความยาว 38 เซนติเมตร จากชั้นหินวาลองโก อายุเก่าแก่กว่า 450 ล้านปี และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก
  • แถบแอฟริกา : แหล่งตะกอนลาเกอร์สแตดท์ โมร็อกโก ศูนย์กลางการค้นพบไทรโลไบต์ อายุนานกว่า 520 ล้านปี มีหลายสายพันธุ์ที่แปลกประหลาด ทั้งแบบมีหนามแหลม และมีดวงตาหลายเหลี่ยม
  • แถบเอเชีย : เมืองเฉิงเจียง จีน พบอยู่ในชั้นหินดินดาน เต็มไปด้วยฟอสซิลของสัตว์ลำตัวอ่อนนุ่ม กับไทรโลไบต์ชนิดดั้งเดิม โดยมีอายุน้อยกว่า 5 ล้านปี
  • แถบออสเตรเลีย : หินดินดานอ่าวอีมู ออสเตรเลีย แหล่งหินสำคัญของโลก ที่ค้นพบสัตว์มีอายุเก่าแก่กว่าหินดินดานเบอร์เกส (หินมีอายุกว่า 510 ล้านปี) พบซากไทรโลไบต์ และฟอสซิลสิ่งมีชีวิตที่มีร่างกายแตกต่างกันมากกว่า 60 ส่วน ซึ่งมากกว่าไทรโลไบต์ทั้งหมด

ที่มา: Trilobite Localities [3]

คำถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับไทรโลไบต์

  • ยุคใดพบสัตว์เปลือกแข็ง และไทรโลไบต์ลักษณะเด่นที่สุด : ยุคแคมเบรียน (Cambrian) เป็นยุคของสัตว์มีกระดองและแบคทีเรียสีเขียว โดยส่วนมากสัตว์จะอาศัยอยู่ในทะเล และพื้นดินที่ยังว่างเปล่า
  • ไทรโลไบต์ในไทยอยู่ที่ไหน : เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล อายุประมาณ 495 ล้านปีก่อน
  • ไทรโลไบต์สูญพันธุ์เพราะ : ยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัด ว่าทำไมไทรโลไบต์ถึงสูญพันธุ์ แต่จากการศึกษาฟอสซิล มีความเป็นไปได้ว่า อาจเกิดจากความหลากหลาย ของสายพันธุ์ไทรโลไบต์ที่มากเกินไปจนถูกกำจัดตามธรรมชาติ และระดับน้ำทะเลที่ลดลงอย่างมาก

สรุป ไทรโลไบต์ พบที่ไหน “Trilobite”

ไทรโลไบต์ สัตว์ขาปล้องยุคดึกดำบรรพ์ ที่มีหลากหลายชนิดมากกว่า 22,000 ชนิด รูปร่างคล้ายกับแมงดาทะเลในปัจจุบัน แต่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ 251.9 ล้านปีก่อน สามารถพบซากฟอสซิลได้ เกือบทุกที่ทั่วโลก เพราะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัย และกระจายสายพันธุ์อยู่หลายมหาสมุทร

ไทรโลไบต์สูญพันธุ์ตอนไหน?

การอยู่อาศัยในมหาสมุทร และการกระจายสายพันธุ์ มายาวนานหลายล้านปี ทำให้วิวัฒนาการของไทรโลไบต์ มีลักษณะเด่นแตกต่างกัน และเกิดการสูญพันธุ์อยู่หลายครั้ง ซึ่งบางกลุ่มสูญพันธุ์ตลอดกาล บางกลุ่มกลับมามีชีวิตรอด เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศ โดยในยุคเพอร์เมียนตอนปลาย เป็นการสูญพันธุ์ครั้งสุดท้าย

สัตว์อะไรในปัจจุบัน คล้ายกับไทรโลไบต์?

ไทรโลไบต์จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ขาปล้อง ที่มีความใกล้ชิดกับสัตว์จำพวก Chelicerata อย่างเช่น แมงมุมทะเล ปูเกือกม้า และแมงดาทะเล ในขณะที่นักวิจัยบางกลุ่มกล่าวว่า พวกมันมีความใกล้ชิดกับสัตว์จำพวก Mandibulata มากกว่า ที่เป็นสัตว์พวกกุ้งทะเล และแมลงทั้งหมด

อ้างอิง

[1] wikipedia. (January 8, 2025). Trilobite. Retrieved from wikipedia

[2] trueid. (October 1, 2023). ทึ่ง! เผยอาหารมื้อสุดท้ายของฟอสซิลไทรโลไบต์อายุ 465 ล้านปี. Retrieved from news.trueid.net

[3] americanmuseumofnaturalhistory. (2025). Trilobite Localities. Retrieved from amnh