ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
แผ่นซีดี หลายคนคุ้นเคยกันดี โดยเฉพาะเด็กยุค 90’s หากเทียบอายุตอนนี้ ก็ไม่เด็กแล้วล่ะ กับประสบการณ์วัยเด็ก มักเลือกใช้แผ่น CD ในการฟังเพลง ดูหนัง หรือ เก็บไฟล์งาน ไฟล์ภาพ อย่างที่เราเคยเห็นกันบ่อยครั้ง ก็จะเป็นแผ่นของ PRINCO ที่เลิกผลิตตั้งแต่ปี 2018 และจางหายไป จากโลกเทคโนโลยีแล้ว
อยากจะเล่าถึงที่มาของ แผ่นซีดี กันก่อนเลย คือ เริ่มต้นจากช่วงปี 1970 มีนักวิจัยของบริษัทฟิลิปส์ คิดค้นทำการทดลองแผ่น Optical Storage เพื่อใช้ในการเก็บเสียงเท่านั้น ด้วยเทคโนโลยีแผ่นเลเซอร์ดิสก์ ซึ่งมีการเข้ารหัสเสียง เลือกใช้แบบ Wideband FM และ PCM ซึ่งเป็นต้นแบบของ แผ่นดิสก์เสียงดิจิทัล [1]
แน่นอนว่า แผ่นซีดี มีการพัฒนา มาจนถึงปี 1984 ได้ออกแบบ “ซีดีรอม” (CD ROM) ความจำอ่านอย่างเดียว สามารถเก็บข้อมูล จากคอมพิวเตอร์ ได้ในจำนวนเยอะขึ้น และ มีแผ่นที่สามารถ เขียนข้อมูลเองได้ เรียกว่า “ซีดีอาร์” (CD-R) ประสบความสำเร็จอย่างมาก ช่วงปี 2003 วางขายได้มากกว่า 3 หมื่นล้านแผ่นทั่วโลก
สำหรับการทำงานทั่วไปของ แผ่นซีดี จะเป็นการฉายลำแสงเลเซอร์ เพื่ออ่านข้อมูล แล้วตัวแผ่นก็จะสะท้อน แสงเลเซอร์ มายังตัวอ่านข้อมูล คือ Photo Detector แล้วจึงแสดงค่ากลับมา พร้อมส่งค่า 0 กับ 1 กลับไปให้ยัง CPU และนำไปประมวลผลลัพธ์ต่อไป
แผ่นซีดี มีปริมาณของหน่วยความจำ 780 ล้านไบต์ หากทำให้เข้าใจง่าย คือ สามารถบรรจุได้ 780 ล้านตัวอักษร / แผ่น ซึ่งเก็บข้อมูลได้นาน เป็นเวลา 74 นาที โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.8 นิ้ว ผลิตจากแผ่น พลาสติกโพลีคาร์บอเนต [2] ความหนา 1.2 มิลลิเมตร และ น้ำหนักเพียง 15 กรัม
แนะนำการบันทึกข้อมูลของ แผ่นซีดี ที่หลายคนอาจสับสน หรือ เคยซื้อผิดประเภท การใช้งานกันมาบ้าง โดยจะมีการเขียนข้อมูล ด้วยกัน 3 แบบ ต้องเลือกให้เหมาะสม ต่อการใช้งาน ดังต่อไปนี้
แผ่นซีดี คลังข้อมูลของคนยุค 90’s นิยมใช้ทำงาน เป็นสื่อความบันเทิง เคยมียอดขายกว่า 3 หมื่นล้านแผ่น อย่างแบรนด์ดัง PRINCO ที่เลิกผลิตไปตั้งแต่ปี 2018 จนคนตามหากันให้ควัก เพราะหาซื้อยากเหลือเกิน ปัจจุบันในร้าน B2S, SE-ED หรือแม้แต่ Banana IT ก็ไม่มีให้เห็น ถือว่ากลายเป็นของหายากไปแล้วในยุคดิจิทัล
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.