ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

แก้วมังกร ผลไม้ธรรมดา ที่ประโยชน์ไม่ธรรมดา

แก้วมังกร

แก้วมังกร ผลไม้ธรรมดา แต่สรรพคุณมากมาย ช่วยขับถ่าย เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค บำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ บางคนก็ชอบ บางคนก็ว่าไม่อร่อย แต่ถ้าลองรู้ถึงประโยชน์ของผลไม้ชนิดนี้แล้ว มาลองฝึกทานกันตอนนี้ก็ยังไม่สายมารู้จักสรรพคุณแก้วมังกรกัน ว่ามีประโยชน์ หรือโทษอย่างไร

แนะนำข้อมูลทั่วไป

ชื่อ: แก้วมังกร
ภาษาอังกฤษ: Dragon fruit
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hylocereus undatus (Haw) Britt. Rose.
ถิ่นกำเนิด: แถบอเมริกากลาง
สกุล: Hylocereus
วงศ์: Cactaceae (ตระกูลเดียวกับกระบองเพชร)
แหล่งปลูกสำคัญในประเทศไทย: ภาคตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี และแหล่งปลูกอื่นๆ ในจังหวัดกาญจนบุรี สระบุรี และสมุทรสงคราม

ที่มา: แก้วมังกร [1]

ลักษณะของต้นแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชอวบน้ำ ต้องการน้ำน้อย ไม่ต้องการดูแลมาก มีอายุหลายปี ให้ผลผลิตตลอดเกือบทั้งปี ตั้งแต่มีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ลักษณะของต้นแก้วมังกร มีดังนี้
ลำต้น คล้ายลำต้นของกระบองเพชร ลำต้นเป็นปล้องๆ เป็นสามเหลี่ยม สีเขียว มีหนาม อวบน้ำ มีขอบรอยหยักเป็นระยะๆ
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ดอกออกที่ปลายของลำต้น ดอกแก้วมังกรเป็นตุ่มสีเขียว กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูปร่างทรงกรวย ดอกแก้วมังกรจะบานเวลากลางคืน และ หุบในตอนเช้า
ผล ผลแก้วมังกรเจริญเติบโตจากดอก ผลแก้วมังกรเป็นทรงกลมรี เปลือกของผลหนา ผิวของเปลือกจะคลุมด้วยกลีบเลี้ยง สีเขียว ภายในแก้วมังกรมีเนื้อ อวบน้ำ และ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

รู้ไหม แก้วมังกรมีกี่สายพันธุ์ แตกต่างกันอย่างไร

แก้วมังกร

แก้วมังกรที่นิยมปลูก มี 3 สายพันธุ์ คือ

  • สายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดงอมชมพู มีกลีบผลสีเขียว เนื้อเป็นสีขาว มีรสหวาน อมเปรี้ยวนิดๆ
  • สายพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus costaricensis เรียกอีกชื่อว่า สายพันธุ์คอสตาริกา ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดง ผลมีขนาดเล็ก เนื้อสีแดง รสหวาน
  • สายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus megalanthus ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกผลสีเหลือง ขนาดผลเล็ก เนื้อสีขาว มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวานกว่าพันธุ์อื่นๆ

การขยายพันธุ์แก้วมังกร

ขยายพันธุ์โดย : การปักชำ

  • เลือกกิ่งพันธุ์ที่แก่และสมบูรณ์เท่านั้น นำมาตัดเป็นท่อนๆ ความยาวประมาณ 30 ซม.
  • นำกิ่งที่ตัดแต่งเรียบร้อยไปทำการปักชำได้เลย โดยการปักชำให้เอาทางโคนปักลงไป ก่อนทำการปักชำ ให้นำกิ่งพันธุ์ที่ตัดเตรียมไว้จุ่มลงไปในน้ำยาเร่งราก ให้ท่อนพันธุ์จมลงไปในน้ำยาลึกประมาณ 10 ซม.
  • นำกิ่งพันธุ์ขึ้นมา แล้วทำการบากโคนกิ่งโดยการเฉือนเนื้อที่โคนกิ่งให้เป็นรูปปลายแหลม แล้วนำไปปักชำในถุงได้เลย โดยปักให้มีความลึกประมาณ 2 นิ้วจึงทำการกลบดิน เสร็จขั้นตอนการปักชำกิ่งแก้วมังกร
  • นำแก้วมังกรที่ปักชำเรียบร้อยแล้วไปตั้งเรียงไว้ในที่ร่ม รดน้ำประมาณ 2-3 วันต่อครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน ก็สามารถขยายพันธุ์หรือนำไปปลูกลงแปลงตามวิธีการปกติ

ประโยชน์ของแก้วมังกร

  • ส่งเสริมสุขภาพระบบทางเดินอาหาร แก้วมังกรมีพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นเส้นใยที่พบได้มากในผัก ผลไม้ ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้พรีไบโอติกส์ได้ พรีไบโอติกส์จึงเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารและเป็นอาหารให้แก่แบคทีเรียและจุลินทรีย์ในลำไส้ ป้องกันอาการท้องผูก ท้องร่วงได้
  • เสริมภูมิคุ้มกัน แก้วมังกรมีวิตามินซี ที่ช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และวิตามินเออาจช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคไข้หวัด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
  • ลดความอยากอาหาร แก้วมังกรมีไฟเบอร์ หรือใยอาหารที่มีส่วนช่วย ทำให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น  และช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

 

ที่มา: ประโยชน์ของแก้วมังกร [2] 

สรรพคุณเน้นๆ จากแก้วมังกร

นิยมใช้ผล และเปลือกผลมาใช้ประโยชน์ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดยมีสรรพคุณดังนี้

  • บำรุงผิวพรรณ เนื่องจากแก้วมังกรมีวิตามินอยู่จำนวนมาก ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • ช่วยดูดซับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับถ่าย แก้อาการท้องผูก ปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้
  • บำรุงเลือด บรรเทาอาการของโรคโลหิตจาง บำรุงการสร้างเม็ดเลือด
  • เหมาะสำหรับสตรีที่กำลังให้นมบุตร ช่วยทำให้น้ำนมมีคุณภาพดี
  • บำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดไขมันในเส้นเลือด ควบคุมน้ำตาลในเลือด รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยบำรุงกระดูก และฟันให้แข็งแรง 

หยุดอ่านตรงนี้ โทษของแก้วมังกร ก็มีนะ

แก้วมังกร กินเยอะอาจทำให้ท้องเสีย เนื่องจากมีไฟเบอร์ค่อนข้างสูง ทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บางคนอาจรู้สึกลำไส้ปั่นป่วน หลังจากกินเข้าไปและอาจเกิดอาการ กรดไหลย้อน เนื่องจากแก้วมังกรมีกรดต่าง ๆ ค่อนข้างสูง และแก้วมังกรค่อนข้างหวาน ระวังน้ำตาลในเลือดอาจสูงได้

 

แก้วมังกร มีสารออกซาเลตจำนวนมาก หากกินเยอะ อาจทำให้เป็นนิ่วในไต มีโพแทสเซียมสูง ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะไตเสื่อม หรือ มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ ที่ต้องรับประทานยา ต้านการแข็งตัวของเลือด อาจเกิดอาการแพ้ บางคนอาจเกิดอาการแพ้แก้วมังกร จากการกินหรือจับผลแก้วมังกรได้ [3]

แก้วมังกร กินอย่างไรถึงจะดี

ควรกินแก้วมังกรวันละ 1 ลูก และ ไม่ควรกินหลายวันติดต่อกัน เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน จึงควรกินผลไม้อื่น ๆ ให้หลากหลาย และ ควบคู่กันด้วย ร่างกายจะได้แข็งแรงสุขภาพดี ถ้าจะให้ช่วยเรื่องขับถ่าย ควรกินหลังรับประทานอาหาร เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ง่าย ขับถ่ายได้ดีขึ้น

คุณค่าทางอาหารเพื่อสุขภาพ และผิวพรรณ

การรับประทานแก้วมังกร 100 กรัม จะได้ พลังงาน 66 กิโลแคลอรี วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินB1-3 วิตามินC รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ เช่น Ca K Mg P และ Fe มีกากใยหรือไฟเบอร์ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี และช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส ดูมีน้ำมีนวลอีกด้วย จัดเป็น พืชสมุนไพรเพื่อความสวยงาม สำหรับสตรี เช่นเดียวกับ ว่านหางจระเข้ เป็นต้น

สรุป แก้วมังกร ผลไม้สมุนไพร สรรพคุณดีต่อใจ และสุขภาพ

แก้วมังกร

สรุป แก้วมังกร สรรพคุณมากมาย ช่วยขับถ่าย เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค บำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ ถึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพแค่ไหน แต่ก็มีข้อควรระวังดังที่บอกไว้แล้ว ใครอยากกินผลไม้ชนิดนี้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล ได้รับประโยชน์แบบเต็ม ๆ ในบทความนี้ได้รวบรวมมาไว้ให้ทั้งหมดแล้ว

อ้างอิง

[1] Wikipedia. (July 15, 2023). แก้วมังกร. Retrieved from wikipedia

[2] hellokhunmor. (February 28, 2024). ประโยชน์ของแก้วมังกร. Retrieved from hellokhunmor

[3] sgethai. (2023-2024). โทษของแก้วมังกร. Retrieved from sgethai