ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ทดสอบ อาการขี้ลืม ก่อนสมองเสื่อม เตรียมรับมืออย่างไรดี

อาการขี้ลืม

อาการขี้ลืม เชื่อว่าหลายคน ต้องเคยมีอาการหลงลืมกันบ้าง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ กับทุกคนในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ลืมโทรศัพท์มือถือ ลืมกุญแจ ลืมกินยา หรือแม้กระทั่ง ลืมว่าจะพูดอะไร บางคนคงเป็นบ่อย จนคิดว่าคือเรื่องปกติ หรือ คือนิสัยไปแล้ว แต่แท้จริงแล้ว นั่นอาจไม่ใช่เรื่องปกติ อย่างที่คุณคิดเลยสักนิด

อาการขี้ลืม เรื่องใกล้ตัวกวนใจที่ต้องแยกให้ออก

เรื่องใกล้ตัวที่คอยกวนใจ หลายคนอยู่ไม่น้อยกับ อาการขี้ลืม ที่สามารถเกิดขึ้น เวลาไหนก็ได้ ในบางครั้งถึงขั้นส่งผล ต่อการดำเนินชีวิตเลย แต่เราจะแยกออกได้อย่างไรว่า อาการหลงลืมของเรา เป็นเรื่องปกติตามวัย หรือ เป็นสัญญาณเตือนของโรคร้าย ที่กำลังจะตามมา ในอนาคตกันแน่

ก่อนอื่นเลยเรามาดู การทำงานของสมองก่อน โดยปกติสมองของคนเรา จะมีการบันทึกความจำ (Memory) [1] ในข้อมูลที่เราต้องจำ อย่างเป็นระบบ เมื่อถึงเวลาเรียกใช้ข้อมูล ก็จะหยิบมาใช้เป็นลำดับ ซึ่งความจำแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบระยะสั้น (Short-Term Memory) และ แบบระยะยาว (Long-Term Memory)

ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นกับ อาการขี้ลืม นั่นคือ การไม่ได้บันทึก ความจำไว้ตั้งแต่แรก เมื่อถึงเวลาที่ต้องการใช้ข้อมูล จะไม่สามารถดึงข้อมูล ออกมาใช้ได้สำเร็จ เพราะว่าไม่มีการจดจ่อ หรือ การทำหลายอย่างพร้อมกัน ซึ่งนับว่าเป็นอาการหลงลืม ของคนปกติทั่วไป

สัญญาณเตือน อาการขี้ลืม หรือความจำเสื่อม

อาการขี้ลืม

การที่คนเราจะแยกออก ได้ชัดเจนว่ามี อาการขี้ลืม หรือเข้าข่าย โรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s Disease) จะต้องมีการ เปรียบเทียบพฤติกรรมซ้ำ ๆ อย่างเช่น การเก็บสิ่งของ ไว้ที่เดิมเป็นประจำ แต่วันดีคืนดี กลับไปหาสิ่งของนั้นที่อื่น เรียกว่าเป็น พฤติกรรมผิดวิสัย เราจึงพามาดูสัญญาณเตือนของโรค ดังต่อไปนี้

  • อาการหลงลืมบ่อย และ มีการย้ำคิดย้ำทำ ในเรื่องเดิมหลายครั้ง
  • แสดงอาการหลงทิศ อย่างเช่น คิดว่าทางซ้าย เป็นทางขวา / คิดว่าทางขวา เป็นทางซ้าย
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ทั้งอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว เป็นต้น
  • ปัญหาการใช้ภาษา มักพูดไม่รู้เรื่อง การเรียงคำไม่ถูก ใช้คำพูดผิดแปลกไปจากเดิม
  • สับสนเวลา มีความรู้สึกว่าเวลา ผ่านไปเร็ว หรือ ผ่านไปช้ากว่าปกติ
  • สติปัญญาแย่ลง สังเกตจาก การแก้ปัญหาไม่ค่อยได้ คิดไม่ค่อยออก ซึ่งก่อนหน้าสามารถทำได้ปกติ
  • วางของผิดตำแหน่ง แต่ไม่คิดว่าตัวเองทำผิด อย่างเช่น วางโทรศัพท์ในตู้เย็น วางของกินในตู้เสื้อผ้า
  • บุคลิกเปลี่ยนจากเดิม ไม่ค่อยอยากเข้าสังคม พูดเสียงดัง หัวเราะเสียงดังขึ้น หรือ ยิ้มคนเดียว

แนวทางแก้ อาการขี้ลืม ทดสอบแล้วเห็นผลจริง

อาการขี้ลืม ของคนเราไม่อยากให้มองว่า เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าหากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จะกลายเป็นปัญหา ส่งผลกระทบ ในชีวิตประจำวันได้ง่าย ทั้งในระยะสั้น และ ในระยะยาวเลย ซึ่งเมื่อเราได้รู้ถึงพฤติกรรม ที่เปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว เราสามารถแก้ปัญหา ได้เบื้องต้นก่อน มาดูแนวทางการแก้ไขกันเลย

  • นอนหลับให้เพียงพอ ช่วยลดอาการเหนื่อยล้า การทำงานของสมองได้
  • การจดบันทึก ช่วยให้สมองจำ เรื่องราวได้มากขึ้น ทั้งเรื่องสำคัญ และ เรื่องเล็กน้อย
  • การแปะกระดาษโน้ต ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในบ้าน ในรถ โต๊ะทำงาน จะเป็นเครื่องเตือนความจำ ให้แม่นยำขึ้น เพราะมองเห็นง่าย
  • จัดระเบียบสิ่งของ จัดให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ช่วยให้สมองแยกแยะ ความคิดได้รวดเร็ว
  • ทานวิตามินบำรุงสมอง อาหารเสริมมีความ จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มความจำได้ดี อย่างเช่น ใบแปะก๊วย ผักโขม หรือ น้ำมันตับปลา เป็นต้น
  • ทำทีละอย่าง ควรใช้สมาธิจดจ่อ ไปกับอย่างใดอย่างหนึ่ง ค่อย ๆ ทำทีละอย่าง อย่าทำพร้อมกันทีเดียว จะช่วยเพิ่มการจดจำ ในสมองได้มากกว่าเดิม
  • ลดความเร็วพฤติกรรม ตั้งแต่การปรับการคิดให้ช้าลง ทำให้ช้าลง พูดให้ช้าลง จะส่งผลให้สมองจำรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น

สรุป อาการขี้ลืม ความผิดปกติที่รักษาได้

อาการขี้ลืม อย่าปล่อยให้อยู่กับ ตัวเรานานจนเกินไป หากทราบอาการเบื้องต้น และ แนวทางการแก้ไขแล้ว ลองนำไปปรับใช้กันดู เพื่อไม่ให้อาการพวกนี้ ที่คุณคิดว่าคือเรื่องธรรมดา มารบกวนชีวิตประจำวัน ของคุณได้อย่างแน่นอน

อ้างอิง

[1] Wikipedia. (June 23, 2023). ความจำ. Retrieved from Wikipedia