ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ทฤษฎี อะตอม สสารอนุภาคเล็กจากความว่างเปล่า

อะตอม

อะตอม หน่วยพื้นฐานของสสารทางเคมี แน่นอนว่าหลายคนต้องรู้จัก แต่น้อยคนนักที่จะได้เห็น ซึ่งพูดง่าย ๆ คือ เป็นสสารทุกสิ่งทุกอย่างที่มีมวลอะตอม มาดูกันว่าอะตอมเกิดจากอะไร ลักษณะหน้าตาเป็นแบบไหน ใครคือผู้ค้นพบ และเสนอทฤษฎีสนับสนุนอะตอม

ประวัติศาสตร์และแนวคิดของ อะตอม

อะตอม (Atom) อนุภาคพื้นฐานขนาดเล็กที่สุด ตามคุณสมบัติทางเคมี โครงสร้างประกอบด้วย นิวเคลียส (ตำแหน่งตรงกลาง และถูกล้อมรอบด้วยอิเล็กตรอน) โดยภายในนิวเคลียส ประกอบด้วย โปรตอน และ นิวตรอน ซึ่งจะมีธาตุเคมีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนโปรตอนในอะตอมด้วย [1]

ขนาดและลักษณะพื้นฐาน

อะตอมเป็นสสารที่มีขนาดเล็ก และทรงกลม โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 100 พิโคเมตร และมวลของอะตอมมากกว่า 99.9994% อยู่ในนิวเคลียส ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าความยาวคลื่นสั้นที่สุด ของแสงที่มองเห็นได้ จึงหมายความว่ามนุษย์ ไม่สามารถมองเห็นอะตอมได้ แม้จากกล้องจุลทรรศน์ประเภทธรรมดา

สำหรับในนิวเคลียส โปรตอนมีประจุไฟฟ้า + และนิวตรอนไม่มีประจุไฟฟ้า ดังนั้นนิวเคลียสจึงมีประจุเป็น + ส่วนอิเล็กตรอนจึงมีประจุเป็น – ซึ่งหากจำนวนโปรตอนกับอิเล็กตรอน มีจำนวนเท่ากันตามปกติ อะตอมก็จะเป็นกลางทางไฟฟ้าโดยรวม แต่หากจำนวนไม่เท่ากัน ก็จะเรียกไอออนลบ หรือไอออนบวก

อะตอมมาจากไหน?

แนวคิดอะตอมยุคแรก เป็นแนวคิดทางปรัชญา ช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นว่าสสาร ประกอบด้วย อนุภาคขนาดเล็กที่แยกไม่ออกและซับซ้อน เป็นแนวคิดที่เก่าแก่ในวัฒนธรรมโบราณ ซึ่งคำว่าอะตอม มาจากภาษากรีกโบราณ แปลว่า “ไม่สามารถแบ่งแยกได้” หรือตัดแยกไม่ได้

สำหรับ ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ สมัยใหม่ ไม่ได้อ้างอิงจากแนวคิดเดิม แต่พบหลักฐานว่าสสาร ประกอบด้วย “หน่วยอนุภาคที่แยกออกจากกันได้จริง” และต่อมามีการค้นพบว่าอะตอม มีทั้งโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน จึงนำคำว่าอะตอม มาใช้กับหน่วยย่อยเหล่านั้น [2]

ก่อนจะมาเป็นโครงสร้างของ อะตอม

อะตอม

รู้หรือไม่? อะตอมแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร นักดาราศาสตร์เชื่อกันว่า เอกภพเกิดจากจุดเริ่มต้น เพียงแค่จุดเล็กจุดเดียว ที่มีความหนาแน่นสูงมาก โดยหลังจากที่ บิกแบง สงบลง จากนั้นอะตอมแรกของเอกภพ จึงหลอมรวมเป็นธาตุหนัก และสสารเพียงไม่กี่นาที แต่ใช้เวลานานหลายแสนปี ถึงจะเย็นตัวลงเป็นกลางทางไฟฟ้า

ผู้ค้นพบอะตอม และทฤษฎีสนับสนุน

การค้นพบทฤษฎีอะตอม โดยนักเคมีฟิสิกส์และอุตุนิยมวิทยา จอห์น ดอลตัน (John Dalton) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับอะตอม เพื่ออธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของมวลสาร ทั้งก่อนและหลังทำปฏิกิริยาเคมี และอัตราส่วนมวลธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบ นับว่าเป็น “บิดาแห่งทฤษฎีอะตอมสมัยใหม่”

โดยทฤษฎีของดอลตัน เป็นรากฐานสำคัญของเคมีสมัยใหม่ ที่ถูกสนับสนุนการใช้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ดอลตันเป็นบุคคลแรก ที่เผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับ ตาบอดสี (ที่เราใช้ทดสอบสายตาตอนตัดแว่น หรือตอนสอบใบขับขี่) ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งอุตุนิยมวิทยา อีกด้วย [3]

คำถามทั่วไป กับอะตอม

  • อนุภาคมูลฐานของอะตอมมีอะไรบ้าง : อนุภาค 3 ชนิด คือ โปรตอน (p) มวล 673 x 10 ยกกำลัง –24 กรัม นิวตรอน (n) มวล 1.675 x 10 ยกกำลัง –24 กรัม และอิเล็กตรอน (e) มวล 9.109 x 10 ยกกำลัง –28 กรัม
  • 1อะตอมมีกี่กรัม : อะตอมมีน้ำหนักสูงสุดประมาณ 0 x 10 ยกกำลัง –22 กรัม
  • ไอออนบวกกับไอออนลบดูยังไง : ไอออนบวก จะมีขนาดเล็กลงกว่าอะตอม โดยมีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอน ส่วนไอออนลบ จะมีขนาดใหญ่กว่าอะตอม โดยมีอิเล็กตรอนมากกว่าโปรตอน
  • อะตอมสร้างขึ้นได้ไหม : ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ หรือทำลายให้สูญหายไปได้ เนื่องจากว่าเป็นสสารที่มีหน่วยขนาดเล็กมาก
  • นักวิทยาศาสตร์มองเห็นอะตอมได้อย่างไร : จากการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้น เพราะแสงส่วนมากมีความยาวคลื่น มากกว่าอะตอม จึงสามารถทะลุผ่านได้

สรุป อะตอม “Atom”

อะตอม สสารขนาดเล็กตามคุณสมบัติทางเคมี เกิดจากความว่างเปล่าของเอกภพ โดยมีส่วนประกอบของโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน เมื่อส่วนประกอบมีจำนวนเท่ากัน จะเป็นกลางทางไฟฟ้า ถูกนำเสนอแนวคิดจากจอห์น ดอลตัน ที่ยังคงใช้แนวคิดเกี่ยวกับอะตอม มาจนถึงทุกวันนี้

อ้างอิง

[1] wikipedia. (January 6, 2025). Atom. Retrieved from wikipedia

[2] scimath. (June 5, 2017). อะตอม(Atom). Retrieved from scimath

[3] สสวท. (September 6, 2022). จอห์น ดอลตัน บิดาแห่งทฤษฎีอะตอมสมัยใหม่. Retrieved from ipst.ac.th