ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

หมามุ่ย (Mucuna) มีดี มากกว่า ความคัน

หมามุ่ย

หมามุ่ย ( Mucuna) แค่ได้ยินชื่อ เราก็คงจะรู้สึกคันกันแล้ว แต่นอกจากความคันที่เรารู้กัน สรรพคุณของ ต้นหมามุ่ย ที่จัดว่าเป็นพืชใบเถา ตระกูลถั่ว ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Mucuna pruriens (L.) DC. ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปแอฟริกา และเอเชีย จะมีสรรพคุณอย่างไรบ้างนั้น มาทำความรู้จักกัน

หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย SEROTONIN คันแต่มีประโยชน์

หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย มีขนที่มีสารเซโรโทนิน ที่ทำให้คัน เมล็ดของหมามุ่ย มีความเป็นพิษ ขนของหมามุ่ยนั้น หากถูกผิวหนังแล้ว จะทำให้มีอาการคัน บวมแดง แต่ในทางกลับกัน แทบทุกส่วนของต้นหมามุ่ยนั้น สามารถนำมาสกัด ทำเป็นยาสมุนไพร รักษาโรคได้มากมาย

ต้นหมามุ่ย มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้น เป็นเถาเครือ ยาวประมาณ 10 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาล
  • ใบ ใบหมามุ่ยทรงรี คล้ายไข่ ใบบาง โคนใบกลม มีขนปกคลุมใบทั้งสองด้าน
  • ดอก เป็นช่อ มีขนปกคลุม สีม่วงอมดำ มีกลิ่นฉุน ขึ้นตามง่ามของใบ
  • ผล เป็นฝัก ยาวประมาณ 10 ซม. ฝักมีขนอ่อนๆปกคลุม
  • ฝักแก่ของหมามุ่ย ขนของฝักแก่ของหมามุ่ย เป็นพืชที่มีพิษ เมื่อผิวหนังสัมผัสกับขนพิษ จะทำให้ผิวหนังบวมแดง คันและ ปวดแสบปวดร้อน
  • เมล็ด ภายในฝักของหมามุ่ย มีเมล็ด สีน้ำตาลเข้ม หรือ สีดำ มี 4 – 7 เมล็ด ต่อหนึ่งฝัก

ขยายพันธุ์ : ด้วยการเพาะเมล็ดพันธุ์ มักแพร่กระจาย เป็นหย่อมๆ พบได้ทั่วไป ตามธรรมชาติ ป่าเบญจพรรณ เติบโตได้ดี ในทุกสภาพดิน ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี [1]

ข้อควรระวัง

  • เมล็ดของ หมามุ่ย ต้องนำไปคั่วให้สุก ก่อนนำมาใช้ประโยชน์ หากไม่นำมาทำให้สุก จะเป็นพิษ ทำให้ประสาทหลอน
  • ห้าม เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยทางจิตเวช ไม่ควรรับประทาน
  • ขนจากฝักหมามุ่ย มีพิษ ทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง ทำให้ เป็นผื่นแดง ปวด และ บวม
  • คนที่มีอาการแพ้อาหาร พืชตระกูลถั่ว ห้ามกินหมามุ่ย

วิธีการเก็บหมามุ่ย

การเก็บฝักหมามุ่ย จะต้องสวมเสื้อผ้าให้มิด สวมผ้าปิดจมูก และใส่ถุงมือทุกครั้ง เพราะจะช่วยป้องกันขนจากฝักหมามุ่ย โดยวิธีเก็บอาจจะต้องใช้มือเด็ด หรือใช้กรรไกรตัด หากเก็บฝักดิบ ให้นำฝักมาตากให้แห้งนาน 1 – 2 อาทิตย์ ก่อนนำมาปอกเปลือก แต่หากฝักแห้งอยู่แล้ว ก็นำมาปอกเอาเมล็ดได้เลย

คุณค่าทางโภชนาการ

สารอาหาร และสารสำคัญในเมล็ดหมามุ่ย พบว่ามี กรดอะมิโนที่จำเป็น ถึง 18 ชนิด, แร่ธาตุ 8 ชนิด ได้แก่ แคลเซียม ทองแดง ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม และ สังกะสี
คุณค่าทางโภชนาการ ของเมล็ดหมามุ่ย มีดังนี้

  • โปรตีน 29.14%
  • ไขมัน 5.05%
  • กากใยอาหาร 8.68 %

สรรพคุณต่างๆ ของ หมามุ่ย มีดังนี้

หมามุ่ย สรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ และมวลของกล้ามเนื้อ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้นอนหลับสบาย รู้สึกสดชื่น แจ่มใส ร่างกายกระปรี้กระเปร่า เพิ่มความกระฉับกระเฉง เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย

  • ราก ใช้แก้อาการคัน แก้อาการไอ ใช้ถอนพิษ ล้างพิษ แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช้ำใน โดยการใช้รากหมามุ่ย 1 กิโลกรัม เมล็ดผักกาด 5 ขีด และเมล็ดผักชี 3 ขีด นำมาตำรวมกัน จนเป็นผงแล้วผสมน้ำผึ้งป่า หมักทิ้งไว้ 3 เดือน แล้วนำมาใช้ กินก่อนนอน (ขนาดเท่าผลมะพวง)
  • เมล็ด ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้พิษแมงป่อง
  • ใบของหมามุ่ย ใช้เป็นยาพอกรักษาแผล
  •  

คลิกเพื่ออ่าน หมามุ่ย ประโยชน์ดีๆ ที่มีมากกว่าความคัน ได้ที่นี่ Garden_review

หมามุ่ย ช่วยแก้ปัญหา อวัยวะเพศแข็งตัวช้า

สำหรับคุณผู้ชายนั้น ในเมล็ดหมามุ่ย มีสารเคมี ชื่อ สารแอลโดปา ( L-Dopa ) สารเคมีนี้มีประโยชน์ต่อระบบสืบพันธุ์ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้ดีมากขึ้น อีกทั้งช่วยกระตุ้น การสร้างน้ำอสุจิ และช่วยปรับคุณภาพ ของน้ำเชื้อ เพิ่มการเคลื่อนไหว ของตัวอสุจิให้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้น ความต้องการทางเพศ ยืดระยะเวลา ในการมีเพศสัมพันธ์ แก้ปัญหา การหลั่งเร็วได้

เมล็ดหมามุ่ย สามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริง และมีผลงานวิจัยรับรอง นั้นจะเป็นหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดีย และจีน ซึ่งเป็นคนละสปีชีส์กับหมามุ่ย ที่ขึ้นในประเทศไทย [2]

บำรุงผิวพรรณ กระชับช่องคลอด

หมามุ่ยจัดเป็น พืชสมุนไพรบำรุงผิว ชนิดหนึ่ง สำหรับคุณผู้หญิง ช่วยเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนเพศ ช่วยทำให้หน้าอกเต่งตึงมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญช่วยทำให้ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวล ทั้งยังมีส่วนช่วยให้ช่องคลอดกระชับมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เมล็ดของหมามุ่ยนั้นยัง ช่วยรักษาภาวะ การมีบุตรยาก ทั้งชายและหญิง

ที่มา ข้อควรระวังในการบริโภคหมามุ่ย [3]

สรุป หมามุ่ย ต้นไม้ที่จัดว่าเป็น พืชสมุนไพรตัวจริง

หมามุ่ย

สรุป ในปัจจุบันมีการนำ หมามุ่ย มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กันหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหาร ในรูปแบบแคปซูล หมามุ่ยสกัด กาแฟหมามุ่ย เป็นต้น ในการใช้ประโยชน์ของหมามุ่ย ควรศึกษา หรือปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้

อ้างอิง

[1] puechkaset. (November 17, 2017). การปลูกและการขยายพันธุ์. Retrieved from puechkaset

[2] medthai. (2023-2024). คำแนะนำในการรับประทาน. Retrieved from medthai

[3] beezab. (May 17, 2024). ข้อควรระวังในการบริโภคหมามุ่ย. Retrieved from beezab