ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

สีฮอกน้อย ผลไม้ทานแล้วดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย

สีฮอกน้อย

สีฮอกน้อย หรือ มะหวด เป็นไม้ยืนต้น ที่มีขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดกลาง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ อายุของต้นด้วยถือว่าเป็น อีกหนึ่งผลไม้ป่า ที่จัดให้อยู่ ในกลุ่มผลไม้ป่า หาทานได้ยาก เพราะจะขึ้นเฉพาะ ในบางพื้นที่ โดยส่วนใหญ่ จะพบได้มากตามป่า และจะพบได้บ้าง ตามแหล่งชุมชน หรือตามท้องถิ่น ไร่สวนไร่นา แต่จะพบได้ไม่มาก

ข้อมูลทั่วไปของ สีฮอกน้อย

สีฮอกน้อย ผลไม้ป่า ที่ปัจจุบัน เริ่มหาทานได้ยาก แต่ก็ยังสามารถ หาทานได้ง่าย ในบางพื้นที่ เป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณมหาศาล ทุกส่วนของลำต้น ใช้ประโยชน์ได้หมด และอยู่คู่กับคนไทย มาเนิ่นนาน ผลจะมีลักษณะ ที่คล้ายกับผลไม้อื่นๆ หลายชนิด เช่น ผลลูกหว้า ซึ่งผลมีรสชาติหวานอร่อย จะนิยมทานเฉพาะผลสุก

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผลไม้ป่าสีฮอกน้อย

สีฮอกน้อยคือผลไม้ป่า ชนิดหนึ่ง ที่ต้นขึ้นในป่าเอง ตามธรรมชาติ ซึ่งผลของผลไม้ชนิดนี้ จะมีความคล้าย กับผลไม้ป่าอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ผลมะเกี๋ยง, ผลโคมเรียง และ ผลลูกหว้า ซึ่งผลไม้ทั้งสามชนิด ที่กล่าวมานี้ เมื่อผลสุกแก่เต็มที่ จะมีสีม่วงดำเหมือนกัน อาจจะทำให้ ใครหลายๆ คนอาจ จะสับสนได้

ผลไม้ป่าสีฮอกน้อย จัดเป็นไม้ยืนต้น อยู่ในวงศ์ Sapindaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepisanthes rubiginosa ซึ่งเป็นผลไม้ป่า รับประทานผลได้ โดยผลสุก มีรสชาติหวาน รากมีสรรพคุณ เป็นยาสมุนไพร ช่วยรักษา อาการปวดศีรษะ รวมถึงแก้โรคผิวหนัง [1] เป็นผลไม้ ที่สามารถ ใช้ประโยชน์ ได้ในหลายๆ ด้านด้วยกัน

ถิ่นกำเนิดของสีฮอกน้อย

ชื่อเรียกสีฮอกน้อย คือชื่อที่ชาวภาคเหนือ นิยมเรียกกัน ซึ่งผลไม้ป่านิดนี้ จะมีชื่อเรียก ได้อย่างหลากหลาย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่น หรือในแต่ละภาค ก็จะเรียก แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะมี ชื่ออะไรบ้างนั้น มีดังต่อไปนี้

ชื่อสมุนไพร

  • มะหวด

ชื่อท้องถิ่นของแต่ละภาค

  • ภาคเหนือ : หวดลาว, หวดเหล้า, สีฮอกน้อย
  • ภาคอีสาน : สีหวด, หวดคา, หวดค่า, มะหวดป่า
  • ภาคกลาง : กำซำ, กำซ่ำ
  • ภาคใต้ : มะจำ, กำจำ, นำซำ
  • ภาคตะวันออก : มะหวดบาท, มะหวดลิง, ชันรู

ถิ่นกำเนิด

สีฮอกน้อยเป็นผลไม้ท้องถิ่น ของประเทศไทย อีกชนิดหนึ่ง จัดเป็นพันธุ์พืช ในวงศ์เงาะ ที่มีถิ่นกำเนิด การแพร่กระจาย อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ในประเทศอินเดีย, ประเทศจีนตอนใต้, ทวีปออสเตรเลีย และในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา เป็นต้น

ถ้าประเทศไทย สามารถพบได้ ทั่วทุกภาคในประเทศ พบได้ตาม บริเวณป่าผสมผลัดใบ, ป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น, ป่าเต็งรัง หรือ พื้นที่โล่งแจ้ง รวมไปถึง บริเวณริมแม่น้ำ ริมลำธารทั่วไป แต่จะพบได้มาก ไปทางภาคเหนือ และภาคอีสาน

ที่มา: มะหวด ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย [2]

สีฮอกน้อย ผลไม้มีสรรพคุณ เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้าน

สีฮอกน้อย

สีฮอกน้อย ผลไม้ที่ฟังดูแล้ว ชื่ออาจจะอาจจะฟังดูแปลกๆ แต่รู้หรือไม่ว่า ผลไม้ป่าชนิดนี้ อุดมไปด้วย คุณประโยชน์ดีๆ เพียบ ปัจจุบันได้มี การเพาะเมล็ด ทำให้มีการแพร่ กระจายพันธุ์ได้ง่าย สามารถปลูก ในพื้นที่ต่างๆ ไว้ทานผล โดยที่ไม่ต้อง เดินเข้าไปเก็บในป่า รวมถึงเพื่อป้องกัน การสูญพันธุ์ ของต้นอีกด้วย

ลักษณะทั่วของ สีฮอกน้อย

สีฮอกน้อยผลไม้ป่า ชื่อแปลก ที่มีผลคล้ายๆ กับ ผลมะเกี๋ยง หรือลูกหว้า ซึ่งจะมีลักษณะของลำต้นอย่างไรบ้างนั้น มีดังต่อไปนี้

  • ลักษณะของลำต้น : มีลำต้น เป็นสีน้ำตาล และลำต้นมีขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึง ขนาดกลาง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ อายุของต้นด้วย
  • ลักษณะของใบ : ใบอ่อนจะเป็น สีน้ำตาลอมเขียว ใบแก่จะเป็น สีเขียวเข้ม ซึ่งสีของใบ จะค่อยๆ เปลี่ยนไป ตามอายุของใบ จะออกใบ แบบเรียงสลับกัน ตรงบริเวณ ปลายใบจะแหลม
  • ลักษณะของดอก : จะออกดอกเป็นช่อ และมีดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกจะมีสีขาว และสีเหลืองอ่อนๆ ดอกจะมีกลิ่นหอม เป็นเอกลักษณ์ มีกลีบดอกสีขาว 4-5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอก จะเกลี้ยง หรือมีขนนุ่ม ตรงโคนกลีบดอก จะแคบ [3]
  • ลักษณะของผล : ผลจะมีลักษณะ ภายนอกที่คล้าย กับผลลูกหว้า หรือ ผลมะเกี๋ยง ซึ่งจะออกผล เป็นพวงทีละเยอะๆ ผลดิบจะสีเขียว ทานยังไม่ได้ ส่วนผลที่ทานได้อร่อย คือผลที่สุกเต็มที่แล้ว จะมีสีม่วงอมดำ เพราะจะได้รสชาติ ที่หวานอร่อย
  • ลักษณะของเมล็ด : เมล็ดจะค่อนข้างใหญ่ และแข็ง โดยใน 1 ผล จะมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดจะรูปทรงรี และมีสีน้ำตาล

สรรพคุณของ สีฮอกน้อย

สีฮอกน้อยนอกจาก จะเป็นผลไม้ ที่มีรสชาติดีแล้ว ใบอ่อนยังนำไป ประกอบอาหาร ได้อีกหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นแกง หรือจะทานเป็นผักสด จิ้มคู่กับน้ำพริก รวมถึงผล มีสรรพคุณเป็นยา ที่ช่วยรักษาโรคต่างๆ ได้อีกหลายโรคด้วยกัน ซึ่งจะมีสรรพคุณดังนี้

สรรพคุณเป็นยาสมุนไพร

  • ผลสุกรับประทาน แบบสดจะมี สรรพคุณเป็นยา ที่ช่วยบำรุงกำลัง ให้กับร่างกาย
  • เปลือกของลำต้น จะช่วยบำรุงธาตุ ในร่างกาย และแก้ธาตุพิการ
  • รากของลำต้น นำมาต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยแก้วัณโรค และแก้เบื่อเมา
  • นำราก มาตำให้ละเอียด หรือจะใช้ราก มาผสมกับเหล้าขาวก็ได้ ทำได้ทั้ง 2 อย่าง ให้นำมาพอกลง บนศีรษะ จะช่วยแก้ อาการปวดศีรษะได้

สามารถคลิกอ่าน เนื้อหาเพิ่มเติม เกี่ยวกับ สรรพคุณของมะหวด ได้ที่ chaipatpark

สรุป สีฮอกน้อย ผลไม้รสหวาน ทานแล้วชื่นใจ

สรุป สีฮอกน้อย เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ที่หาทานได้ยาก ในปัจจุบัน จะพบได้มากตามป่า และพบได้บ้าง ตามแหล่งชุมชน ผลจะนิยมทานผลสุก ซึ่งผลสุกจะมี รสชาติหวาน อุดมไปด้วย คุณประโยชน์ และสรรพคุณเป็นยา สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ช่วยบำรุงร่างกาย ให้แข็งแรง และมีสุขภาพที่ดี

อ้างอิง

[1] wikipedia. (September 27, 2018). มะหวด. Retrieved from wikipedia

[2] disthai. (2017-2024). มะหวด ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย. Retrieved from disthai

[3] phar.ubu. (2024). มะหวด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. Retrieved from phar.ubu