ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร สรรพคุณครอบจักรวาล

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ (Aloe) จัดว่าเป็นสมุนไพร ที่มักเห็นได้ทั่วไป คนนิยมปลูกไว้ในบ้าน มีสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ช่วยให้แผลหายเร็ว บรรเทาแผลไฟไหม้ แผลพุพอง น้ำร้อนลวก เป็นหนอง ผิวหนังอักเสบ และยังรักษาเบาหวานได้อีกด้วย เรามาทำความรู้จัก กันอีกสักหน่อย เผื่อว่ามีอะไร เกี่ยวกับว่านหางจระเข้ ที่เรายังไม่รู้

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ: ว่านหางจระเข้
ชื่อภาษาอังกฤษ: Aloe
ชื่อวิทยาศาสตร์: Aloe vera (L.) Burm.f.
ชื่ออื่นๆ: ว่านไฟไหม้ หางตะเข้ เป็นต้น
วงศ์: Asphodelaceae
สกุล: Aloe
แหล่งกำเนิด: คาบสมุทรอาหรับ และแพร่กระจายพันธุ์ไปยังยุโรป และเอเชีย

คุ้นกันไหมกับคำว่า “อะโล เวร่า”

คำว่า “อะโล” (Aloe) เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “Allal” มีความหมายว่า ฝาดหรือขมในภาษายิว เพราะเมื่อคนได้ยินคำนี้ ก็จะต้องนึกถึง ว่านหางจระเข้นั่นเอง
ลักษณะพิเศษ ของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายเข็ม มีเนื้อหนา และในเนื้อมีน้ำเมือกเหนียว

ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออวบอิ่ม จัดอยู่ในตระกูลลิเลียม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในคาบสมุทรอาหรับ มีมากกว่า 300 สายพันธุ์ มีพันธุ์ที่มีตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ ปลูกเพื่อใช้ในการเกษตรและการแพทย์ รวมถึงสำหรับการตกแต่ง และปลูกเป็นต้นไม้กระถาง [1] 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะ เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี
ลำต้น เป็นข้อปล้องสั้น มีความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นสามารถแตกหน่อใหม่ ออกด้านข้างได้
ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบหนาและยาว อวบน้ำ แผ่นใบมีสีเขียว มีจุดยาวสีขาวอ่อนออกเรียงเวียนรอบต้น โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีหนามแหลมเล็ก ๆ สีขาวอยู่ห่างกัน
ข้างในใบ เป็นวุ้นสีเขียวอ่อน
ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด ดอกมีสีแดงอมสีเหลือง ก้านช่อดอกยาว โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น เป็นรูปแตร
ผล เป็นผลแห้ง คล้ายรูปกระสวย ลักษณะเป็นเหลี่ยมแบน สีน้ำตาล

ที่มา: ต้นว่านหางจระเข้ [2]

ประโยชน์ ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้

อาหาร: นำใบมาปอกเปลือกให้เหลือเฉพาะเนื้อวุ้น ตัดเนื้อวุ้นเป็นก้อนๆสำหรับรับประทานสด เนื้อวุ้นที่ตัดเป็นก้อนๆ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้ ได้แก่ ว่านหางจระเข้เชื่อม น้ำว่านหางจระเข้ผสมวุ้น เป็นต้น
ยาสมุนไพร: ส่วนของน้ำยาง ใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อ ยาถ่ายอย่างแรง หรือ ที่เรียกว่า ยาดำ ใช้เป็นยาสมุนไพรในการใช้ภายใน และภายนอก เช่น การใช้น้ำยางหรือการรับประทานสดเพื่อเป็นยาระบาย ใช้เป็นยา: ส่วนผสมของยาต่างๆ อาทิ ยาต้านการอักเสบ ยาต้านเชื้อจุลินทรีย์
เครื่องสำอาง: ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางเพื่อการบำรุงผิว และรักษาความชุ่มชื้นของผิว น้ำเมือกใช้ทาผิวกาย ช่วยให้ผิวขาว ลดรอยหมองคล้ำ เพราะสามารถกำจัดเซลล์ที่ตายแล้ว ให้หลุดออกได้ง่ายขึ้น
อื่นๆ: น้ำเมือกใช้สำหรับล้างจานชาม เพราะมีสารซาโปนินที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดฟอง ช่วยให้คราบสกปรกหลุดออกได้ดี

ที่มา: ประโยชน์ว่านหางจระเข้ [3]

คำแนะนำในการใช้ ว่านหางจระเข้

  • การตัดใบ
    ใบที่นำมาใช้ประโยชน์ ควรมาจากต้นที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป และควรเป็นใบล่างสุด เพราะเป็นใบแก่สุด ใบมีเมือก สารอาหาร และสารทางยามากกว่าใบด้านบน ตัดใบในจำนวนที่พอเหมาะ กับปริมาณที่จะใช้ในแต่ละครั้ง เพราะควรนำไปใช้ทันที แต่หากเหลือจะเก็บ ด้วยการแช่ในตู้เย็น ได้ไม่เกิน 7วัน ก่อนนำมาใช้ต้องล้างน้ำ กำจัดคราบดิน หรือฝุ่นออกให้หมด
  • วุ้น และน้ำเมือก
    หลังจากล้างน้ำจนสะอาดแล้ว จึงปอกเปลือกว่านหางจระเข้ ฝานเปลือกออกบางๆ ตามแนวยาวจจากโคนใบไปปลายใบ แต่ต้องตัดใบว่านหางจระเข้ออกเป็นชิ้นๆ ตามขวางก่อน เรียบร้อยแล้วจะเหลือเฉพาะเนื้อวุ้น และน้ำเมือก จึงนำไปใช้ประโยชน์ได้

 

คุณค่าทางโภชนาการ (100 กรัม)

– วิตามินเอ 2-4.6 I.U
– วิตามินซี 0.5-4.2 มิลลิกรัม
– ไธอามีน 0.003-0.004 มิลลิกรัม
– ไรโบฟลาวีน 0.001-0.002 มิลลิกรัม
– ไนอาซีน 0.038-0.040 มิลลิกรัม
– แคลเซียม 31 มิลลิกรัม
– เถ้า 0.2 กรัม
– น้ำ 88.3 กรัม
– ฟอสฟอรัส 3 มิลลิกรัม
– โซเดียม 22 มิลลิกรัม
– โพแทสเซียม 12 มิลลิกรัม
– สังกะสี 0.1 มิลลิกรัม
– เหล็ก 0.032-0.06 มิลลิกรัม
– พลังงาน 49 แคลอรี
– โปรตีน 0 กรัม
– ไขมัน 0.6 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม
– เส้นใย 0.2 กรัม

สรรพคุณ ว่านหางจระเข้

  • บรรเทาโรคกระเพาะอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ และช่วยในการเคลื่อนไหวของระบบลำไส้ให้ดีขึ้น
  • แก้ท้องผูก และเป็นยาระบาย
  • ผลิตสารอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในภาวะปกติ รักษา และป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  • ลดความดันโลหิตสูง ช่วยในการไหลเวียนเลือด ช่วยให้เส้นเลือดหดตัวหรือยืดหยุ่นได้ดี ลดความเสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดในสมองแตก
  • ช่วยป้องกัน และรักษาโรคหอบหืด เพราะสารในใบ ว่านหางจระเข้ ออกฤทธิ์ให้กล้ามเนื้อในระบบหายใจคลายตัว มีการยืดหดตัวได้ดี
  • นำใบมาฝานเปลือก ก่อนนำมาทาแผลไฟไหม้ ช่วยระงับอาการแสบร้อน ลดอาการอักเสบ รักษาแผลให้แผลหายเร็ว ช่วยในการห้ามเลือด ช่วยไม่ให้กลายเป็นแผลเป็น
  • เสริมสร้างภูมิต้านทาน กระตุ้นให้ร่างกายต้าน และทนต่อเชื้อโรคได้ดี โดยเฉพาะลดการเป็นหวัด
  •  ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา แก้อาการสายตาพร่ามัว
  • ช่วยแก้อาการเมารถ
  • ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดอาการหงุดหงิด นอนหลับได้ง่าย
  • นำเนื้อวุ้นทารักษาโรคผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อรา ระงับอาการผื่นคันตามผิวหนัง และช่วยลดอาการบวม ลดอาการปวด จากแมลงกัดต่อย แต่บางคนอาจมีอาการแพ้ต่อเมือกนี้ จึงต้องทดสอบด้วยการแตะบางๆที่หลังมือก่อน
  • สมุนไพร มหัศจรรย์ที่ช่วยรักษาบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลที่เกิดจากการฉายรังสีได้ดี
  • สามารถใช้ในลักษณะ ของเครื่องสำอางได้ด้วยคือ ป้องกันผิวไหม้เพราะแดด และบำรุงผิว จัดเป็นหนึ่งพืชสมุนไพรด้านความงามเช่นเดียวกันกับ กวาวเครือขาว และอื่นๆ เป็นต้น

ข้อควรระวัง

  • การใช้ยางหรือใบดิบทาผิวหนังหรือทาแผลอาจทำให้เกิดการระคายเคือง ดังนั้น ก่อนใช้จะต้องนำใบ ว่านหางจระเข้ ไปลวกน้ำร้อนสัก 2-3 นาที โดยยังไม่ต้องปอกเปลือกออก จากนั้นนำใบมาปอกเปลือก แล้วค่อยนำวุ้นมาทาแผล
  • การรับประทานควรปอกเปลือกใบที่หุ้มออกก่อน เพื่อลดปริมาณยางของว่านหางให้มากที่สุด เนื่องจากมีสาร emodin และ aloin จะออกฤทธิ์ทำให้กระเพาะอาหารระคายเคือง และมีผลต่อระบบทางเดินอาหารในด้านอื่นๆ ได้แก่ ท้องเสีย ไตทำงานผิดปกติ และสามารถทำปฏิกิริยากับยางบางชนิดทำให้เกิดพิษเพิ่มขึ้น
  • ผู้ที่มีอาการอาเจียน และท้องร่วง หลังรับประทานควรหยุดรับประทานทันที และให้ทำอาเจียนออกให้หมด ดื่มน้ำมากๆ
  • การรับประทาน ว่านหางจระเข้ ให้ทานก่อนอาหาร แต่ให้เพียงเล็กน้อย ไม่ควรรับประทานมาก หากรับประทานมากก็จะไม่ค่อยหิวอาหาร เพราะน้ำตาลในเลือดเพียงพอแล้ว ส่วนผู้ที่มีปัญหาในเรื่องแผลในกระเพาะอาหารให้นำใบว่านหางมาลวกน้ำร้อนก่อนหรือให้รับประทานเป็นอาหารว่างแทน
  • การใช้ว่านหางจระเข้ทาภายนอก หากสงสัยว่าตนเองแพ้หรือไม่ ให้ฝานใบว่านหางจระเข้มาเพียงเล็กน้อย แล้วทาบนหลังมือทดสอบก่อน
  • ผู้ที่เป็นรอบเดือน ควรเลี่ยงไม่รับประทาน เพราะจะทำให้ประจำเดือนมาน้อย
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน เพราะอาจเสี่ยงต่อ การแพ้อาหาร หรือ อาจมีผลต่อเด็กในครรภ์ทำให้เกิดอาการแท้งได้ เพราะมีสารซาโปนิน มีคุณสมบัติ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรเลี่ยงการใช้ยาอินซูลิน หากดื่มน้ำว่านหางจระเข้ หรือรับประทานผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพราะว่านหางจระเข้จะกระตุ้นการสร้างอินซูลินให้มากขึ้น หากทานยาอินซูลินเพิ่มขึ้นอีก อาจเกิดอาการร้อนใน และมีผลทำให้ร่างกายหมดสติได้

การปลูกและการขยายพันธุ์

การปลูก ว่านหางจระเข้ เป็นพืชที่เติบโตได้ดีในร่วนซุย ทั้งดินร่วน ดินร่วนปนทรายที่มีหน้าดินลึก และระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำท่วมขัง และชอบพื้นที่ที่แสงส่องทั่วถึง

การขยายพันธุ์

  • การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีที่นิยมประเภทหนึ่งสำหรับการปลูกในแปลงขนาดใหญ่เพื่อการพาณิชย์ที่ต้องใช้ต้นกล้าจำนวนมาก ซึ่งวิธีนี้จะมีในบางเฉพาะพื้นที่ และต้องรู้จักหน่วยงานที่มีการเพาะเนื้อเยื่อจำหน่าย
  • การแยกหน่อ เป็นวิธีที่นิยมวิธีหนึ่งสำหรับการปลูกว่านหางจระเข้ ในครัวเรือน ด้วยการขุดหน่อที่แตกออกจากต้นแม่มาปลูกเพื่อให้เป็นต้นใหม่
  • การปักชำ เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยม ใช้สำหรับการปลูกแบบทั่วไปที่มีการตัดยอดหรือต้นออก ซึ่งส่วนยอดหรือต้นนั้นสามารถนำมาปักชำหรือปลูกลงแปลงหรือในพื้นที่ได้เลย

สรุป ว่านหางจระเข้ สรรพคุณดีงาม ที่ทุกบ้านควรปลูกไว้

ว่านหางจรเข้

สรุป ว่านหางจระเข้ สรรพคุณดีงามมากมาย ทั้งรับประทาน เป็นสมุนไพรบำรุงภายใน และใช้เป็นยาทารักษาแผลภายนอก ไม่น่าเชื่อว่า ต้นเล็กๆ แค่นี้จะมีประโยชน์มากมาย ใครยังไม่มี รีบไปหามาปลูกติดบ้านกันไว้ได้เลย นอกจากสรรพคุณต่างๆ มากมายก็ยังสามารถปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะลักษณะสวยแปลกตา ดูมีสไตล์ไปอีก 

อ้างอิง

[1] wikipedia. (February 1 2024). ว่านหางจรเข้. Retrieved from wikipedia

[2] medthai. (August 7, 2020). ต้นว่านหางจระเข้. Retrieved from medthai

[3] puechkaset. (November 17, 2017). ประโยชน์ว่านหางจระเข้. Retrieved from puechkaset