ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรที่มีทะเลสวยงาม และน้ำทะเลอบอุ่น อย่างที่หลายคนรู้จักกันดี ไม่ว่าจะในประเทศไทยของเรา หรือประเทศใกล้เคียง หากได้มาเที่ยวต่างตกหลุมรักง่าย ๆ เพราะนอกจากสภาพแวดล้อมสวยงามแล้ว ยังมีพืชพรรณอายุยืน หน้าตาแปลกประหลาด และสัตว์พบเจอยากอีกหลายชนิด
มหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean) มหาสมุทรขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของมหาสมุทรโลก ขอบเขตติดกับ ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และ ทวีปออสเตรเลีย โดยมีทะเลภูมิภาคขนาดใหญ่ เป็นมหาสมุทรแห่งเดียว ที่ได้รับการตั้งชื่อตามประเทศอินเดีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1515 ภาษาฮินดีหมายถึง “มหาสมุทรของอินเดีย” [1]
มหาสมุทรแห่งอินเดีย มีพื้นที่ผิวประมาณ 70 ล้านตารางกิโลเมตร หรือ 20% ของพื้นที่น้ำบนโลก ความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และระดับความลึกสูงสุด 7,290 เมตร ประกอบด้วย ทะเล ช่องแคบ อ่าวเล็ก และเกาะต่าง ๆ โดยมีพื้นที่การรับน้ำปริมาณ 21 ล้านกิโลเมตร เป็นเส้นทางการเดินเรือสำคัญระหว่างทวีป
สภาพอากาศ เป็นแอ่งน้ำอุ่นเขตร้อนขนาดใหญ่ ส่งผลต่ออากาศในระดับภูมิภาค และระดับโลก โดยมีลมมรสุมเคลื่อนตัวรุนแรงที่สุดในโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ซึ่งถือว่าเป็นมหาสมุทรอบอุ่นที่สุด เพราะอุณหภูมิอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง 1.2 °C และอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะโลกร้อน
ในบรรดามหาสมุทรเขตร้อน มหาสมุทรอินเดียเป็นพื้นที่มี แพลงก์ตอนพืชค่อนข้างเยอะ จึงช่วยสนับสนุนระบบนิเวศทางทะเลได้เป็นอย่างดี มีแนวปะการังครอบคลุมกว่า 200,000 ตารางกิโลเมตร เต็มไปด้วยสัตว์ทะเลหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น ปลาทูน่า วาฬสีน้ำเงิน โลมาอิรวดี เต่าทะเลสีเขียว นกกาน้ำ เป็นต้น
สำหรับความหลากหลายทางชีวภาพ อยู่บริเวณขอบมหาสมุทร 9 แห่ง เช่น เกาะมาดากัสการ์ (พืชพรรณ 1,300 ชนิด และสัตว์ 1,308 ชนิด) และ เกาะโซโครตรา (เกาะดินแดนสวรรค์ รวมพรรณพืชแปลกประหลาด 825 ชนิด สิ่งมีชีวิตประจำถิ่นมากกว่า 500 ชนิด และสิ่งมีชีวิตไม่รู้จักอีก 200 ชนิด) [2]
ทะเลและมหาสมุทร โบราณที่จมหายไป? เป็นมหาสมุทรที่เคยชนกับ แผ่นเปลือกโลกของเอเชีย เมื่อหลายสิบล้านปีก่อน โดยก่อกำเนิดขึ้นมาเป็นมหาสมุทรอินเดีย นับตั้งแต่อดีตแตกต่างกับปัจจุบันอย่างมาก เพราะความลึกลับใต้ท้องทะเล มีการเคลื่อนที่และมุดตัว อาจทำให้พื้นทะเลยุบหายในที่สุด
ปริศนาใต้ท้องทะเลอินเดียกับ หลุมความโน้มถ่วง (Gravity Hole) หลุมที่กินพื้นที่กว้างกว่า 3 ล้านตารางกิโลเมตร บริเวณก้นมหาสมุทรอินเดีย และมีแรงโน้มถ่วงต่ำที่สุดของโลก โดยอาจส่งผลกระทบต่อการแบ่งแยกทวีป ให้แตกออกจากกันเป็นสองส่วน
นักวิทยาศาสตร์เสนอสมมติฐานว่า อาจเกิดจากหินร้อนกำลังหลอมละลาย และน้ำหนักเบา อยู่ในชั้นเนื้อโลก ทำให้ซึมออกมาตามแนวรอยเลื่อน ของแผ่นเปลือกโลกก้นมหาสมุทร ที่เคยรองรับมหาสมุทรโบราณเททีส (Tethys) และจมหายไปในชั้นเนื้อโลก ความลึก 1,000 กิโลเมตร ประมาณ 30 ล้านปีก่อน
จึงเป็นสาเหตุที่มหาสมุทรอินเดียก่อตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังคงรวบรวมข้อมูล การเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาก้นมหาสมุทร และการตรวจจับแผ่นดินไหว ซึ่งยังคงเป็นปริศนาของหลุมความโน้มถ่วง ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าหรือไม่ [3]
มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรขนาดใหญ่ติดอันดับ 3 กินพื้นที่กว่า 70 ล้านตารางกิโลเมตร เรียกว่า มหาสมุทรแห่งอินเดีย เป็นทะเลเขตอบอุ่นมากที่สุด รวมแพลงก์ตอนพืชมากมาย ระบบนิเวศทางทะเลอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมแก่การท่องเที่ยว ชมพืชพรรณหน้าตาประหลาด และสัตว์หลายชนิดที่พบเจอได้ยาก
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.