ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ภาวะแพ้ความสูง ภัยเงียบใกล้ตัวที่ควรระวัง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะนักเดินทาง นักท่องเที่ยว ที่ชื่นชอบความท้าทาย ทำกิจกรรมแอดเวนเจอร์บนที่สูง อาจอันตรายถึงแก่ชีวิต เรามาทำความเข้าใจ กับสภาวะดังกล่าวกันให้มากขึ้น พร้อมวิธีการป้องกันง่ายดาย แบบที่ไม่เคยรู้มาก่อน
ต้องขอบอกก่อนเลยว่า ภาวะแพ้ความสูง “ไม่ใช่โรคกลัวความสูง” อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด เนื่องจากว่ามีอาการคล้ายกัน เมื่อเปรียบเทียบกับ โรคกลัวความสูงแล้ว เป็นโรคจิตเวชอย่างหนึ่ง จะแสดงอาการกลัว หรือ อาจถึงขั้นช็อก ไม่สามารถเผชิญหน้าได้นั่นเอง
แต่สำหรับ ภาวะแพ้ความสูง (Altitude Sickness) [1] เป็นอาการแพ้ คือ มีอาการเจ็บป่วย จากการเผชิญหน้า กับความสูงฉับพลัน มักเกิดขึ้นในระดับความสูง ที่มากกว่า 2,500 เมตร หรือ ประมาณ 8,000 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล โดยแสดงภาวะ ขาดออกซิเจน หรือ ออกซิเจนต่ำ เพราะมีปริมาณ ออกซิเจนเพียง 75%
จากอากาศบนที่สูงเจือจาง ที่มีไม่เพียงพอ ต่อการหายใจ ซึ่งทำให้เราหายใจลำบาก เพราะอากาศเหลือน้อยลง โดยอาการจะคงอยู่นาน ประมาณ 5 – 10 ชั่วโมง เลยทีเดียว หากใครไม่สามารถ ปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่ได้ ก็จะเกิดอาการ หลายอย่างตามมา ที่อาจส่งผลต่อชีวิต ภายใน 24 ชั่วโมง
หากกำลังเจอกับ ภาวะแพ้ความสูง จะมีอาการตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงขั้นรุนแรง ซึ่งภายใน 6 – 12 ชั่วโมงแรก อาจยังไม่พบความผิดปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความหนาแน่น ของโมเลกุลออกซิเจน จะเหลือน้อยกว่า อากาศในระดับน้ำทะเล ทำให้เกิดการขาดออกซิเจน แบบไม่ทันตั้งตัว ส่งผลให้ร่างกาย ต้องทำงานหนักขึ้น ในการปรับตัวให้รวดเร็ว
ภาวะแพ้ความสูง แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ “อาการแรกเริ่ม” (AMS) ปวดหัวเล็กน้อย เวียนหัว อาเจียน อาจส่งผลให้เข้าสู่ ภาวะนอนไม่หลับ ต่อมาเป็น “อาการรุนแรง” เกิดขึ้นต่อเนื่องจาก AMS โดยมีอาการสมองบวม ปวดหัวรุนแรง อาเจียนเยอะ อาการชัก เดินไม่ตรง พูดไม่รู้เรื่อง หรือ อาจเสียชีวิต
และต่อมา “อาการระยะสุดท้าย” (HAPE) น้ำท่วมปอด เหนื่อยหอบง่ายทั้งคืน อาการไอแห้ง หากพักผ่อนเฉย ๆ ก็จะยังคงรู้สึกเหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว มีเสมหะเป็นฟองสีชมพู หรือ อาจช็อกได้ เป็นอาการที่แสดงว่า อันตรายถึงชีวิตฉับพลัน เป็นภาวะที่พบมากที่สุด ควรนำตัวไปพบแพทย์ และ ออกจากพื้นที่สูงทันที
ความเสี่ยงที่เกิดได้ง่าย กับทุกคนจาก ภาวะแพ้ความสูง มีแนวทางป้องกันไม่ยาก คือ อย่างแรกต้องศึกษาสถานที่ก่อนเดินทาง หาข้อมูลเกี่ยวกับความสูง ของพื้นที่นั้นเสมอ ส่วนทางด้านร่างกาย ควรลดการออกกำลังกาย อย่างการเดินหรือวิ่ง แนะนำว่าต้อง พักผ่อนให้เยอะ ๆ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
ควรมีเวลาให้ร่างกายได้ปรับตัว อย่างการพักในพื้นที่ ความสูงเพียงเล็กน้อย 1 – 2 วัน ก่อนจะไปขึ้นที่สูง แบบกะทันหัน รวมถึงการใช้ยาลดอาการชนิด Acetazolamide (Diamox) จะช่วยบรรเทา อาการเริ่มต้นได้ พร้อมกับสังเกต อาการของตัวเองเสมอ เพื่อป้องกันได้อย่างทันท่วงที
ภาวะแพ้ความสูง ภัยเงียบที่หากรู้เท่าทัน พร้อมกับการรับมือ ในทุกสถานการณ์ จะสามารถรักษา ชีวิตของตัวเองเอาไว้ได้ หากวันใดที่ต้อง เผชิญหน้ากับความสูง อย่างไม่ทันตั้งตัว อย่างน้อยคุณก็มีความรู้ติดตัว เพิ่มโอกาสรอดได้ มากขึ้นอย่างแน่นอน
[1] Wikipedia. (December 6, 2023). Altitude sickness. Retrieved from Wikipedia
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.