ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ฝุ่นพิษ PM 2.5 (Particulate Matter) คือ มลพิษทางอากาศ หรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่มีขนาดประมาณ 2.5 ไมครอน หรือขนาดที่เล็กกว่าเส้นผมของคนประมาณ 20 เท่า เป็นขนาดที่เล็กมากชนิดที่ว่าขนจมูกของคนไม่สามารถกรองฝุ่นชนิดนี้ได้ ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรงผ่านการหายใจ และส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีความเสี่ยงให้การเกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ระบบหลอดเลือด และระบบหัวใจ [1]
ฝุ่นพิษ PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองที่ลอยตัวอยู่ในอากาศ และสามารถเล็ดลอดจากการกรองของขนจมูกได้ ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายอย่าง ที่มีทั้งผลกระทบในระยะสั้น ที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน และในระยะยาว ที่มีการเป็นแบบเรื้อรัง
ซึ่งในปัจจุบันก็มีทั้งมาตรการการควบคุมไม่ให้เกิดฝุ่นชนิดนี้เพิ่มขึ้น และการป้องกัน ที่สามารถทำได้ด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นชนิดนี้ได้
ฝุ่นพิษ PM 2.5 เป็นฝุ่นที่มีส่วนประกอบของ สารเคมี สารโลหะหนัก เชื้อโรค และต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วส่งผลเสียต่อสุขภาพต่อระบบหายใจ และระบบต่างๆ อีกมากมาย
โดยฝุ่นชนิดนี้มีสาเหตุมาจาก การเผาไหม้ เช่น ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันจากท่อไอเสีย ควันจากการเผาขยะ ฝุ่นชนิดนี้มีส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างมาก
ในปี 2022 ทางเว็บไซต์ IQAir มีการจัดอันดับประเทศที่มีมลพิษทางอากาศ และประเทศที่มีอากาศแย่ที่สุด จากทั้งหมด 131 ประเทศ ประเทศไทยมีอันดับอยู่ที่ 57 ที่มีค่าเฉลี่ยของคุณภาพอากาศอยู่ที่ 64 ในขณะที่ประเทศที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศที่มีอากาศแย่ที่สุดก็คือประเทศ Chad มีค่าเฉลี่ยของคุณภาพอากาศอยู่ที่ 169
ปัญหาของ ฝุ่นพิษ PM 2.5 เป็นปัญหาที่มีการออกมาตรการควบคุมที่หลากหลาย และมีความเข้มงวดอย่างมาก เพื่อลดสาเหตุการเกิดฝุ่นที่เป็นมลพิษทางอากาศ และยังมีการแนะนำวิธีการป้องกันฝุ่น ที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง
การสวมใส่หน้ากากอนามัย ที่มีคุณสมบัติป้องกันฝุ่นชนิดนี้ อย่างหน้ากาก N95 เป็นหน้ากากอนามัย ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่นได้ ประมาณ 90-95% และยังมีอุปกรณ์สำหรับช่วยฟอกอากาศให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้น อย่างเครื่องฟอกอากาศ ที่มีจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า เป็นทางเลือกในการป้องกันตัวเองจากการสูดฝุ่นเข้าสู่ปอดได้อย่างดี
[1] วิกิพีเดีย. (March 30, 2023). ฝุ่นควัน. Retrieved from Wikipedia
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.