ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ทฤษฎี ผีเสื้อขยับปีก แบบจำลองความโกลาหลทวีคูณ

ผีเสื้อขยับปีก

ผีเสื้อขยับปีก หรือปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก การเกิดขึ้นจากสิ่งเล็กน้อย สู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ เป็นประโยคที่หลายคนเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่อาจฟังดูแปลก ๆ เหมือนว่าจะเกิดขึ้นได้ขนาดนั้นจริงหรือ พามาหาคำตอบของทฤษฎีความอลวน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงบนโลกของเรา

จุดเริ่มต้น ผีเสื้อขยับปีก ทฤษฎีความอลวน

ผีเสื้อขยับปีก (Butterfly Effect) หลักการอ้างอิงถึง “ทฤษฎีความอลวน” (Chaos Theory) คือการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในขณะหนึ่ง และส่งผลเกิดความแตกต่างครั้งใหญ่ในภายหลัง โดยเป็นลักษณะความโกลาหลหรือปั่นป่วน ในระบบที่ไม่แน่นอน และสุ่มแบบไร้ระเบียบของจักรวาล [1]

ผีเสื้อ ขยับปีก มาจากไหน?

แนวความคิดของนักคณิตศาสตร์ และนักอุตุนิยมวิทยา Edward Norton Lorenz เกิดจากทฤษฎีเชิงเปรียบเทียบ การกระพือปีกของผีเสื้อ ในมุมหนึ่งของโลก และอาจทำให้เกิด พายุทอร์นาโด ในมุมอื่นของโลกในไม่กี่สัปดาห์ต่อมา หรือที่คนไทยเรียกว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว”

จากการทดลองใช้คอมพิวเตอร์ Simulation จำลองสภาพอากาศ พบว่าค่าการคำนวณจากข้อมูลแต่ละครั้ง แตกต่างไปจากเดิมสิ้นเชิง เพราะเขาปัดค่าทศนิยมที่มีค่าน้อยมาก จึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมหาศาล เขาจึงตั้งคำถามว่า หากผีเสื้อ 1 ตัว กระพือปีกในบราซิล จะสามารถก่อให้เกิดพายุลูกใหญ่ ในสหรัฐอเมริกาได้

ลองเปรียบเทียบการคำนวณ ระหว่างตัวเลข 0.99 และ 1.01 เป็นค่าที่แทบจะไม่ต่างกันเลย แต่หากลองดูผลลัพธ์ของเลขยกกำลัง 0.99³⁶⁵ และ 1.01⁵³⁶⁵ โดยผลลัพธ์ที่ได้มาคือ 0.03 และ 37.8 ซึ่งเป็นผลลัพธ์แบบทวีคูณ ที่มีความแตกต่างกันมาก อย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง [2]

การใช้แนวคิดตามประวัติศาสตร์

ข้อความที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ผีเสื้อ ถูกใช้อยู่ในประวัติศาสตร์สมัยก่อน ช่วงศตวรรษที่ 13 มีการบันทึกเป็นครั้งแรกโดยนักกวี Freidank และประมาณ 100 ปีต่อมา นักกวีนามว่า Benjamin Franklin ได้เขียนสุภาษิต โดยเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพื่อสื่อถึงสิ่งเล็กน้อย สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ใหญ่กว่าได้

ตามสุภาษิตที่ว่า “เพราะขาดตะปูทำให้รองเท้าหายไป เพราะขาดเกือกม้าทำให้ม้าหายไป เพราะขาดม้าทำให้คนขี่หายไป เพราะขาดคนขี่ทำให้การต่อสู้พ่ายแพ้ เพราะขาดการต่อสู้ทำให้อาณาจักรล่มสลาย และทั้งหมดนี้เป็นเพราะขาดตะปู” ซึ่งฟังดูแล้วอาจดูเหมือนไม่สำคัญ แต่อาจส่งผลทางอ้อมแบบคาดเดาไม่ได้ด้วย [3]

ผีเสื้อขยับปีก แรงกระเพื่อมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ผีเสื้อขยับปีก

ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งถูกนำมาเป็นโครงเรื่องของเกม นิยาย หรือภาพยนตร์ อย่างเช่น The Butterfly Effect (การเดินทางย้อนเวลา เพื่อแก้ไขผลกระทบอันโหดร้ายในโลกปัจจุบัน) และ Until Dawn (วันพักผ่อนที่มีการตายแต่ไม่พบศพ แต่เกิดผลกระทบยิ่งใหญ่ในอนาคต)

จำลองเหตุการณ์ตามทฤษฎี

หากลองจำลองเหตุการณ์ ของผีเสื้อขยับปีก เริ่มต้นจากผีเสื้อ กำลังบินไปเกาะจมูกของหมี แล้วหมีจามเดินไปชนกับต้นไม้ต้นหนึ่ง อาจมีรากที่เปราะบาง ทำให้ต้นไม้ล้มจนพื้นดินแตกแยก สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาจเกิดแผ่นดินแยกจนถึงแกนโลก ส่งผลต่อเปลือกโลกเคลื่อนที่ และท้ายที่สุดทำให้เกิด แผ่นดินสั่นไหว

แม้ว่าจะดูเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก หรืออาจไม่เกิดขึ้นเลย แต่การกระทำเพียงเล็กน้อย ที่คิดว่าไม่มีผลอะไร อาจทำให้จุดศูนย์กลางมวลของโลก เกิดการเปลี่ยนแปลงไปง่าย ๆ เพราะจะส่งผลกระทบกันเป็นทอด ๆ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ที่แรงดึงดูดของโลกกับดวงดาวได้เช่นกัน

ตั้งคำถามเกี่ยวกับ ผีเสื้อขยับปีก

  • ทำไมต้องเป็นผีเสื้อ มีความหมายว่าอะไร : ผีเสื้อเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง ตามความหมายทางจิตวิทยา เพราะผีเสื้อเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการ จากหนอนผีเสื้อเป็นดักแด้ จนกลายเป็นผีเสื้อสวยงาม เรียกกระบวนการเติบโตแบบนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงสู่การเติบโตที่ยิ่งใหญ่
  • ทฤษฎีผีเสื้อในชีวิตจริง : ยกตัวอย่าง การทิ้งระเบิดปรมาณู ถล่มที่ประเทศญี่ปุ่น ณ เมืองฮิโรชิมะและนางาซากิ จากนั้นเกิดเมฆปกคลุมไปทั่ว ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ นำไปสู่ความเสียหายของพื้นดิน จนเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
  • เหตุการณ์ผีเสื้อกระพือปีก ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์คือ : การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) เหตุการณ์ช่วงแรกที่ดูเหมือนไม่มีอะไรสำคัญ แต่ภายหลังนำพาให้แถบยุโรป เปลี่ยนผ่านจากยุคกลางเข้าสู่ยุคเรเนซองส์ และเป็นสาเหตุที่ทำให้คนยุโรป ต้องออกสำรวจโลก แล้วค้นพบทวีปต่าง ๆ
  • ปรากฏการณ์ผีเสื้อส่งผลเชิงบวกหรือเชิงลบ : ทฤษฎีนี้สามารถส่งผลได้ทั้ง 2 ทาง ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เพราะสิ่งเล็กน้อยนั้นสำคัญ ที่เชื่อมโยงกับทุกสิ่งทั้งหมดบนโลก
  • สุภาษิตของผีเสื้อขยับปีกมีอะไรบ้าง : แรงของหยดน้ำสามารถเปลี่ยนจักรวาลได้ และ การกระพือปีกของผีเสื้อสามารถรู้สึกได้ถึงอีกฟากของโลก

สรุป ผีเสื้อขยับปีก “Butterfly Effect”

ผีเสื้อขยับปีก ปรากฏการณ์ที่อ้างอิงจากทฤษฎีความอลวน โดยเริ่มจากการกระทำเพียงเล็กน้อย นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่ส่งผลกระทบมาเป็นทอด ๆ แบบคาดเดาไม่ได้ และไม่เป็นระบบระเบียบในจักรวาล สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกสิ่งบนโลก ทั้งเชิงบวกและเชิงลบอย่างชัดเจน

อ้างอิง

[1] wikipedia. (December 11, 2024). Butterfly effect. Retrieved from wikipedia

[2] medium. (October 18, 2019). ปรากฏการณ์ผีเสื้อขยับปีก หรือ “Butterfly Effect”. Retrieved from medium

[3] thedecisionlab. (2024). The Butterfly Effect. Retrieved from thedecisionlab