ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ผกากรอง พันธุ์ไม้สวยซ่อนอันตราย

ผกากรอง

ผกากรอง พันธุ์ไม้สวยซ่อนอันตราย ทำไมถึงกล่าวเช่นนี้ เพราะความสวยของผกากรองนั้น เป็นพิษต่อทุกสิ่ง ทั้งคน สัตว์เลี้ยง และธรรมชาติ และมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรด้วย แต่เพราะความสวยงามของดอกผกากรองนั้น ในปัจจุบันจึงถูกจัดเป็น ไม้ประดับสีสันสวย มาทำความรู้จักกับพันธุ์ไม้สวยซ่อนอันตรายนี้กัน ว่าเป็นอย่างไร

แนะนำข้อมูล ผกากรอง

  • ชื่ออื่นๆ: ขี้กา (Prachin Buri); คำขี้ไก่ (Chiang Mai)); ดอกไม้จีน (Trat); เบ็งละมาศ, สาบแร้ง (Northern); ไม้จีน (Chumphon); ยี่สุ่น (Trang); สามสิบ (Chanthaburi); หญ้าสาบแร้ง (Central, Northern); จีน ยี่สุ่น สามสิบ, ก้ามกุ้ง Kam kung, เบญจมาศป่า (Central); ขะจาย ตาปู, มะจาย Ma chai (Mae Hong Son)
  • ชื่อสามัญ: Weeping Lantana, White Sage, Cloth of gold, Hedge Flower
  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Lantana camara Linn.
    วงศ์: VERBENACEAE
  • ถิ่นกำเนิด: ประเทศอุรุกวัย อเมริกาใต้

ที่มา: ผกากรอง [1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นผกากรอง

ผกากรองมีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก

  • ลำต้น เป็นสี่เหลี่ยม
  • ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปไข่ โคนใบมน ขอบใบหยักมน ปลายใบแหลม มีขนปกคลุม
  • ดอก ออกดอกช่อ แบบกระจุก มีหลากหลายสี ทั้งสีขาว, ส้ม, แดง, เหลืองนวล, ชมพู หรืออาจมีหลายสีในช่อเดียว ดอกมีกลิ่นฉุน
  • ผล ลักษณะกลม มีขนาดเล็ก ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมี สีน้ำเงินเข้มเกือบดำ

ที่มา: ผกากรอง(Lantana camara) [2]

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์: โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ
ผกากรองบางสายพันธุ์ เป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วประเทศ พบการระบาดมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และกาญจนบุรี
ปัจจุบันผกากรอง ถูกปรับปรุง ให้เป็นพันธุ์ไม้ประดับที่มีความสวยงาม จัดเป็น ไม้ดอกสีสันสวย เช่นเดียวกับ พันธุ์กล้วยไม้ป่า หน้าม้าวิ่ง เป็นต้น

สรรพคุณทางยาสมุนไพร ต้นผกากรอง

สรรพคุณทางยาสมุนไพรของ ต้นผกากรองนั้น สามารถใช้ใบ ดอก ราก ที่สามารถเก็บได้ตลอดปี จะใช้สด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ก็ได้ มีดังต่อไปนี้

  • ใบ: (มีรสขม เย็น) ใช้แก้บวม ขับลม แก้แผลผื่นคันเกิดจากความชื้น หิด
  • ดอก: รสชุ่ม จืด เย็น ใช้แก้อักเสบ ห้ามเลือด แก้วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด แก้ปวดท้องอาเจียน แก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื้น และรอยฟกช้ำ ที่เกิดจาก การกระทบกระแทก
  • ราก: (มีรสฝาด ขม)แก้หวัด ปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดฟัน คางทูม การฟกช้ำที่เกิดจาก การกระทบกระแทก

พิษของผกากรอง

ส่วนที่เป็นพิษคือ ผลแก่ที่ไม่สุก ส่วนของใบ และทั้งต้นโดยเฉพาะผล สารที่เป็นพิษคือ Lantadene ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากผกากรองมักจะไม่แสดงอาการออกมาในทันที แต่อาการจะเกิดขึ้นเมื่อผ่านไป 2 – 3 ชม. โดยจะมีอาการเป็นพิษที่เกิดขึ้น ได้แก่

  • มีอาการมึนงง
  • อาเจียน, ท้องเสีย, อ่อนเพลีย, ไม่มีเรี่ยวแรง
  • ขาดออกซิเจน ทำให้หายใจลึก และช้า หายใจลำบาก
  • รูม่านตาขยาย, กลัวแสง, กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน, มีอาการโคม่า
  • การตอบสนองของกล้ามเนื้อ tendon ถูกกด มีอาการหมดสติ และอาจถึงตายได้

ข้อควรระวัง ในการใช้สมุนไพรผกากรอง

  • ผกากรองเป็นพืชมีพิษ การนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรควรใช้อย่างระมัดระวัง
  • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
  • สาร Lantanin ชนิดนี้ เป็นอันตราย ต่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์จำพวกแพะ และแกะ หากสัตว์เลี้ยงกินเข้าไปมากๆ จะส่งผลต่อตับ และระบบประสาท อาจทำให้ถึงตาย
  • สารพิษในผกากรองที่นำไปใช้เป็นยาฆ่าแมลงในแปลงผัก อาจตกค้างและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้
  • ควรเว้นระยะปลอดภัย ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต

ที่มา: ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรผกากรอง [3]

สรุป ผกากรอง ไม้ประดับดอกสวย แต่มีพิษ

สรุป ผกากรอง ไม้ประดับดอกสวยชนิดนี้ มีทั้งสรรพคุณทางยาสมุนไพร และในขณะเดียวกันนั้นก็มีพิษร้าย มีอันตรายซ่อนอยู่ มีผลต่อสัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อมรอบๆ อาจได้รับผลกระทบหรือสารพิษโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งควรใช้ด้วยความระมัดระวังจริงๆ

อ้างอิง

[1] clgc. (1986-2024). ผกากรอง. Retrieved from clgc

[2] hdmall. (2024). ผกากรอง(Lantana camara). Rrtrieved from hdmall

[3] medthai. (April 23, 2020). ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรผกากรอง. Retrieved from medthai