ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

แนะนำ ธุรกิจรีไซเคิล เปลี่ยนเศษขยะเป็นกองเงิน

ธุรกิจรีไซเคิล

ธุรกิจรีไซเคิล ประเทศไทยในปัจจุบัน พบการทิ้งขยะครัวเรือนรวมกว่า 28 ล้านตันต่อปี แต่สามารถนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แค่ 9.6 ล้านตันต่อปีเท่านั้น เกิดเป็นวิกฤติขยะมากขึ้น จะดีกว่าไหมถ้าขยะมากมาย ถูกนำมาเปลี่ยนเป็นเงิน สร้างธุรกิจด้วยหลักการ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ได้อย่างคุ้มค่า

เปิดโลกรอบรู้กับ ธุรกิจรีไซเคิล คืออะไร

ธุรกิจรีไซเคิล คือ ธุรกิจการรวบรวมเศษวัสดุ เศษส่วนโลหะ และอโลหะต่าง ๆ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว และไม่ก่อให้เกิดอันตราย โดยผ่านกระบวนการแปรรูป หรือปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้ใกล้เคียงกับของชิ้นเดิม และนำกลับมาใช้ใหม่ สำหรับการขายส่งจำนวนมาก

ปัจจัยความสำเร็จของ ธุรกิจรีไซเคิล

หากถามถึงปัจจัยของความสำเร็จ กับการลงทุนทำธุรกิจแบบรีไซเคิล สามารถเรียงลำดับความสำคัญ ดังนี้

  • โครงสร้างและระบบการจัดการ : ควรมีการบริหารจัดการอย่างครบวงจร ตลอดจนการส่งเสริมนักลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับ การจัดการของแต่ละประเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ผลตอบแทนหลายรูปแบบ : การสร้างแคมเปญ สร้างแรงจูงใจในการรีไซเคิล พร้อมให้ผลตอบแทนคุ้มค่า อาทิเช่น การเอาขวดพลาสติกไปแลกค่าโดยสาร หรือการใช้ร่วมกับนวัตกรรมทันสมัย
  • เข้าใจง่ายพร้อมทำได้เลย : วิธีการรักษ์โลก แบบสะดวกสบาย ศึกษาพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ เสนอข้อโต้แย้งอย่างตรงไปตรงมา และการประชาสัมพันธ์ที่จูงใจ

ที่มา: 3 ความท้าทาย ในการรีไซเคิลให้ประสบผลสำเร็จ [1]

ธุรกิจรีไซเคิล อุตสาหกรรมหลักในไทย

ธุรกิจรีไซเคิล

อุตสาหกรรมหลักในประเทศไทย สำหรับการรีไซเคิล ประกอบด้วย 4 ธุรกิจ รีไซเคิล ดังต่อไปนี้

  • ธุรกิจรับซื้อของเก่า : แหล่งรับซื้อของเก่า ขยะพลาสติก ตามครัวเรือนหรือจากผู้บริโภค
  • ธุรกิจรับย่อยขยะพลาสติก : ซื้อพลาสติกจากร้านขายของเก่า แล้วนำมาย่อยหรือบด เป็นเศษชิ้นเล็ก
  • ธุรกิจเม็ดพลาสติก : การนำพลาสติกมาบด ทำความสะอาด แล้วทำการหลอม การรีด และการตัดเม็ดพลาสติก สำหรับจำหน่ายให้โรงงาน ผลิตพลาสติกรีไซเคิล เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
  • ธุรกิจผลิตพลาสติกรีไซเคิล : รับซื้อเม็ดพลาสติก สำหรับขึ้นรูปพลาสติกรีไซเคิลแบบสมบูรณ์

ที่มา: โอกาสทางธุรกิจ SME เปลี่ยนขยะให้เป็นทอง [2]

ธุรกิจรีไซเคิล นักลงทุนควรรู้การลงทุนในไทย

Recycling Business เปิดโอกาสให้กับนักลงทุน ที่สนใจธุรกิจรักษ์โลก เริ่มต้นจากการรับซื้อขยะพลาสติก การคัดแยกขยะ การย่อยหรือบด ตลอดจนการแปรรูป เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยมีอัตราการขยายตัวมากขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม มีหลายด้านที่ผู้ประกอบการควรรู้ เพื่อบริหารจัดการในไทย อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดี-ข้อเสีย ธุรกิจรีไซเคิล

สำหรับข้อดีของธุรกิจ พบว่ามีลูกค้ารับซื้ออยู่ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องทำการตลาด เพราะขยะมีปริมาณมากในทุกวัน และต้องการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ซึ่งไม่สามารถใช้แล้วทิ้ง ให้สลายไปตามธรรมชาติได้ง่าย ส่วนข้อเสียทางด้านธุรกิจ จะค่อนข้างมีความเสี่ยงในการซื้อ ในกรณีวัตถุดิบไม่เพียงพอ ต่อการขายเท่านั้น

ภาพรวมรายได้ ธุรกิจรีไซเคิล

ธุรกิจรีไซเคิล

แหล่งรายได้ของการลงทุน ส่วนใหญ่แล้วมาจากโรงงาน ที่มีการรับซื้อตลอดเวลา โดยมีต้นทุนสูงในการขนส่ง หากคิดภาพรวมของธุรกิจ ภาคกลางมีจำนวนมากที่สุด 1,246 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.17% ส่วนมากเป็นการลงทุนของคนไทย รวมมูลค่า 20,522 ล้านบาท ผลประกอบการกว่า 116,463 ล้านบาท คิดเป็นกำไรของธุรกิจ 515 ล้านบาท จากรายได้ทั้งหมด [3]

สรุป ธุรกิจรีไซเคิล สร้างมูลค่าจากขยะครัวเรือน

ธุรกิจรีไซเคิล การรักษ์โลกในรูปแบบธุรกิจ ตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้ชีวิต ของคนในปัจจุบัน นับว่าเป็น ธุรกิจน่าลงทุน มีลูกค้าตลอดเวลา ทั้งยังมีความเสี่ยงน้อยกว่า หากเทียบกับธุรกิจทั่วไป สามารถสร้างรายได้โดยรวมในประเทศกว่า 116,463 ล้านบาทต่อปี จากการเปลี่ยนขยะครัวเรือน ให้เป็นกองเงินก้อนโต

อ้างอิง

[1] scg. (July 14, 2021). 3 ความท้าทาย ในการรีไซเคิลให้ประสบผลสำเร็จ. Retrieved from scg

[2] prd. (November 6, 2023). โอกาสทางธุรกิจ SME เปลี่ยนขยะให้เป็นทอง. Retrieved from prd

[3] ประชาชาติธุรกิจ. (August 16, 2018). ธุรกิจรีไซเคิลรายได้ทะลุแสนล้าน. Retrieved from prachachat