ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

เรื่องราว ทะเลและมหาสมุทร แหล่งน้ำสำคัญกว่าที่คิด

ทะเลและมหาสมุทร

ทะเลและมหาสมุทร แหล่งผลิตออกซิเจน และกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณเกินครึ่งของโลก อย่างที่เรารู้กันดีว่าโลกของเรา มีพื้นที่น้ำมากกว่าแผ่นดิน แต่อาจยังไม่รู้ว่า ทะเลกับมหาสมุทรต่างกันตรงไหน โลกของเรามีทะเลกับมหาสมุทรอะไรบ้าง รวมถึงมลพิษทางทะเลที่โลกต้องเผชิญ

ทะเลและมหาสมุทร คืออะไร?

ทะเลและมหาสมุทร (Seas And Oceans) แหล่งน้ำสะสมอยู่บนพื้นผิวของโลก เราเรียกกันว่า “ทะเล และ มหาสมุทร” ทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และแหล่งน้ำขนาดเล็ก โดยมหาสมุทรจะมีขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นผิวโลกกว่า 70% และทะเลจะมีขนาดเล็กกว่า ครอบคลุมประมาณ 50 แห่ง กระจายอยู่ทั่วโลก

เปรียบเทียบความต่าง ทะเลและมหาสมุทร

ทะเล คือ แหล่งน้ำขนาดเล็กกว่า และความลึกน้อยกว่ามหาสมุทร โดยเกิดจากการบรรจบ ของมหาสมุทรและแผ่นดินล้อมรอบ ประกอบด้วยเกลือจากแร่ธาตุ เนื่องด้วยความลึกที่น้อยกว่า และอยู่ใกล้กับแผ่นดิน ทำให้เป็นแหล่งอาศัยที่อุดมสมบูรณ์ และมีตำแหน่งกับอุณหภูมิ ที่สามารถกำหนดสัตว์ทะเลบริเวณนั้นได้ด้วย

มหาสมุทร คือ มวลน้ำขนาดมหึมา ปกคลุมพื้นผิวโลก 70% (คิดเป็นอัตรา 2 ใน 3 ของผิวโลก) มีขนาดใหญ่กว่า และลึกมากกว่าทะเล โดยเกิดจากการขยายตัวของพื้นทะเล และการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ประกอบด้วยน้ำเค็ม มีสัตว์ทะเลหายากอยู่ใต้ก้นทะเล และกระแสน้ำ เป็นตัวกำหนดสภาพอากาศทั่วโลก [1]

โลกของเรามีทะเล กับมหาสมุทรอะไรบ้าง?

ภาพรวมโลกของเรา มีปริมาณน้ำบนโลกที่เป็นน้ำเค็ม จากทะเลกับมหาสมุทร 97% และน้ำจืดเพียง 3% ส่วนมากสะสมในรูปแบบของ ภูเขาน้ำแข็งและธารน้ำแข็ง แน่นอนว่าแหล่งน้ำต่าง ๆ ย่อมแตกต่างกันตามหลักภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้

ทะเลและมหาสมุทร ทรัพยากรจำเป็นบนโลก

ทะเลและมหาสมุทร

พื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ต่างต้องพึ่งพาน้ำจืดและน้ำเค็มบนโลก เพราะเป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และแหล่งอาศัย ซึ่งหากน้ำหมดไปจากโลกของเรา คงถึงคราวอวสานอย่างแน่นอน

ปัญหาทางทะเล และสิ่งแวดล้อมใต้มหาสมุทร

รู้หรือไม่? แค่การทิ้งขยะคนละหนึ่งชิ้นลงทะเล จะเกิดอะไรขึ้นกับโลก จากสถิติปริมาณขยะในประเทศไทย มีจำนวนมากกว่า 27 ล้านตัน / ปี แม้ว่าจะมีปริมาณลดลง แต่ปลายทางของขยะส่วนมาก จมลงสู่ใต้ทะเลกว่า 10 ล้านตันในทุกปี จนอาจมีมากกว่า ปริมาณปลาในมหาสมุทรเสียอีก

มลพิษทางทะเลสู่มหาสมุทร ประกอบด้วย น้ำมันรั่ว, พลาสติก (ปริมาณ 7.9 พันล้านกิโลกรัม เทียบเท่ากับน้ำหนักของวาฬสีน้ำเงิน 57,000 ตัว), แพขยะ (แพขยะใหญ่ที่สุดในโลกคือ แพขยะแปซิฟิก ปริมาณขยะ 1.8 ล้านล้านชิ้น เทียบเท่ากับรัฐเท็กซัส 2 เท่า)

ขยะแฟชั่น (จากการซักผ้า มีเส้นใยพลาสติกไม่แตกตัว ถูกชะล้างลงท่อมากถึง 85%) และ สารอาหารอันตราย (พวกไนโตรเจน จะกระตุ้นการเติบโตของสาหร่าย ทำให้ออกซิเจนในน้ำถูกดูดกลืนจนหมด ส่งผลต่อสัตว์ทะเลตายเป็นจำนวนมาก) ซึ่งแน่นอนว่ามลพิษเหล่านี้ยังคงมีอยู่ และอาจเพิ่มขึ้นในอนาคต [3]

Q&A ทะเลและมหาสมุทร

  • โลกเรามีน้ำเยอะแค่ไหน : น้ำบนพื้นผิวโลกมีทั้งหมด 70% ส่วนอีก 30% เป็นทวีปและเกาะ หากแยกปริมาณน้ำจะมีประมาณ 97% เป็นน้ำเค็มในทะเลกับมหาสมุทร ส่วนที่เหลือ 3% เป็นน้ำจืด อย่างเช่น ทะเลสาบ ภูเขาน้ำแข็ง และธารน้ำแข็ง
  • มนุษย์สำรวจมหาสมุทรได้กี่เปอร์เซ็นต์ : จากข้อมูลของ UNESCO เปิดเผยว่ามนุษย์สามารถสำรวจทะเลกับมหาสมุทรได้เพียง 5% ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด ซึ่งน้อยกว่าการสำรวจอวกาศ
  • น้ำจืดกับน้ำเค็มต่างกันอย่างไร : น้ำจืดจะมีเกลือในปริมาณน้อย ส่วนน้ำเค็มจะมีเกลือ หรือโซเดียมคลอไรด์ในปริมาณมาก โดยน้ำทะเลมีค่าความเค็มเฉลี่ย 3.5%
  • เพราะเหตุใดถึงไม่ควรดื่มน้ำทะเล : น้ำทะเลมีเกลือประมาณ 35 กรัม / ลิตร โดยร่างกายของมนุษย์ ไม่สามารถจัดการเกลือได้มากขนาดนั้น หากเราดื่มน้ำทะเลเข้าไป จะทำให้ร่างกายกระหายน้ำ และขาดน้ำ เพราะว่าไตต้องทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อกรองเกลือส่วนเกินออกอย่างหนัก
  • ขยะในทะเลชนิดไหนพบมากที่สุด : ผลสำรวจของทะเลไทย อันดับแรกคือ ขวดพลาสติกเครื่องดื่ม 22% รองลงมาเป็น ถุงพลาสติก ขวดแก้ว ซองขนมพลาสติก เศษโฟม กระป๋องเครื่องดื่ม กล่องอาหารโฟม หลอดพลาสติก ฝาพลาสติก และเชือก

สรุป ทะเลและมหาสมุทร “Seas And Oceans”

ทะเลและมหาสมุทร แหล่งน้ำบนพื้นผิวโลก ที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 70% ของโลก โดยแบ่งเป็นน้ำเค็ม 97% จากทะเลกับมหาสมุทร และน้ำจืด 3% จากทะเลสาบ ภูเขาน้ำแข็ง และธารน้ำแข็ง ประกอบด้วย มหาสมุทรทั้ง 5 แห่ง รวมถึงทะเลปิด และทะเลเกือบปิด กระจายอยู่หลายภูมิภาคทั่วโลก

อ้างอิง

[1] toppr. (2024). Difference Between Ocean and Sea. Retrieved from toppr

[2] trueปลูกปัญญา. (June 18, 2020). มหาสมุทรบนโลก (Ocean). Retrieved from trueplookpanya

[3] กรุงเทพธุรกิจ. (June 8, 2021). 11 เรื่องมลพิษทางทะเล. Retrieved from bangkokbiznews