ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ทะเลอาหรับ หนึ่งในทะเลของมหาสมุทรอินเดีย ที่อาจรู้จักกันในชื่อของ “ทะเลเปอร์เซีย” ที่มีบทบาทสำคัญกับประเทศโดยรอบ เกี่ยวกับระบบนิเวศหลากหลาย และเส้นทางการค้าทางทะเล พามาสำรวจข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่หลายคนอาจยังไม่เคบทราบมาก่อน
ทะเลอาหรับ (Arabian Sea) ภูมิภาคส่วนหนึ่งของ มหาสมุทรอินเดีย ทางตอนเหนือ โดยมีอาณาเขตติดกับ 6 ประเทศ คือ อินเดีย (ชายฝั่งทะเลทอดยาว 2,500 กิโลเมตร) ปากีสถาน (ชายฝั่งทะเลทอดยาว 1,050 กิโลเมตร) อิหร่าน มัลดีฟส์ โอมาน เยเมน และโซมาเลีย [1]
ทะเลอาหรับเป็น ทะเลและมหาสมุทร ขนาดใหญ่ ที่มีพื้นผิวของทะเลประมาณ 3.8 ล้านตารางกิโลเมตร ความกว้างของทะเล 2,400 กิโลเมตร และความลึกสูงสุด 5,395 เมตร โดยมีอ่าวสำคัญอย่าง อ่าวเอเดน และอ่าวคัมบาตร ที่มีเส้นทางการค้าทางทะเล มาตั้งแต่ยุคเรือใบชายฝั่งราว 2,000 – 3,000 ปีก่อนคริสตกาล
ประกอบด้วย ท่าเรือหลักหลายแห่ง อย่างเช่น ท่าเรือ Jawaharlal Nehru ท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ติดอันดับท่าเรือ 100 อันดับของโลก และเกาะมากมายในทะเลอาหรับ โดยมีเกาะสำคัญอย่าง เกาะลักษทวีป (อินเดีย), เกาะโซโครตรา (เยเมน), เกาะแอสโตลา (ปากีสถาน) และเกาะมาซิราห์ (โอมาน)
สภาพอากาศส่วนมากเป็นแบบมรสุม ลมทะเลจะเย็นเป็นพิเศษในฤดูหนาว และค่อนข้างพัดแรง โดยในช่วงมรสุม ลมจะพัดเกลือออกจากน้ำทะเลชั้นบน จึงมีความเค็มน้อยกว่า 35 ส่วน / 1,000 ส่วน แต่ถ้าหากอยู่ในช่วงนอกฤดูมรสุม น้ำทะเลจะมีความเค็มมากกว่า 36 ส่วน / 1,000 ส่วน
สัตว์ทะเลในทะเลอาหรับ เป็นแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ มีปลาทะเลจำนวนมากตามผิวน้ำ ผู้คนจึงนิยมทำการประมงขนาดเล็ก อย่างเช่น ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาบิลฟิช ฉลาม เต่ากระ และพะยูน แต่ถึงอย่างนั้น ประชากรปลามักถูกรบกวนด้วยฟอสเฟต ทำให้ระดับออกซิเจนลดลง ส่งผลให้ปลาตายเพิ่มมากขึ้น [2]
ทะเลที่ก่อตัวขึ้นนานกว่า 45 – 60 ล้านปีก่อน ตั้งแต่ยุคพาลีโอจีน โดยเป็นช่วงที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัว เกิดขึ้นเป็นอนุทวีปอินเดีย และค่อย ๆ เคลื่อนที่ไปทางเหนือ จากนั้นเริ่มเสียดสี และชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย กำเนิดเป็นทะเลอาหรับ ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกด้วย
ทะเลอาหรับว่ากันว่า มีขุมทรัพย์จริงหรือ? จากบันทึกของนักกวีชาวอียิปต์ ที่บันทึกไว้ประมาณ 100 ปีก่อน พวกเขาพบกับสมบัติล้ำค่าจากท้องทะเล คือ ไข่มุก ในยุคโบราณไข่มุกถือว่าเป็น ทรัพยากรธรรมชาติที่ล้ำค่ามากของอ่าวเปอร์เซีย โดยผู้คนมากกว่า 70,000 คน ทำอาชีพงมหาไข่มุกไปขาย
แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การขับเคลื่อนทางการค้าโลกอาหรับ ก็เปลี่ยนมาเป็นการแล่นเรือใบ และเข้าสู่ยุคน้ำมัน จึงกลายเป็นแดนสวรรค์ ของอุตสาหกรรมน้ำมันขนาดใหญ่ ทั้งการทำประมงเกินขนาด มลพิษ การขุดลอกก้นทะเล และการพัฒนาชายฝั่ง ซึ่งทำให้ระบบนิเวศทางทะเล เสื่อมโทรมมากขึ้นจนถึงทุกวันนี้ [3]
ทะเลอาหรับ ทะเลส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ พื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 3.8 ล้านตารางกิโลเมตร โดยมีขอบเขตติดกับ 6 ประเทศ แหล่งท่าเรือสำคัญของโลก เส้นทางการค้าทางทะเล และเกาะมากมาย ที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติ นิยมทำการประมงขนาดเล็ก ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
[1] wikipedia. (December 13, 2024). Arabian Sea. Retrieved from wikipedia
[2] newworldencyclopedia. (2024). Arabian Sea. Retrieved from newworldencyclopedia
[3] ไทยรัฐออนไลน์. (March 22, 2012). ขุมทรัพย์แห่งทะเลอาหรับ. Retrieved from thairath
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.