ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ท่องโลก ทะเลอารัล ทะเลแห่งชีวิตและความแห้งเหือด

ทะเลอารัล

ทะเลอารัล ทะเลสาบแห้งในเอเชียกลาง หลายคนอาจคุ้นเคยกับภาพ ทะเลสาบกว้างและสวยงาม เต็มไปด้วยปลาหลายชนิด และการทำประมงอย่างครึกครื้น แต่น่าเศร้าที่ทะเลแห่งนี้ หดตัวลงกว่า 90% ในช่วง 60 ปีผ่านมา เผชิญกับหายนะที่น่าสะพรึงกลัวต่อระบบนิเวศ จนเป็นทะเลทรายแห้งแล้ง และรกร้างในปัจจุบัน

ทะเลอารัล ทะเลเกาะของเอเชียกลาง

ทะเลอารัล (Aral Sea) ทะเลสาบแบบปิดของเอเชียกลาง แหล่งน้ำภายในไม่มีทางออกสู่มหาสมุทรชัดเจน ตั้งอยู่ระหว่าง ประเทศคาซัคสถาน และประเทศอุซเบกิสถาน ได้รับการตั้งชื่อทะเลสาบ จากภาษามองโกลและภาษาเตอร์กิกว่า ทะเลแห่งเกาะ หมายถึงมีเกาะจำนวนมากกว่า 1,100 เกาะ กระจายทั่วน่านน้ำ [1]

การก่อตัวและขนาด ทะเลอารัล

การก่อกำเนิดอารัล มาจากแม่น้ำอามูดาร์ยา ไหลเข้าสู่ ทะเลแคสเปียน ผ่านทางช่องแคบอุซบอย และหลังจากนั้นแม่น้ำรวมตัวกัน ไหลลงสู่ทะเลอารัล เกิดเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ โดยแต่เดิมทีทะเลอารัล เคยเป็น ทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก ด้วยขนาดพื้นที่ 68,000 ตารางกิโลเมตร

เนื่องด้วยแม่น้ำเปลี่ยนเส้นทาง โดยโครงการชลประทานของสหภาพโซเวียต จึงทำให้ทะเลเริ่มหดตัวลงอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยแบ่งเป็น 4 ทะเลสาบ คือ อารัลเหนือ แอ่งตะวันออก แอ่งตะวันตก และอารัลใต้ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียง 10% ของขนาดเดิม แต่ความเค็มมากกว่าเดิม 5 เท่า ทำให้พืชและสัตว์ส่วนใหญ่ล้มตาย

ท่องเที่ยวสุสานเรือทะเลทราย

ทะเลสาบที่เคยอุดมสมบูรณ์ และอุตสาหกรรมประมงเฟื่องฟู กลายเป็นเมืองสุสานเรือ เมืองมอยนาค (Moynaq) ในสาธารณรัฐการากัลป์ปักสถาน คุณจะพบกับเรือเดินทะเลขึ้นสนิมจำนวนมาก และโรงงานแปรรูปบรรจุปลาที่ถูกทิ้งร้าง ท่ามกลางทะเลทรายกว้างใหญ่ ที่เคยเป็นทะเลสาบมาก่อน

ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงภัยพิบัติ เพื่อบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ และเป็นสถานที่จัดเทศกาลดนตรีประจำปี โดยมีคนอาศัยอยู่ไม่เกิน 1,000 คน เท่านั้น จากเมื่อประมาณ 40 ปีก่อน เคยมีผู้คนอาศัยอย่างหนาแน่นถึง 40,000 คน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์มอยนาค อีกด้วย [2]

ทะเลอารัล หายนะทะเลสาบแห้ง

ทะเลอารัล

ทะเลสาบอารัลแม้จะเคยเป็น ทะเลและมหาสมุทร ขนาดใหญ่มาก่อน แต่ความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างต่ำ เพราะเป็นแอ่งที่มีปลาเฉพาะถิ่น อย่างเช่น ปลาสเตอร์เจียน ปลาเทราต์อาราล ปลาไพค์เหนือ ซึ่งปลาเหล่านี้ก็มีจำนวนลดลง และอาจถึงขั้นสูญพันธุ์ จากทะเลสาบหดตัว และความเค็มเป็นพิษด้วยเช่นกัน

ข้อเท็จจริงน่าสนใจของอารัล

แหล่งน้ำที่มีความสำคัญทางภูมิภาค และทางประวัติศาสตร์ รวมข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  • ครั้งหนึ่งเคยมีชุมชนชาวประมง เพราะเป็นแหล่งปลาชุกชุม และการเดินเรืออย่างหนาแน่น
  • รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบการล่มสลายของทะเล ช่วงทศวรรษ 1950 ผู้นำรัฐบาลโซเวียต ได้เปลี่ยนเส้นทางน้ำของทะเลอารัล เพื่อส่งเสริมการผลิตฝ้าย ทำให้ทะเลอารัลมีน้ำน้อยลงและค่อย ๆ แห้งเหือด ซึ่งน้ำทะเลส่วนมาก 25 – 75% ถูกทะเลทรายดูดซับ และนำไปใช้แบบสิ้นเปลือง
  • ทะเลสาบแห้งส่งผลต่อสุขภาพประชากร พบว่าคนที่อาศัยอยู่แถบทะเลอารัล มีอายุขัยน้อยลง เพราะน้ำทะเลมีความเค็มมาก แร่ธาตุสูงขึ้น และสารเคมีถูกชะล้างลงสู่ปลายน้ำ สะสมในสิ่งแวดล้อม
  • ระดับเกลือและทรายกว่า 200,000 ตัน ถูกพัดจากบริเวณทะเล ลงสู่ทะเลด้วยระยะทาง 300 กิโลเมตร ทำให้เกิดการปนเปื้อนของเกลือ พื้นที่เพาะปลูกน้อยลง ทุ่งหญ้าเสียหาย และขาดแคลนอาหาร
  • ทะเลอารัลมีสภาพอากาศแปรปรวน โดยเป็นทะเลทรายแห้งแล้ง เกิดพายุเกลือและฝุ่นบ่อยครั้ง และยังมีพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรง มากถึง 10 ครั้ง / ปี

ที่มา: 10 Amazing Facts About The Aral Sea [3]

ทบทวนความรู้กับ ทะเลอารัล

  • ทะเลอารัลอยู่ที่ไหน : ตำแหน่งพรมแดนของ คาซัคสถานทางทิศเหนือ และอุซเบกิสถานทางทิศใต้
  • เกิดอะไรขึ้นกับทะเลอารัล : ประสบปัญหาทะเลแห้งเหือด ระดับน้ำใต้ดินลดลง ดินและทรัพยากรเสื่อมโทรมลง ส่งผลกระทบทำให้ทะเลสาบ กลายเป็นทะเลทราย สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้
  • ทำไมทะเลสาบอารัลถึงแห้งแล้ง : อิทธิพลจากการได้รับเอกราช จึงเริ่มเปลี่ยนแนวทางการหาแสวงหาประโยชน์จากแผ่นดิน จากการเปลี่ยนเส้นทางไหลของแม่น้ำ เพื่อการเกษตรกรรม ในขณะเดียวกันก็ทำให้น้ำบนทะเลสาบ และน้ำใต้ทะเลสาบไม่ผสมกันดี ส่งผลต่อระดับความเค็มที่มากขึ้น จึงทำให้น้ำระเหยออกมาอย่างรวดเร็ว
  • ทะเลสาบอารัลเค็มแค่ไหน : ระดับความเค็มของทะเลอารัล แต่ก่อนมีระดับที่ 10 กรัม / ลิตร แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 100 กรัม / ลิตร ซึ่งเป็นปริมาณเกลือที่มากกว่าขีดจำกัด ขององค์การอนามัยโลกกำหนดประมาณ 4 – 5 เท่า / ลิตร
  • ทะเลอารัลสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียกลางอย่างไร : เนื่องจากเคยเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ เรียกว่า ทะเลน้ำเค็มแห่งเอเชียกลาง เคยเป็นศูนย์กลางการประมง และการผลิตกระป๋องอุตสาหกรรม แต่ด้วยการเปลี่ยนเส้นทางแม่น้ำ โดยสหภาพโซเวียต ที่ปัจจุบันประสบความสำเร็จ ด้านการส่งออกฝ้ายรายใหญ่ที่สุด ซึ่งต้องแลกมากับต้นทุน ทางสิ่งแวดล้อมของทะเลแห่งนี้

สรุป ทะเลอารัล “Aral Sea”

ทะเลอารัล ทะเลสาบปิดของเอเชียกลาง อยู่คั่นกลางระหว่างคาซัคสถาน และอุซเบกิสถาน เคยเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ติดอันดับ 3 ของโลก ด้วยพื้นที่กว่า 68,000 ตารางกิโลเมตร แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 10% จากการเปลี่ยนเส้นทางแม่น้ำของสหภาพโซเวียต กลายเป็นทะเลทราย สถานที่ท่องเที่ยวเชิงภัยพิบัติ

อ้างอิง

[1] wikipedia. (December 5, 2024). Aral Sea. Retrieved from wikipedia

[2] abandonedspaces. (January 10, 2024). Moynaq, Uzbekistan: The Desert Full of Forgotten Ships. Retrieved from abandonedspaces

[3] marineinsight. (March 16, 2021). 10 Amazing Facts About The Aral Sea. Retrieved from marineinsight