ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ห่างไกลในวงโคจร เราเรียกกันว่า “ดาวสมุทร” ดาวเคราะห์ที่มีสีน้ำเงินสวยงาม คนมักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นดาวยูเรนัส เนื่องจากมีความคล้ายกัน แน่นอนว่าดาวเคราะห์นี้มีการสำรวจน้อย ลงจอดยานอวกาศไม่ได้ เพราะมีแต่ชั้นบรรยากาศกับมหาสมุทร และอาจถูกแช่แข็งได้ภายในไม่กี่วินาที
ดาวเนปจูน (Neptune) ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลจาก ดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ 8 โดยเป็นดาวเคราะห์มีขนาดใหญ่ในลำดับ 4 ของ ระบบสุริยะ และค่อนข้างมืดเพราะไม่ได้รับแสง ซึ่งมีการอ้างอิงชื่อดาวเคราะห์ตาม เทพเจ้าแห่งท้องทะเลเนปจูน หรือเรียกว่า ดาวสมุทร [1]
ลักษณะเด่นชัดของดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 49,244 กิโลเมตร มองเห็นเป็นสีน้ำเงินเข้ม จากองค์ประกอบหลักของ ไฮโดรเจน 80% ฮีเลียม 19% และก๊าซมีเทน 1.5% นับว่าเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นมากที่สุด และมีมวลมากกว่า ดาวโลก 17 เท่า
อุณหภูมิหนาวเย็นและร้อนจัด ลดลงและเพิ่มขึ้น ตามระดับความสูง อยู่ระหว่าง -223 ถึง 480 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับการควบแน่นของก๊าซมีเทน ทั้งนี้ยังมีระบบพายุ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ด้วยความเร็วลมกระแสพัดแรง 600 เมตร / วินาที และมีพายุหมุนลูกใหญ่เป็นจุดแดง เหมือนกับ ดาวพฤหัสบดี
อย่างที่เห็นกันว่าดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ อาจมากกว่าดาวพลูโตด้วยซ้ำ โดยภายใน 1 วัน ดาวเนปจูนใช้เวลาหมุนรอบตัวเองรวดเร็ว 16 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ ด้วยระยะเวลา 165 ปี บนโลก เพราะว่าอยู่ไกลจึงใช้เวลานานกว่า
ซึ่งการโคจรจะหมุน ในลักษณะเยื้องศูนย์กลางอย่างมาก ทำให้ดาวพลูโตโคจรเข้ามา ในวงโคจรของดาวเนปจูนเป็นเวลา 20 ปี ในทุก ๆ 248 ปี ของโลก ด้วยแกนหมุนเอียง 28 องศา คล้ายกับแกนเอียงของโลกกับ ดาวอังคาร หมายความว่าดาวเนปจูน สามารถเกิดฤดูกาลหนึ่งได้ เป็นเวลานานกว่า 40 ปี [2]
รู้หรือไม่? ดาวสมุทรมีวงแหวน แต่สายตาเราไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เพราะขนาดความหนา และความสว่างค่อนข้างน้อยมาก โดยมีวงแหวนทั้งหมด 5 ชั้น ประกอบด้วย ฝุ่น 20% และหินก้อนเล็กมากมาย ทั้งยังมีดวงจันทร์บริวาร 14 ดวง โดยดวงที่ใหญ่ที่สุดเรียกว่า ไทรทัน หนาวเย็นมากที่สุด และต่างจากดวงอื่น [3]
ดาวเนปจูนเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ ที่มีการสำรวจน้อย เนื่องจากมีสภาพอากาศอันตราย โดยมีการสำรวจด้วยยานอวกาศลำเดียว คือ Voyager 2 ขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 ต้องบินผ่านดาวเคราะห์ยักษ์หลายดวง เพื่อให้เข้าใกล้ดาวเนปจูนได้มากขึ้น และบินเข้าใกล้สำเร็จในปี ค.ศ. 1989 นับว่าใช้เวลานานถึง 12 ปี
ค้นพบพื้นผิวเต็มไปด้วยก๊าซ พายุไซโคลนขนาดเทียบเท่ากับโลก และสนามแม่เหล็ก ที่ไม่ได้ตัดกับแกนกลางของดาว แต่เอียงจากขั้วเหนือ กับขั้วใต้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่า พื้นผิวของดวงจันทร์บริวารไทรทัน ไม่มีหลุมอุกกาบาต แต่มีรอยแยกและสันเขา สามารถบ่งชี้ได้ว่า อาจมีมหาสมุทรใต้ผิวดิน
ดาวเนปจูน ดาวสมุทรสีน้ำเงิน มีวงแหวนค่อนข้างมืด มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า นับว่าเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ก๊าซ เต็มไปด้วยไฮโดรเจน และฮีเลียมจำนวนมาก พื้นผิวไม่แน่นอน เนื่องจากมีพายุขนาดใหญ่ และอาจมีมหาสมุทรใต้ดิน ไม่สามารถนำยานลงจอดได้ ด้วยอุณหภูมิติดลบหนาวเย็นสุดขั้ว
[1] wikipedia. (November 4, 2024). Neptune. Retrieved from wikipedia
[2] nasa. (2024). Neptune Facts. Retrieved from science.nasa.gov
[3] trueปลูกปัญญา. (December 1, 2021). 19 เรื่องจริงบนดาวเนปจูน. Retrieved from trueplookpanya
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.