ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

รีวิว ดอกบัวตอง พืชต่างถิ่น สีเหลืองเด่นละลานตา

ดอกบัวตอง

ดอกบัวตอง ในประเทศไทยเรานั้นไม่ใช่พืชพื้นเมือง แต่ในปัจจุบันกลับมีแหล่งท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยดอกบัวตองที่ขึ้นอย่างงดงามและกว้างขวางเป็นทุ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก นั่นก็คือ ดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีประวัติความเป็นมาจุดเริ่มต้นจากการที่บาทหลวงชาวเม็กซิโกผู้หนึ่งได้นำดอกบัวตองมาปลูก และใช้เวลาหลายปีจึงได้กลายเป็นทุ่งบัวตองในปัจจุบัน และถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ถิ่นกำเนิดบัวตอง

ดอกบัวตอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Tithonia diversifolia (Hemsl.) A.Gray. เป็นพืชพื้นเมืองมีถิ่นกำเนิดจากประเทศเม็กซิโก เป็นไม้ดอกที่มีอายุยืนยาวหลายปีลำต้นมีความสูงได้ถึง 5 เมตร ออกดอกเป็นช่อเดียว บริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกบัวตองเป็นสีเหลืองคล้ายดอกทานตะวัน แต่ขนาดเล็กกว่า ส่วนใบนั้น มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปทรงไข่ ตรงผิวของใบจะมีขนขึ้นเล็กน้อยประปราย ปลายใบเว้าลึก 3–5 แฉก

เป็นไม้ดอกที่ชอบขึ้นในพื้นที่อากาศเย็น ออกดอกสวยงามบานสะพรั่งบนยอดดอยที่สูงกว่า 800 เมตรขึ้นไป โดยทั่วไปจะผลิดอกในช่วงหน้าหนาว คือระหว่างช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม มีขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด [1]

ลักษณะทั่วไป

  • ใบ ใบของดอกบัวตองจะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปมา ลักษณะรูปทรงของใบเป็นรูปไข่ บริเวณริมขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย ใบแฉก 3-5 แฉก เป็นใบที่มีความบาง แผ่นใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวแกมเทา มีขนสั้นขึ้นปกคลุมผิวใบทั้งสองด้าน
  • ดอก โดยทั่วไปจะออกดอกเป็นช่อกระจุกบริเวณปลายกิ่ง เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นศูนย์กลาง 6-14 เซนติเมตร ดอกบัวตองมีกลีบดอกทั้งหมด 12-15 กลีบ เป็นสีเหลืองสดอร่าม ดอกวงนอกเป็นเป็นหมัน ส่วนดอกวงในเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ
  • ผลบัวตอง มีลักษณะเป็นผลแห้ง รูปทรงขอบขนาน โคนและปลายผลสอบเล็ก ด้านในมีเมล็ดอ่อนยาว 0.5-1 เซนติเมตร เมล็ดไม่แตก

ที่มา: บัวตองงานวิจัย [2]

ข้อมูลด้านนิเวศวิทยา

พืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน

ดอกบัวตองเป็นไม้ดอกที่ทนต่อความร้อนและสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดีมาก เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโต และขยายทรงพุ่มได้อย่างรวดเร็ว ในต่างประเทศเช่น ออสเตรเลียและประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก จะพบดอกบัวตองตามข้างริมข้างถนนเป็นจำนวนมาก

เป็นดอกไม้ที่รบกวนพืชท้องถิ่นได้เป็นวงกว้าง โดยการปล่อยสารพิษเพื่อไปยับยั้งการเติบโตของพืชต้นอื่น ดอกบัวตองเป็นไม้ดอกที่มีอายุยืนยาว แตกหน่อได้ดี นอกจากนี้ดอกบัวตองยังมีเมล็ดที่มีน้ำหนักเบาและผลิตได้จำนวนมาก ปลิวกระจายตามทิศทางลม จึงทำให้สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

การรุกรานในประเทศไทย

ดอกบัวตองพืชที่สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำ พบส่วนมากจะพบดอกบัวตองระบาดในพื้นที่ ที่มีความสูงเกิน 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปัจจุบันพบระบาดมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระบาดปานกลางในเชียงใหม่และเชียงราย ระบาดน้อยในพื้นที่จังหวัดลำปาง ลำพูน สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย [3]

สรรพคุณของบัวตอง

ดอกบัวตอง

ดอกบัวตองดอกไม้สีเหลืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพืชรุกราน แต่ใช่ว่าดอกบัวตองนั้นจะมีแต่โทษอย่างเดียว นอกจากสีสันที่โดดเด่นสะดุดตา ดอกบัวตองยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย

  • ใบสดของบัวตอง ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ โดยการนำใบสดมาย่างไฟ จากนั้นนำไปวางบนศีรษะ จากนั้นใช้ผ้าพันแผลพันเอาไว้
  • ดอกบัวตอง สามารถนำมาใส่แผลและแผลช้ำได้
  • ยอดอ่อน สามารถนำมาแก้อาการผื่นคันตามตัว โดยการนำเอายอดอ่อนมาเผา จากนั้นขยี้ให้ละเอียด ใช้ทาผื่นคันที่ขึ้นตามตัว

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของบัวตอง

ดอกบัวตอง มีข้อมูลทางเภสัชวิทยายืนยันว่า

  • สารสกัดจากใบบัวตองด้วยคลอโรฟอร์มและแอลกอฮอล์ นั้นเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง
  • สารสกัดที่ผ่านการสกัดด้วยบิวทานอล มีฤทธิ์ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้หนูได้
  • น้ำต้มจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นบัวตอง มีฤทธิ์ในการช่วยลดอาการอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาตับอักเสบในสัตว์ทดลองได้อีกด้วย
  • สารสกัดจากดอกบัวตองด้วยแอซีโตนและแอลกอฮอล์มีฤทธิ์เป็นฆ่าแมลง

การขยายพันธุ์บัวตอง

ดอกบัวตอง สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ในอดีตนั้น ดอกบัวตองนั้นถือว่าเป็นดอกไม้ที่ได้รับความนิยมนำมาปลุกเพื่อความสวยงามตามสถานที่ต่างๆ แต่ในปัจจุบันกลับไม่ค่อยได้รับความนิยมเนื่องจากดอกบัวตอง ถูกจัดให้เป็นวัชพืชถิ่นรุกรานรุนแรง เป็นพืชที่สามารถขึ้นและขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ มีลักษณะชีวภาพที่สามารถทนต่อความร้อน และความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี

อีกทั้ง ในส่วนรากของบัวตองยังสามารถปล่อยสารเคมีที่รบกวนการเจริญเติบโตและเป็นพิษต่อพืชชนิดอื่นๆ (phytotoxic) ทำให้พืชชนิดอื่นไม่สามารถเจริญเติบโตในพื้นที่เดียวกับดอกบัวตองได้ (allelopathy) ทั้งนี้หากดอกบัวตองเจริญเติบโตขึ้นที่ใด มันจะมีการขยายอาณาเขตเข้าครอบครองพื้นที่นั้นจนเต็มในที่สุด

ดังนั้นในปัจจุบัน การขยายพันธุ์ของดอกบัวตองจึงใช้วิธีการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ และมักจะมีการจำกัดพื้นที่เพื่อลดปัญหาพืชชนิดอื่นถูกรุกราน

ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การขยายพันธุ์บัวตอง ได้ที่ picturethisai

สรุป ดอกบัวตอง

สรุป ดอกบัวตอง ดอกไม้สีเหลือง สีสันโดดเด่นสะดุดตา ซึ่งดอกบัวตองนั้นไม่ใช่พืชพื้นเมือง แต่ปัจจุบันก็ได้มีสถานที่ที่มีดอกบัวตองขึ้นอย่างงดงามกว้างขวาง เป็นทุ่งดอกบัวตองที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอนค่ะ

อ้างอิง

[1] enac_club. (2018-2024). บัวตออง. Retrieved from enac_club

[2] disthai. (2017-2024). บัวตองงานวิจัย. Retrieved from disthai

[3] wikipedia. (November 26,2024). บัวตอง. Retrieved from wikipedia