ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

การเกิด จันทรุปราคา ปรากฏการณ์ดวงจันทร์สีเลือดงดงาม

จันทรุปราคา

จันทรุปราคา ปรากฏการณ์ที่หลายคนคาดหวังว่าจะได้เห็น เพราะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เมื่อดวงจันทร์เต็มดวง มีสีแดงเลือด จะปรากฏความสวยงามเกินบรรยาย ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในบริเวณแสงน้อย และสภาพอากาศเหมาะสม เราจะพามาดูว่าปรากฏการณ์นี้เกิดอย่างไร และตอนไหนบ้าง

พามารู้จัก จันทรุปราคา เกิดขึ้นได้อย่างไร

จันทรุปราคา (Lunar Eclipse) หรือเรียกว่า จันทรคราส, จันทรคาธ, ราหูอมจันทร์, กบกินเดือน เป็นปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ ของดวงจันทร์ผ่านโลก ทำให้เข้าสู่เงามืดโดยตรง (Umbra) ซึ่งเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดาวโลก มาเรียงกันตามแนวตรงกันพอดี หรือมีความใกล้เคียงกันมากที่สุด [1]

ประเภทเงาของโลกจากดวงจันทร์

เงาของโลกที่ทอดออกไปในอวกาศ ถูกแบ่งเป็น 2 แบบ คือ เงามืด (Umbra Shadow) และ เงามัว (Penumbra Shadow) โดยเราสามารถมองเห็นจันทรุปราคา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

  • จันทรุปราคาเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse) : เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ มีการเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเงามัวของโลก โดยไม่ผ่านเงามืด เราจะสามารถมองเห็น ดวงจันทร์แบบเต็มดวง แต่ความสว่างจะน้อยลง สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก
  • จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Lunar Eclipse) : ดวงจันทร์จะเคลื่อนตัว ผ่านเงามืดของโลกเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยเราจะมองเห็นดวงจันทร์ เป็นลักษณะเว้าแหว่งไม่เต็มดวง
  • จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) : การที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีส้มแดง
  • จันทรุปราคากึ่งกลาง (Central Lunar Eclipse) : โดยเป็นดวงจันทร์แบบเต็มดวง ในช่วงที่ดวงจันทร์ผ่านใจกลางเงาของโลก เพื่อไปสัมผัสกับจุดตรงข้ามของดวงอาทิตย์ 180 องศา ซึ่งค่อนข้างหาดูยาก และมีระยะเวลาคลาสยาวนานกว่า

จันทรุปราคา มองเห็นตอนไหน?

การเกิดจันทรุปราคาเป็น ปรากฏการณ์ เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ไม่บ่อยนัก เรามักจะเห็นปรากฏการณ์แบบนี้ช่วงเวลากลางคืน และเป็นคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวงเฉพาะ ขึ้น 15 ค่ำ ตามวันของไทย คือ วันลอยกระทง สามารถมองเห็นดวงจันทร์กลมโต และมีสีส้มแดง หรือสีน้ำตาลอมแดง เรียกว่า “ดวงจันทร์สีเลือด”

โดยการเกิดจะเริ่มจากเงามัวก่อน เราจะเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่ง และจากนั้นจะเริ่มเคลื่อนที่เข้าสู่เงามืดของโลก จนกระทั่งครบเต็มดวง และจะเกิดขึ้นเพียง 1 – 2 ชั่วโมง ถึงอย่างนั้นแล้ว ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เห็นบ่อย แต่ก็เกิดบ่อยครั้งมากกว่า สุริยุปราคา เฉลี่ยแล้วสามารถเห็นได้ทุก ๆ 2 ปี [2]

จันทรุปราคา ปรากฏการณ์ราหูอมจันทร์

จันทรุปราคา

ชมปรากฏการณ์จันทร์สีเลือดทั่วโลก ที่มีเวลาการเกิดยาวนาน แต่ค่อนข้างสังเกตยาก สำหรับผู้ที่มองจากพื้นโลก จะเห็นภาพดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อย ๆ จนเต็มดวง และมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งอีกครั้ง โดยคนไทยโบราณจะเรียกกันว่า “ราหูอมจันทร์” เพราะว่าเงามืดครอบงำดวงจันทร์ จนมืดสนิทเพียงชั่วครู่นั่นเอง

ตารางการเกิดจันทรคราส

จันทรุปราคากับการเกิดขึ้นอีก 5 ครั้ง ข้างหน้า หากใครที่พลาดชมความสวยงามในปีนี้ บอกเลยว่ายังมีโอกาสอีกหลายปี ตามการคาดการณ์ของ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ คือ 13 – 14 มีนาคม 2568, 7 – 8 กันยายน 2568, 2 – 3 มีนาคม 2569, 27 – 28 สิงหาคม 2569 และ 20 – 21 กุมภาพันธ์ 2570 สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ทุกภูมิภาคของประเทศ [3]

ข้อสงสัยหลายประการกับ จันทรุปราคา

  • จันทรุปราคาเกิดกลางวัน หรือกลางคืน : เกิดเฉพาะตอนกลางคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวง
  • พระจันทร์สีเลือด 2567 วันไหน : ครั้งแรกของปี 2567 ตรงกับวันที่ 18 กันยายน โดยมองเห็นได้ชัดเจนจากทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกาใต้ ซึ่งประเทศไทยจะไม่มีโอกาสมองเห็น เพราะต้องรอวันลอยกระทงเท่านั้น
  • จันทร์ซ้อนจันทร์หมายถึงอะไร : ปรากฏการณ์พระจันทร์เต็มดวงเช่นกัน คือ วันขึ้น 15 ค่ำ และตรงกับวันจันทร์อีกด้วย จึงถูกเรียกว่า จันทร์ซ้อนจันทร์ เพราะมีดวงจันทร์งดงามมากที่สุด
  • พระจันทร์สีแดงอันตรายไหม : แม้ว่าสีแดงบนดวงจันทร์จะดูน่ากลัว แต่ไม่ส่งผลอันตรายอะไร เพราะเป็นเพียงการสะท้อนแสงอาทิตย์ ปลอดภัยสำหรับการดูด้วยตาเปล่า
  • จันทรุปราคาส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร : อาจส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล และระบบนิเวศทางทะเล โดยเฉพาะกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยแสงจันทร์ นำทางหรือวางไข่

สรุป จันทรุปราคา “Lunar Eclipse”

จันทรุปราคา ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านโลก ทำให้เกิดเงามืดทั้งดวงแบบโดยตรง แต่เป็นเพียงระยะเวลาไม่นานเท่านั้น ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง และจะเคลื่อนตัวออกไปอย่างช้า ๆ เราจึงเห็นดวงจันทร์ในวันลอยกระทง ทั้งแบบเต็มดวง และแบบเว้าแหว่ง สีส้มแดง ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างสวยงาม

อ้างอิง

[1] wikipedia. (September 9, 2024). Lunareclipse. Retrieved from wikipedia

[2] trueปลูกปัญญา. (July 25, 2018). การเกิดจันทรุปราคา. Retrieved from trueplookpanya

[3] timeanddate. (2024). Watching LunarEclipses. Retrieved from timeanddate