ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ภัยพิบัติ คลื่นความร้อน หายนะวิกฤตสภาพอากาศร้อนจัด

คลื่นความร้อน

คลื่นความร้อน สภาพอากาศร้อนมาก ๆ อย่างฉับพลัน ที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน แม้ว่าประเทศไทยเราจะร้อนสักแค่ไหน แต่ก็ไม่เทียบเท่ากับทางยุโรป หรือทางแอฟริกา ออสเตรเลีย ที่สามารถเกิดภาวะคลื่นความร้อนได้ค่อนข้างบ่อย ทั้งยังส่งผลกระทบอันตราย ที่อาจคาดไม่ถึงตามมา

รู้จักกับ คลื่นความร้อน เกิดจากอะไร?

คลื่นความร้อน (Heat Wave) หรือความร้อนจัด เป็นช่วงที่มีสภาพอากาศร้อนมากกว่าปกติอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 5 วัน โดยมีอุณหภูมิสูงสุดประจำวัน เกินค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในพื้นที่นั้น ประมาณ 5 องศาเซลเซียส ซึ่งเกิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ภายในชั้นบรรยากาศที่มีกำลังแรงขึ้น และคงอยู่เหนือบริเวณนั้น เป็นเวลานานหลายวัน หรืออาจนานหลายสัปดาห์ [1]

สาเหตุและสภาพอากาศ

การเกิดคลื่นความร้อน เกิดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ในระดับความสูง 3,000 – 7,600 เมตร โดยจะทวีคูณความรุนแรงมากขึ้น และยังคงอยู่เหนือพื้นดังกล่าวเป็นเวลานาน มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ทางฝั่งซีกโลกใต้และทางฝั่งซีกโลกเหนือ เพราะว่ามีกระแสลมกรด พัดตาม ดวงอาทิตย์

รูปแบบของสภาพอากาศทั่วไป ฤดูหนาวจะเปลี่ยนแปลงช้ากว่าฤดูร้อน ดังนั้นความกดอากาศสูงระดับบน จึงมีการเคลื่อนตัวช้าด้วยเช่นกัน มีผลให้อากาศทรุดตัวหรือจมลง ทำให้มีสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้น และเกิดคลื่นความร้อนบริเวณชายฝั่งอีกด้วย

รูปแบบการเกิด คลื่นความร้อน

อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกจากคลื่นความร้อน หนึ่งในการเกิด ภัยพิบัติธรรมชาติ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหมด 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

  • คลื่นแบบสะสมความร้อน : เกิดจากบริเวณที่สะสมความร้อนเป็นเวลานาน และบริเวณที่มีแห้งแล้ง ไม่มีเมฆและลมสงบนิ่งนานหลายวัน ทำให้มวลอากาศร้อนไม่มีการเคลื่อนที่ อุณหภูมิบริเวณนั้นจึงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง พบมากในออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ ปากีสถาน และอินเดีย
  • คลื่นแบบพัดพาความร้อน : เกิดจากลมแรง ที่หอบเอามวลความร้อนจากทะเลทราย หรือจากเส้นศูนย์สูตร เข้ามายังบริเวณที่มีอากาศเย็นกว่า หรือพื้นที่เขตหนาว ทำให้อุณหภูมิในบริเวณนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังคงมีอุณหภูมิสูงจนลมร้อนพัดผ่าน หรือสลายตัวไปเอง พบบ่อยในแถบยุโรป

ที่มา: คลื่นความร้อนภัยร้อนแสนอันตราย [2]

คลื่นความร้อน ประเทศไทยร้อนพอหรือยัง

คลื่นความร้อน

หลายคนมักพูดว่า ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ร้อนจนทอดไข่ให้สุกได้! ซึ่งความเป็นจริงแล้วประเทศไทย ไม่ใช่ประเทศที่มีอากาศร้อนที่สุด เพราะไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณมวลอากาศร้อน และไม่มีทะเลทราย ดังนั้นโอกาสเกิดขึ้นนั้นเป็นไปได้น้อยมาก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ความร้อนส่งผลอันตรายแค่ไหน?

จากอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างฉับพลัน แน่นอนว่าก่อให้เกิดความเสียหาย และการสูญเสียต่อร่างกายมนุษย์ ทั้งผื่นคันจากความร้อน ตะคริวจากความร้อน โรคลมแดด (Heat Stroke) อาการเพลียแดด หน้ามืดหรือวิงเวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ ร่างกายขาดน้ำ หัวใจวาย และมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง ได้รับอันตรายจากคลื่นความร้อน คือ ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะอ้วน และผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ [3]

นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม อย่างธารน้ำแข็งละลาย อุณหภูมิน้ำในทะเลสาบเขตหนาวสูงขึ้น (ทำให้ปลาเขตหนาวเกิดภาวะหายใจไม่ออก) พืชผักไม่เจริญเติบโต สาหร่ายเป็นพิษใน ทะเลบอลติก และสภาพดินแห้งแล้ง ทำให้ต้นไม้ขาดแคลนน้ำ

คำถามน่าสนใจเกี่ยวกับ คลื่นความร้อน

  • ความร้อนมาจากไหน : แหล่งกำเนิดความร้อนต่าง ๆ เป็นรูปแบบของพลังงาน ทั้งมาจากดวงอาทิตย์ พลังงานในของเหลวร้อนใต้พิภพ การเผาไหม้เชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานเปลวไฟ และพลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ ล้วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิและสถานะ
  • คลื่นความร้อนส่งผลในชีวิตประจำวันอย่างไร : เกิดความเสี่ยงทั้งร่างกาย เศรษฐกิจ และการสูญเสียทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น อาการอ่อนเพลียจากแดด โดยเฉพาะกลุ่มประชากรเปราะบาง การขาดแคลนน้ำและพลังงาน รวมถึงการเกิดเหตุการณ์ ไฟไหม้ป่า
  • ทำไมประเทศไทย จึงไม่ประสบปัญหาคลื่นความร้อน : เพราะว่าประเทศไทย มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมในระดับท้องถิ่น และไม่อยู่ในพื้นที่มวลอากาศร้อน แต่คลื่นความร้อนสามารถเกิดขึ้นได้ และมีความรุนแรงมากขึ้น จากภาวะโลกร้อน (Global Warming)
  • มนุษย์สามารถทนความร้อนได้กี่องศา : สามารถทนอุณหภูมิความร้อนในร่างกายได้เพียง 40 – 41 องศาเซลเซียส โดยปกติอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย จะอยู่ในระหว่าง 37 – 38 องศาเซลเซียส แต่ถ้าหากร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากกว่านั้น จะทำให้ร่างกายติดเชื้อ และเกิดภาวะฮีทสโตรก
  • อากาศร้อนต้องทำตัวอย่างไร : ดื่มน้ำให้เพียงพอหรือมากกว่าปกติ ทานผลไม้ชนิดเย็น เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ทาครีมกันแดด และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มเย็นจัด

สรุป คลื่นความร้อน “Heat Wave”

คลื่นความร้อน ภาวะอุณหภูมิสูงขึ้นผิดปกติอย่างรวดเร็ว โดยมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในพื้นที่เกินกว่า 5 °C ติดต่อกันอย่างน้อย 5 วัน หรือนานหลายสัปดาห์ เกิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ที่มีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย ล้วนส่งผลเสียต่อร่างกาย การเกษตร และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

อ้างอิง

[1] wikipedia. (December 20, 2024). Heat wave. Retrieved from wikipedia

[2] scimath. (April 19, 2022). คลื่นความร้อนภัยร้อนแสนอันตราย. Retrieved from scimath

[3] กรมควบคุมมลพิษ. (May 14, 2024). คลื่นความร้อนภัยจากวิกฤติภูมิอากาศที่อันตรายถึงชีวิต. Retrieved from epo14.pcd.go.th