ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

การเกิด ครีษมายัน กลางวันยาวนานเริ่มรับแสงแรกฤดูร้อน

ครีษมายัน

ครีษมายัน แสงแดดอบอุ่นกำลังสาดส่อง พระอาทิตย์ขึ้นเร็วตอนเช้ามืด และลับขอบฟ้าช้ากว่าปกติ ปรากฏการณ์ที่กำลังบอกคุณว่า เริ่มเข้าสู่หน้าร้อนอย่างเต็มตัว ระยะเวลาที่มีกลางวันยาวนาน มากกว่าตอนกลางคืนที่สุดในรอบปี มีตำนานความเชื่อ และเทศกาลต้อนรับแสงแรก

ความเป็นมาและวัฒนธรรม ครีษมายัน

ครีษมายัน (Summer Solstice) หรือ อุตตรายัน วงโคจรของ ดาวโลก ทำมุมเอียงเข้าหา ดวงอาทิตย์ ที่มีระยะเข้าใกล้มากที่สุดในรอบปี โดยเกิดขึ้นแค่ 2 ครั้ง / ปี ทางประเทศแถบซีกโลกใต้และเหนือ ดังนั้นส่งผลให้มีช่วงกลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี และมีกลางคืนสั้นที่สุด ตรงข้ามกับ เหมายัน [1]

รูปแบบการเกิด ครีษมายัน

วันที่มีกลางวันยาวนานมากที่สุด โดยตำแหน่งของดวงอาทิตย์ อยู่จุดสูงสุดของขั้วโลก (ผ่านเส้นเมริเดียน เพื่อบอกเวลาและนำทาง) ทำให้เวลากลางวันยาวนานต่อเนื่อง ซึ่งดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วและตกช้า แต่ละภูมิภาคมีอากาศอบอุ่น โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรป เกิดขึ้นในช่วงกลางฤดูร้อน ของซีกโลกใต้และเหนือ

สำหรับทางซีกโลกใต้ มักเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน วันที่ 20 – 22 และทางซีกโลกเหนือ (กลางคืนยาวนานที่สุด) จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม ของวันที่ 21 – 23 ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญในหลายวัฒนธรรม ทั้งเทศกาลเฉลิมฉลอง ประกอบพิธีกรรม และสัญลักษณ์ของการเพาะปลูก

การสังเกตเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน

ฤดูร้อนทางซีกโลกของทุกปี เป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์เกิดการเคลื่อนตัว ไปยังจุดทางทิศเหนือมากที่สุด โดยเป็นตำแหน่งหยุดนิ่งของอุตตรายัน ด้วยแกนหมุนของโลก ทำมุมเอียงแนวดิ่ง ประมาณ 23.5 องศา กับระนาบวงโคจร ส่งผลให้เกิดฤดูกาลกลางวันยาวนาน มากกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จึงขึ้นเร็ว และตกช้ากว่าเดิม

หลักการสังเกตดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า จะไม่มีอาทิตย์เที่ยงคืน เพราะว่าละติจูดของประเทศไทยอยู่ต่ำเกินไป แต่สามารถมองเห็น ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ที่มีการขึ้นและตก ไม่ตรงกับทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซึ่งค่อนไปทางทิศเหนือแทน

ช่วงเวลากลางวันจะไม่มีเมฆ หรือฝนรบกวน พบว่าท้องฟ้าค่อนข้างแจ่มใส และสว่างรวดเร็วในเวลาเช้ามืด และมืดช้ามากในเวลาหัวค่ำ โดยสังเกตได้ชัดเจนมาก สำหรับประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ยังพบว่าหลังหัวค่ำ ดาวเคราะห์ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่ง สอดคล้องกับฤดูกาลอีกด้วย [2]

ครีษมายัน ปรากฏการณ์กลางคืนสั้น กลางวันยาว

ครีษมายัน

ครีด-สะ-มา-ยัน ปรากฏการณ์ กลางวันยาวนานในรอบปี หรือเรียกว่ามืดช้า โดยประเทศแถบซีกโลกใต้ เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน และประเทศแถบซีกโลกเหนือ เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งหลังจากที่ครีษมายันจบลง ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกตามปกติ จนกลางวันและกลางคืน มีระยะเวลาเท่ากันพอดี

ตำนานความเชื่อและเทศกาล

ตามเวลาของประเทศอังกฤษ วันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 04.43 น. และดวงอาทิตย์ตกเวลา 21.21 น. เป็นเวลากลางวันยาวนาน และรับแสงอาทิตย์นานมากถึง 16 ชั่วโมง 38 นาที สำหรับประเทศไทย ขึ้นเวลาประมาณ 05.51 น. และลับขอบฟ้าประมาณ 18.47 น. รวมแล้วดวงอาทิตย์ปรากฏนาน 12 ชั่วโมง 56 นาที

เทศกาลในแต่ละปีของอังกฤษ จะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 10,000 คน รวมตัวทำกิจกรรมที่อนุสรณ์สถาน สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) เพื่อรับชมแสงแรกของวัน ต้อนรับฤดูร้อนที่รอคอยมานาน โดยเป็นพิธีกรรมอ้าแขนรับแสงแดด หรือนั่งสมาธิรับแสงแดด ที่มีความเชื่อยาวนานมาหลายพันปี [3]

บทเรียนถามตอบเกี่ยวกับ ครีษมายัน

  • วันครีษมายันคือฤดูอะไร : ฤดูร้อน ของประเทศแถบซีกโลกใต้และเหนือ
  • วันครีษมายันตรงกับตำแหน่งใด : ตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้น ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่า และดวงอาทิตย์ตก ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมากกว่า
  • ประเทศไทยมีกลางวันยาวที่สุดวันไหน : ส่วนใหญ่ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน แต่บางปีอาจมีเวลาตรงกับวันที่ 20 มิถุนายน ขึ้นอยู่กับองศาเอียงการโคจรของโลก
  • ประเทศอะไรไม่มีตอนกลางคืน : ประเทศไอซ์แลนด์ โดยดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินตลอด 24 ชั่วโมง ที่เรียกกันว่า อาทิตย์เที่ยงคืน จะมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีแดง สีชมพู หรือสีม่วงตลอดทั้งคืน – เช้าตรู่
  • ถ้าโลกไม่เอียงจะเกิดอะไรขึ้น : ผลกระทบกับขั้วโลก โดยบริเวณขั้วโลกด้านหนึ่ง ได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ปริมาณน้อยมากตลอดทั้งปี ในขณะเดียวกันขั้วโลกทางเส้นศูนย์สูตร จะได้รับพลังงานความร้อนค่อนข้างสูงตลอดปี ทำให้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลต่าง ๆ

สรุป ครีษมายัน “Summer Solstice”

ครีษมายัน ปรากฏการณ์กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี ระยะเวลานานกว่ากวางคืน เกิดขึ้นในประเทศทางซีกโลกใต้และเหนือ มักตรงกับวันที่ 20 – 22 มิถุนายน เข้าสู่ช่วงกลางฤดูร้อนของทุกปี ผู้คนนิยมรวมตัวกันเฉลิมฉลอง ในเทศกาลต้อนรับแสงแรกของฤดูร้อน ทำกิจกรรมต่าง ๆ และเริ่มต้นการเพาะปลูกพืช

อ้างอิง

[1] wikipedia. (November 12, 2024). Summer solstice. Retrieved from wikipedia

[2] posttoday. (June 18, 2017). วันครีษมายัน. Retrieved from posttoday

[3] bbc. (June 21, 2019). หน้าร้อน : วันครีษมายัน. Retrieved from bbc