ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

แนะนำ ขายอาหารออนไลน์ ทำง่ายไม่ต้องเช่าหน้าร้าน

ขายอาหารออนไลน์

ขายอาหารออนไลน์ ธุรกิจยอดฮิตกำลังมาแรง สำหรับคนยุคใหม่ ที่มีความต้องการ ทุกวันทุกเวลา สามารถเข้าถึง กลุ่มคนได้ทุกประเภท มอบความสะดวกสบาย ให้กับร้านค้า และ ผู้บริโภคเอง สำหรับใครที่อยากเริ่มต้น ทำธุรกิจอาหาร แบบไม่ต้องมีต้นทุน เช่าหน้าร้าน เตรียมตัวฟังกันไว้ให้ดี

ขายอาหารออนไลน์ ธุรกิจตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

จากสถานการณ์โควิดหลายปีก่อน ส่งผลให้คนตกงาน และ หันมาพึ่งพารายได้เสริม ที่หาทำง่ายจากในบ้าน หรือคอนโด หนึ่งในนั้นคือ ขายอาหารออนไลน์ ทั้งของคาว ของหวาน จนทำรายได้ดีเกินคาด เพียงทำการตลาดผ่าน Social Media ส่งอาหารด้วยตัวเอง หรือ จะเข้าร่วมแพลตฟอร์ม Food Delivery Apps [1] สะดวกสบายมากขึ้น เรียกว่าเป็นธุรกิจ ของคนยุคใหม่ไปแล้ว

ขายอาหารออนไลน์ เริ่มต้นอย่างไรดี

อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ ขายอาหารออนไลน์ จะต้องเตรียมตัว ในการเปิดร้าน หรือ การลงทุนอย่างไรบ้าง เราจะพามาทำความเข้าใจกัน ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น ตามรายละเอียดต่อดังนี้

  • เลือกประเภทอาหาร : อาหารที่ถนัด มีรสชาติอร่อย โดยอาหารยอดนิยมจะมี ข้าวกล่อง ทะเลดอง อาหารสุขภาพ เบเกอรี่ และ ผลไม้ รวมถึงอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำกับใคร
  • กำหนดราคาขาย : ตั้งราคาอาหารให้เหมาะสม โดยคำนวณจากต้นทุน วัตถุดิบ การผลิต ค่าขนส่ง ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมทั้งการจ่ายส่วนแบ่ง ให้กับแพลตฟอร์มด้วย เช่น เมนูข้าวกะเพราหมู ขายหน้าร้าน 35 บาท สำหรับ ขายอาหารออนไลน์ สามารถเป็นราคา 50 บาทได้
  • จดทะเบียนพาณิชย์ : สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า โดยการจดทะเบียนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ [2] ภายในระยะเวลา 30 วัน หลังจากเริ่มทำธุรกิจ
  • เลือกบรรจุภัณฑ์ : เลือกกล่องบรรจุอาหาร ให้เหมาะกับประเภทอาหาร ทั้งต้องคำนึงถึงต้นทุนด้วย
  • ตัวเลือกอาหาร : ลูกค้าส่วนใหญ่ชอบร้าน ขายอาหารออนไลน์ ที่มีตัวเลือกอาหารเยอะ หลายประเภท เพราะคุ้มกับค่าส่ง เช่น ในร้านอาหารตามสั่ง มีทั้งก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม และ ของหวานทานเล่น
  • ช่องทางชำระเงิน : ควรมีตัวเลือก ในการจ่ายเงิน หลากหลายเช่นกัน เพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า เช่น เงินสด, บัตรเครดิต, บัตรเดบิต, Mobile Banking หรือ True Money Wallet

ข้อดี – ข้อเสีย ขายอาหารออนไลน์

ขายอาหารออนไลน์

สำหรับข้อดี และข้อเสีย ของการ ขายอาหารออนไลน์ แน่นอนว่า พ่อค้าแม่ค้าอาหาร ต้องเคยพบเจอกันมาบ้าง ทั้งประสบความสำเร็จ ทั้งปัญหามากมาย มาดูก่อนตัดสินใจ ลงทุนกับธุรกิจของคุณ

ข้อดี ขายอาหารออนไลน์ : ต้นทุนน้อยกว่า การขายหน้าร้าน ประกอบอาหารคนเดียวได้ ไม่ต้องเสียเงินจ่ายค่าแรง สามารถนำข้อมูลลูกค้า มาวิเคราะห์ทำการตลาดได้ง่าย และ ในกรณีที่ไม่เข้าร่วม Food Delivery Apps จะไม่มีค่าใช้จ่ายจาก Gross Profit [3] แต่จะเสียเป็น ค่าใช้จ่ายคงที่แทน

ข้อเสีย ขายอาหารออนไลน์ : อาหารอาจไม่อยู่ ในอุณหภูมิที่พร้อมทาน อาหารเสียหาย อาจมีการสลับออเดอร์ หรือ สูญหายระหว่างการส่งได้ รวมถึงส่งผลเสีย ต่อโลกมากขึ้น จากขยะพลาสติก และ ในกรณีเข้าร่วม Food Delivery Apps จะต้องจ่ายส่วนแบ่งมากถึง 20 – 30% ของราคาอาหาร

สรุป ขายอาหารออนไลน์ ธุรกิจคนไทยนิยม

ขายอาหารออนไลน์ สร้างธุรกิจง่ายดาย จากครัวในบ้าน ตอบโจทย์สำหรับ คนไทยยุคใหม่ ไม่ว่าจะทำการตลาดเอง ส่งอาหารเองก็ดี หรือ เข้าร่วมกับแพลตฟอร์มส่งอาหาร ก็สะดวกสบายเช่นกัน แต่อาจมีค่าใช้จ่าย ส่วนแบ่งทางการตลาด มากกว่า 20% ก็ขึ้นอยู่กับการบริหาร จัดการธุรกิจของแต่ละคน

อ้างอิง

[1] Wikipedia. (February 28, 2024). Food delivery. Retrieved from Wikipedia

[2] pmpservethailand. (2024). การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร. Retrieved from pmpservethailand

[3] accrevo. (Jul 14, 2022). งบกำไร-ขาดทุน คืออะไร. Retrieved from accrevo