ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
เหมายัน ลมหนาวพัดผ่านมา มองท้องฟ้าตอนเย็นมืดเร็ว และมีอุณหภูมิลดลง สัญญาณเตือนว่ากำลังเข้าสู่หน้าหนาว ช่วงเวลาที่มีกลางคืนยาวนาน มากกว่าช่วงกลางวันที่สุดในรอบปี ทำไมคนไทยถึงเรียกกันว่า ตะวันอ้อมข้าว และวัฒนธรรมต่างประเทศ มีเทศกาลและกิจกรรมอะไรกันบ้าง
เหมายัน (Winter Solstice) หรือ ทักษิณายัน การโคจรของ ดาวโลก เคลื่อนตัวออกจาก ดวงอาทิตย์ ระยะห่างมากที่สุดในรอบปี โดยเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้ง / ปี ทางประเทศแถบซีกโลกเหนือและใต้ จึงส่งผลให้มีช่วงกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี และมีกลางวันสั้นที่สุด ตรงข้ามกับ ครีษมายัน [1]
วันที่มีกลางคืนยาวนานมากที่สุด โดยดวงอาทิตย์จะอยู่ในตำแหน่ง จุดต่ำสุดของเวลากลางวัน (การผ่านเส้นเมริเดียน) ทำให้แต่ละภูมิภาคเขตขั้วโลก ตกอยู่ในปรากฏการณ์กลางคืนขั้วโลก หรือพลบค่ำอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว ของซีกโลกเหนือและใต้
สำหรับทางซีกโลกเหนือ จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม วันที่ 21 – 23 และทางซีกโลกใต้ (กลางวันยาวนานที่สุด) เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ของวันที่ 20 – 22 นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญประจำปี สำหรับวัฒนธรรมยุคหินใหม่ มักจัดเทศกาล พิธีกรรม และกิจกรรมทางการเกษตรต่าง ๆ
ฤดูหนาวทางซีกโลกของทุกปี จะเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์มีการเคลื่อนย้าย ไปทางทิศใต้มากที่สุด โดยผ่านตำแหน่งทักษิณายัน จากแกนหมุนของโลก เอียงทำมุมกับแนวตั้งฉากระนาบวงโคจร ประมาณ 23.5 องศา ทำให้เกิดฤดูกาลกลางคืนยาวนาน มากกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จึงขึ้นช้า และตกเร็วกว่าปกติ
สังเกตได้จากตำแหน่งของดวงอาทิตย์ บริเวณขั้วโลกใต้จะมองเห็นดวงอาทิตย์ ตลอด 24 ชั่วโมง (แม้เป็นเวลาเที่ยงคืนก็ตาม) เรียกว่า “อาทิตย์เที่ยงคืน” สำหรับในประเทศไทย ดวงอาทิตย์จะอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตร มีการขึ้นและตก ไม่ตรงกับทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซึ่งจะเป็นการขึ้นและตกแบบเยื้องแทน
หากเป็นช่วงใกล้เที่ยงวัน ดวงอาทิตย์จะไม่ผ่านเหนือศีรษะ แต่จะเคลื่อนตัวลงไปทางทิศใต้ เราจึงเห็นแสงอาทิตย์ส่องมาจากขอบฟ้าทิศใต้ คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” เพราะว่าดวงอาทิตย์ไม่ผ่านต้นข้าว แต่จะโคจรอ้อมไปแทน เป็นสัญญาณบอกว่า กำลังเข้าสู่ฤดูหนาว และการเก็บเกี่ยวข้าว [2]
เห-มา-ยัน ปรากฏการณ์ กลางคืนยาวนานในรอบปี โดยประเทศแถบซีกโลกเหนือ เข้าสู่ช่วงฤดูหนาว และประเทศแถบซีกโลกใต้ เข้าสู่ช่วงฤดูร้อน แต่เมื่อเหมายันผ่านพ้นไปแล้ว ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ก็จะขึ้นและตก ขยับไปทางทิศปกติมากขึ้น จนกระทั่งมีเวลา 12 ชั่วโมง เท่ากัน
วันที่มีดวงอาทิตย์ขึ้น ช่วงเวลาประมาณ 06.36 น. และดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ประมาณ 17.56 น. รวมแล้วระยะเวลาตอนกลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 20 นาที สำหรับในประเทศอังกฤษ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำกิจกรรมเกี่ยวกับความเชื่อ ภูตผีปีศาจ จิตวิญญาณ เทพเจ้า และธรรมชาติ ณ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) [3]
หากเป็นวัฒนธรรมความเชื่อ ของประเทศจีน จะมีเทศกาลเหมายัน (เฉลิมฉลองเช่นเดียวกับ เทศกาลตรุษจีน) กิจกรรมการพักผ่อนเพื่ออบอุ่นร่างกาย รับประทานถั่ว เกี๊ยว ขนมบัวลอยจีน (ทังหยวน) ก๋วยเตี๋ยวเนื้อแกะ เค้กข้าว ข้าวเหนียวถั่วแดง และการไหว้เค้ก 9 ชั้น แด่บรรพบุรุษ
เหมายัน ปรากฏการณ์กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี มีระยะเวลายาวนานกว่ากลางวัน เกิดขึ้นในประเทศแถบซีกโลกเหนือและใต้ ช่วงเวลา 21 – 23 ธันวาคม ประจำฤดูหนาวของทุกปี นิยมจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลอง และกิจกรรมต่าง ๆ ตามวัฒนธรรม เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าหน้าหนาวมาถึงแล้ว
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.