ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

เสม็ดแดง ผลไม้ป่า อุดมไปด้วยคุณประโยชน์

เสม็ดแดง

เสม็ดแดง หรือ เสม็ดชุน คือผลไม้ป่า อีกหนึ่งชนิด ผลรับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมฝาด ซึ่งจะมีชื่อเรียก ที่หลากหลาย ชื่อจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น ที่นิยมเรียกกัน จัดเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ ที่ต้นเมล็ดแดง เกิดขึ้นเองในป่า ตามธรรมชาติ ปัจจุบันจะสามารถ พบได้ตามป่าดิบแล้ง และพบได้ในบางพื้นที่ ได้แก่ ตามแหล่งชุมชน หรือไร่นาไร่สวน แต่จะพบได้ ไม่มากนัก

เสม็ดแดง ผลไม้ป่า มีรสชาติเปรี้ยวอมฝาด

เสม็ดแดง ผลไม้ป่าทานง่าย รสชาติดีอร่อย ทานแล้วดีต่อใจ ถือว่าเป็น อีกหนึ่งผลไม้ป่า ที่อยู่คู่กับคนไทย มาเนิ่นนาน รวมถึงมีประโยชน์มากมาย นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณ เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้าน ที่มีส่วนช่วยบำรุง ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้เป็นอย่างดี แต่ผลจะค่อนข้าง หาทานได้ยาก เพราะไม่ค่อยนิยมปลูกกัน ส่วนใหญ่แล้ว จะพบได้มากตามป่า

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเสม็ดแดง

เสม็ดแดงหรือ เสม็ดชุน มีชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium antisepticum ชื่อพ้อง Syzygium gratum จัดเป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ที่มีขนาดกลาง และมีเรือนยอดเป็นพุ่มกลม ออกดอกสีขาว และออกเป็นช่อ แบบช่อกระจุกตามซอกใบ หรือบริเวณปลายกิ่ง ซึ่งจะออกดอก ช่วงเดือนมีนาคม ไปจนถึงเดือนเมษายน [1]

ผลไม้เสม็ดแดง เป็นผลไม้ป่า ที่รับประทานได้ ซึ่งผลจะมีลักษณะ เป็นลูกกลมๆ เล็กๆ คล้ายกับผลของ ลูกหวายป่า และมีรสชาติเหมือนกัน คือมีรสชาติ เปรี้ยวอมฝาดนิดๆ แต่อร่อย แต่ผลเสม็ด จะมีสีขาวสวยงาม

ถิ่นกำเนิดของเสม็ดแดง

ผลไม้เสม็ดแดง ซึ่งมีถิ่นกำเนิด ในทวีปเอเชีย บริเวณเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้มีการกระจายพันธุ์ ไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ ประเทศอินเดีย, ประเทศพม่า, ประเทศไทย, ประเทศลาว, ประเทศกัมพูชา และประเทศมาเลเซีย รวมไปถึง ประเทศฟิลิปปินส์ ถ้าในในประเทศไทย จะพบได้มาก ทางป่าชื้น ได้แก่ ป่าดิบแล้ง, ป่าชายเลน, หรือตามที่โล่งแจ้ง เป็นต้น [2]

แนะนำ เสม็ดแดง ผลไม้ป่า หาทานได้ยากในปัจจุบัน

เสม็ดแดง

เสม็ดแดง ผลไม้โบราณ หาทานได้ยาก ในปัจจุบัน ซึ่งหลายท่าน อาจจะไม่รู้จัก กับผลไม้ป่าชนิดนี้ ซึ่งเป็นผลไม้ที่มี ประโยชน์ครบถ้วน ตั้งแต่ยอดใบอ่อน, ผลสุก หรือ แม้แต่ต้นเสม็ดแดง ที่สามารถนำมาปลูก เป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงาม และให้ความร่มเย็นเป็นสุข ให้แก่บริเวณ บ้านเรือน หรือที่อยู่อาศัย ได้อีกด้วย เป็นผลไม้ที่คู่ควร ในการอนุรักษ์ และช่วยกันรักษา ผลไม้ป่าชนิดนี้ ให้อยู่คู่กับ คนไทยไปตลอดกาล

ลักษณะทั่วไปของเสม็ดแดง

ผลไม้ป่าเสม็ดแดง มีลักษณะทั่วไป ทางพฤกษศาสตร์ ดังต่อไปนี้

  • ลำต้น : จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูง ประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นจะสีแดง เปลือกของลำต้นจะบาง และซ้อนกันหลายชั้น รวมถึงแตกกิ่งก้านมาก
  • ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบเรียงตรงข้ามกัน ใบจะมีลักษณะ เป็นรูปทรงรี หรือรูปทรงไข่ ปลายใบแหลม โคนใบจะแหลม ส่วนขอบใบจะเรียบ ใบอ่อนจะมี สีน้ำตาลปนชมพู ผิวใบด้านล่างจะเกลี้ยง ส่วนใบแก่จะมีสีเขียวเข้ม ผิวด้านบนเกลี้ยงมันวาว
  • ดอก : จะออกดอกช่อ แบบช่อ ช่อหนึ่งจะยาว 1.5-3 เซนติเมตร และจะออกดอกตามซอกใบ หรือที่ปลายยอด ดอกจะมีสีขาว
  • ผล : ผลมีลักษณะกลม มีสีขาว ฐานผลนูนออกมาและบุ๋ม ผลรับประทานได้ มีรสชาติเปรี้ยวอมฝาด
  • เมล็ด : ภายใน 1 ผล จะมีเมล็ดกลมๆ 1 เมล็ด และเมล็ด มีสีน้ำตาล

ที่มา: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ [3]

ประโยชน์ของผลไม้ เสม็ดแดง

ประโยชน์ทั่วไป

  • ผลสุกมีรสชาติ หวานอมเปรี้ยวนิดๆ ทานแบบผลสดได้เลย หรือจะทานเล่นในยามว่าง นอกจากจะทานผลสดได้แล้ว ยังสามารถ นำไปทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น โดยการนำเนื้อของผล ไปปั้นดื่ม ทำให้เย็นชื่นใจ รวมถึงยอดใบอ่อน สามารถนำไป ทานเป็นผักสด หรือผักลวก จิ้มทานคู่กับน้ำพริก หรือจะนำไปแกง ก็ได้เช่นกัน ถือว่าอร่อยทุกเมนู
  • มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร โดยการนำ ใบสด มาขยี้ให้ละเอียด จะมีน้ำมัน และมีกลิ่นคล้ายการบูร ซึ่งคนโบราณ จะนำมาใช้ เป็นน้ำมันนวดแก้เมื่อย, แก้ปวดบวม, แก้หมัด รวมถึงใช้ชุบสำลีอุดฟัน จะช่วยแก้ปวดฟันได้ แล้วถ้านำมาทาน เป็นยาขับเสมหะ หรือขับลม ในน้ำมันใบเสม็ดแดง ยังมีฤทธิ์ช่วยฆ่า เชื้อจุลินทรีย์ ที่ทำให้เกิดสิวได้ดีอีกด้วย

สามารถคลิกอ่าน เนื้อหาเพิ่มเติม เกี่ยวกับ เรื่องน่ารู้ของ “เสม็ดชุน” ได้ที่ royalparkrajapruek

สรุป เสม็ดแดง ผลไม้ดีมีประโยชน์

สรุป เสม็ดแดง คือผลไม้ป่า อีกหนึ่งชนิด ที่เกิดขึ้นในป่าเอง ตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีชื่อเรียก ที่หลากหลาย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่ผลรับประทานได้ มีรสชาติ เปรี้ยวอมฝาด ปัจจุบันจะสามารถ พบได้ตามป่าดิบแล้ง และจะพบได้บ้าง เป็นบางพื้นที่ ในแหล่งชุมชน ตามท้องถิ่นต่างๆ แต่อาจจะไม่มากนัก ซึ่งจัดได้ว่าเป็นผลไม้ ที่อยู่คู่กับคนไทย มาเนิ่นนาน ที่มีสรรพคุณเป็นยา และมีประโยชน์ ต่อคนไทย

อ้างอิง

[1] wikipedia. (June 17, 2024). เสม็ดแดง. Retrieved from wikipedia

[2] disthai. (2017-2024). เสม็ดชุน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย. Retrieved from disthai

[3] wisdomking. (2020-2024). คลังต้นไม้แห่งการเรียนรู้. Retrieved from wisdomking