ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

การเกิด เกล็ดหิมะ หยาดน้ำแข็งจากธรรมชาติฤดูหนาว

เกล็ดหิมะ

เกล็ดหิมะ ความงดงามจากธรรมชาติ มาพร้อมกับลมหนาว และอุณหภูมิติดลบ ถึงแม้เมืองไทยของเราจะเป็นเมืองร้อน มีอากาศหนาวแต่ไม่มีหิมะตก แต่หลายคนน่าจะเคยเห็น เคยสัมผัสจากต่างประเทศกันมาแล้ว น่าจะดีไม่น้อยถ้าเรารู้ว่า เกล็ดหิมะเกิดมาจากอะไร มีหน้าตาแบบไหน และควรไปเที่ยวที่ไหนบ้าง

วิทยาศาสตร์น่ารู้แหล่งกำเนิด เกล็ดหิมะ

เกล็ดหิมะ (Snowflake) ผลึกน้ำแข็งขนาดพอเหมาะ สามารถรวมเข้ากับผลึกอื่นได้ เป็นน้ำที่ตกลงมาจากชั้นบรรยากาศของ ดาวโลก ตามแรงโน้มถ่วง ในรูปแบบของหิมะ โดยน้ำแข็งแต่ละเกล็ด มีการก่อตัวขึ้นรอบอนุภาคขนาดเล็ก

ภายในมวลอากาศภาวะอิ่มตัวเกิน จากการดึงดูดหยดน้ำของเมฆที่เย็นจัด ทำให้น้ำแข็งตัวจนรวมตัวเป็นผลึก และเมื่อเกล็ดน้ำแข็งเคลื่อนที่ ผ่านโซนอุณหภูมิกับความชื้น จะเกิดรูปร่างซับซ้อนแตกต่างกัน [1]

โครงสร้างและช่วงอุณหภูมิ

ลักษณะของเกล็ดหิมะ ถูกกำหนดด้วยอุณหภูมิและความชื้น โดยมีรูปร่างเป็นสมมาตร แต่ไม่สมบูรณ์แบบ อย่างเช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือหกเหลี่ยม พบการเกิดขึ้นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เกล็ดหิมะเป็นสีขาว จากการสะท้อนแสง แบบกระจายแสงในสเปกตรัมทั้งหมด

เกล็ดหิมะ มีกี่แบบ?

ปรากฏการณ์ เกล็ดหิมะตกทั่วไปที่เราเคยเห็น จากภาพถ่ายมาโคร มักเป็นรูปแบบนี้ ❆ แต่เมื่อหิมะมีการเคลื่อนตัวในชั้นบรรยากาศ ความชื้น และสภาพแวดล้อมต่างกัน จึงทำให้เกล็ดหิมะเกิดรูปร่างต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • เกล็ดปริซึมอย่างง่าย (Simple Prisms) : รูปร่างพื้นฐานของเกล็ดหิมะ มีตั้งแต่ปริซึมหกเหลี่ยมธรรมดา ไปจนถึงปริซึมหกเหลี่ยมแผ่นบาง โดยมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
  • เกล็ดใบมีดดวงดาว (Starry Blades) : ต้นแบบของหิมะ ที่นิยมใช้ในภาพวาด ซึ่งเป็นผลึกน้ำแข็งแผ่นบาง มีแขนงแยกออกเป็น 6 แขนง มีความกว้างพอสมควร ที่จะก่อตัวเป็นรูปดาว ส่วนมากขอบของแขนงจะสมมาตร ทำให้เป็นรูปร่างที่มีความพิเศษและสวยงาม
  • เกล็ดแขนงดาวฤกษ์ (Stellar Dendrites) : แขนงของเกล็ดหิมะรูปร่างต้นไม้ คล้ายกับกิ่งก้านของต้นไม้ที่มีหนาม โดยจะแตกแขนงออกจากกึ่งกลาง มีแขนงหลัก 6 แขนง และแขนงย่อยอีกหลายแบบ หากมองโดยรวมแล้ว จะคล้ายกับดวงดาวตอนเปล่งแสง
  • เกล็ดแท่งกลวงและเข็ม (Hollow Columns And Needles) : รูปร่างแบบหกเหลี่ยม หรือบางครั้งอาจมีรูปทรงกรวยตรงปลาย ทำให้ดูเหมือนกับแท่งกลวง ๆ ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ก่อตัวขึ้นที่อุณหภูมิ -5 °C
  • เกล็ดสามเหลี่ยม (Triangular Crystals) : ผลึกน้ำแข็งแบบสามเหลี่ยมสมมาตร โดยการก่อตัวจะเป็นสามเหลี่ยม มากกว่าหกเหลี่ยม เกิดขึ้นในอุณหภูมิ -2 °C เท่านั้น
  • เกล็ดกระสุนดอกกุหลาบ (Bullet Rosette) : การก่อตัวแบบนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะ ผลึกน้ำแข็งที่ก่อตัวหลายรูปแบบในทิศทางสุ่ม และเมื่อเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ก็จะกลายเป็นเกล็ดแท่ง ที่มีรูปร่างตรงหัวเหมือนกระสุน และตรงปลายเหมือนกุหลาบ
  • เกล็ดหิมะเทียม (Artificial Snow) : เกล็ดหิมะที่ไม่ได้ก่อตัว ตามกระบวนการทางธรรมชาติ และไม่มีรูปร่างเป็นเรขาคณิต หรือสมมาตร โดยหิมะเทียมเกิดจากเครื่องจักรผลิตหิมะ เพื่อช่วยให้นักสกีปรับเปลี่ยนทางลาดได้ดีมากขึ้น

ที่มา: รูปร่างและชนิดของเกล็ดหิมะ [2]

รอบรู้เรื่อง เกล็ดหิมะ ในชีวิตประจำวัน

เกล็ดหิมะ

เคยสงสัยกันหรือไม่? เวลาหิมะตกที่ต่างประเทศ แล้วผู้คนดำเนินชีวิตกันอย่างไร แน่นอนว่าหิมะเป็นเกล็ดน้ำแข็งที่สวยงาม ทำให้อากาศหนาวเย็น เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และการทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาพายุหิมะ หิมะถล่ม และปัญหาการสัญจร ที่มีทั้งความเปียกและลื่น รวมถึงปัญหาสุขภาพอีกด้วย

ปักหมุดประเทศใกล้ไทยมีหิมะตก

แม้ว่าประเทศไทยของเรา จะไม่มีโอกาสได้สัมผัสอากาศหนาวจากหิมะตก แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะยังมีประเทศใกล้เคียงอีกหลายประเทศ ที่สามารถท่องเที่ยวได้ สัมผัสกับหิมะแบบเย็นฉ่ำ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศญี่ปุ่น (ธันวาคม – กุมภาพันธ์), ประเทศจีน แนะนำ ภูเขาหิมะมังกรหยก (มกราคม – กุมภาพันธ์)

ประเทศเกาหลีใต้ แนะนำ หุบเขาน้ำแข็งชองซง (พฤศจิกายน – มกราคม), ประเทศเกาหลีเหนือ (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์), ประเทศเวียดนาม (ธันวาคม – กุมภาพันธ์), ประเทศอินเดีย (มิถุนายน – ตุลาคม) และ ประเทศเนปาล แนะนำ เทือกเขาหิมาลัย (ธันวาคม – กุมภาพันธ์) [3]

ถามมาตอบไปกับ เกล็ดหิมะ

  • เกล็ดหิมะเกิดจากอะไร : ละอองน้ำในชั้นบรรยากาศ มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เกิดการควบแน่นและแข็งตัว กลายเป็นผลึกน้ำแข็ง
  • หิมะตกที่อุณหภูมิเท่าไร : หิมะตกเมื่อมีสภาพภูมิอากาศต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
  • หิมะละลายเป็นอะไร : หิมะละลายกลายเป็นน้ำ เนื่องจากอุณหภูมิภายนอกไม่ต่ำพอ
  • ฝนหิมะและลูกเห็บต่างกันอย่างไร : ฝนหิมะมาจากไอน้ำในชั้นบรรยากาศ ระเหิดเป็นผลึกน้ำแข็ง เกิดขึ้นเฉพาะสภาวะหนาวเย็นจัด มีความโปร่งและเนื้อนุ่ม สำหรับลูกเห็บ เป็นหยาดน้ำฟ้าที่ถูกพัดพาตามแรงโน้มถ่วง เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำ จับตัวแข็งเป็นก้อน และมีขนาดใหญ่กว่า
  • เพราะเหตุใดจึงไม่มีหิมะในไทย : เพราะเป็นสภาพอากาศเขตร้อน และตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ใกล้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งอุณหภูมิในฤดูหนาว ไม่ลดลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้ยากต่อการก่อตัวเป็นหิมะ

สรุป เกล็ดหิมะ “Snowflake”

เกล็ดหิมะ ผลึกน้ำแข็งขนาดพอดี จากชั้นบรรยากาศของโลก เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศ ความชื้น และสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน จึงเกิดเป็นเกล็ดน้ำแข็งหลายรูปร่าง มีความโปร่ง เนื้อสัมผัสนุ่ม พบได้ในหลายประเทศช่วงฤดูหนาว ที่มีอุณหภูมิติดลบกว่า 0 องศาเซลเซียส

อ้างอิง

[1] wikipedia. (November 26, 2024). Snowflake. Retrieved from wikipedia

[2] phywe. (December 21, 2023). รูปร่างและชนิดของเกล็ดหิมะ. Retrieved from phywe-thailand

[3] insurverse. (March 13, 2024). 7 ประเทศใกล้ไทยมีหิมะ. Retrieved from insurverse