ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
อุกกาบาตพุ่งชน ลองจินตนาการดูเอาว่า คุณกำลังมองท้องฟ้าโปร่งยามเช้าที่สดใส แต่ทันใดก็ต้องสะดุดตากับจุดสีเหลืองเหมือนลูกไฟ อยู่ปลายขอบฟ้า เมื่อเพ่งมองดูดี ๆ กลับเห็นว่าจุดนั้นมีขนาดใหญ่มหึมาขึ้นเรื่อย ๆ แถมยังพุ่งเข้ามาอย่างรวดเร็ว แบบไม่ทันตั้งตัว ใช่แล้วนั่นคืออุกกาบาต หายนะกำลังมาถึงแล้ว!
อุกกาบาตพุ่งชน (Meteorite Impact) วัตถุที่มีสถานะเป็นหิน โดยมีต้นกำเนิดจากอวกาศ และตกลงสู่พื้นผิวของดาวเคราะห์ หรือ ดวงจันทร์ เมื่อวัตถุเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ จะก่อให้เกิดแรงเสียดทาน แรงกดดันมหาศาล และปฏิกิริยาทางเคมี ส่งผลให้วัตถุมีอุณหภูมิร้อน และแผ่พลังงานออกมา [1]
วัตถุมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง 40 – 70 กิโลเมตร / ชั่วโมง หากวัตถุลุกไหม้เป็นแสงสว่าง จะเรียกว่าดาวตก แต่ถ้าหากตกลงถึงพื้น จะเรียกว่าอุกกาบาต สำหรับอุกกาบาตขนาดเล็ก คือหินที่อวกาศเผาไหม้เกือบหมด และสำหรับอุกกาบาตขนาดใหญ่ คือหินที่อวกาศเผาไหม้หมดแล้ว ตกลงมาเกิดหลุมอุกกาบาต
การค้นพบอุกกาบาต พบว่าถูกจำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ดังต่อไปนี้
ปัจจุบันมีการจำแนก อุกกาบาตสมัยใหม่ ตามโครงสร้าง องค์ประกอบทางเคมี ไอโซโทป และแร่วิทยา โดยอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร จัดอยู่ในประเภท ไมโครเมทิออไรต์ (อุกกาบาตที่ละลายจนหมด ในชั้นบรรยากาศ และตกลงสู่พื้นโลก เป็นละอองที่ดับแล้ว)
เหตุการณ์อุกกาบาตชนโลกครั้งใหญ่ ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปเมื่อ 66 ล้านปีก่อน โดยนักวิทยาศาสตร์ ค้นพบว่าการพุ่งชน ไม่ได้เกิดแค่ครั้งเดียว! แต่เกิดขึ้นถึง 2 ครั้ง ในเวลาใกล้เคียงกัน ของช่วงสิ้นสุดยุคครีเทเชียส คือ หลุมอุกกาบาตนาเดียร์ (Nadir Crater) และ หลุมอุกกาบาตชิกซูลุบ (Chicxulub Crater)
โดยมองเห็นดวงไฟชัดเจน ที่มีขนาดใหญ่กว่า ดวงอาทิตย์ 24 เท่า แผ่ความร้อนมหาศาล ทำให้บริเวณนั้นลุกไหม้ในพริบตา และพุ่งชนสู่พื้นทะเล เกิดเสียงระเบิดดัง คลื่นสึนามิ และ แผ่นดินสั่นไหว จากผลวิจัยพบว่า หินอวกาศที่เกิดหลุมนาเดียร์ มีขนาดราว 450 – 500 เมตร และพุ่งชนด้วยความเร็ว 72,000 กิโลเมตร / ชั่วโมง [2]
สำหรับเรื่องราวการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เป็น ภัยพิบัติธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เกิดขึ้นมาแล้ว 5 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้ง ก็เป็นการสูญเสียสิ่งมีชีวิต มากกว่า 75% และเหลือเพียงสิ่งมีชีวิตไม่กี่สายพันธุ์ อย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์น้ำ และสัตว์เลื้อยคลาน ต่างก็มีวิวัฒนาการ ที่เพิ่มโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น
โลกของเราจะปลอดภัยจากอุกกาบาต ประมาณ 1,000 ปี โดยการศึกษาดาวเคราะห์น้อยรอบโลก ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 กิโลเมตร ในรัศมี 50 ล้านกิโลเมตร คำนวณความน่าจะเป็น พบว่าไม่มีข้อกังวลต่อการกระแทก แต่ประเมินความเสี่ยงไว้อีก 1,000 ปีข้างหน้า จะมีดาวเคราะห์น้อย 1994 PC1
ระยะการโคจรเข้ามาใกล้กับโลก 1.9 ล้านกิโลเมตร ที่มีขนาดใหญ่ 1.1 กิโลเมตร โดยจะมีโอกาสเกิดขึ้น 0.0151% เนื่องจากว่ายังมีวัตถุอื่นในวงโคจร ที่สามารถเข้ามาใกล้โลกได้อีกเช่นกัน ปัจจุบันองค์การน่าซ่าระบุว่า การพุ่งชนจะเกิดขึ้นทุก 700,000 ปี ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตล้มตายเป็นจำนวนมาก [3]
อุกกาบาตพุ่งชน วัตถุหินในอวกาศ พุ่งผ่านชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ ด้วยความเร็วสูง เกิดแรงเสียดทาน และแรงกดดันมหาศาล จนเกิดการลุกไหม้ แล้วตกลงสู่พื้นผิว เป็นหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ หรืออาจมีประสิทธิภาพการทำลายล้างสูง ทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ได้เช่นกัน
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.