ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ทดสอบ อาการแพนิค เป็นแบบไม่รู้ตัว เอาชนะได้อย่างไร

อาการแพนิค

อาการแพนิค เคยรู้สึกกันไหมว่า ตัวเองมีความวิตกกังวล ร่างกายปั่นป่วนผิดปกติ ในสถานการณ์ตึงเครียด ช่วงเวลาคับขัน จนตระหนกตกใจ ไปแบบไม่รู้ตัว เรียกว่าเป็นโรคอินเทรนด์ ที่หลายคนให้ความสนใจมากในปัจจุบัน และนับวันก็ยิ่ง มีคนเป็นกันมากขึ้น หรือแค่คิดไปเองกันแน่

อาการแพนิค ภัยรอบตัวเตรียมรับมือให้ถูกทาง

ภัยเงียบใกล้ตัว ที่สามารถเกิดขึ้นได้ กับบุคคลทั่วไป แบบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำกับ อาการแพนิค อาการที่หลายคน มักได้ยินกันอยู่เป็นประจำ ความจริงแล้ว อันตรายแค่ไหน หากสภาวะนี้เกิดกับตัวคุณเอง จะมีการรับมืออย่างไร เราจะพามาทำความเข้าใจให้ละเอียด ถึงสาเหตุ อาการ รวมถึงการรักษา ให้หายไปพร้อมกัน

อาการแพนิค คืออะไรมีคำตอบ

อาการแพนิค

อาการแพนิค (Panic Disorder) [1] คือ โรคจิตเวชชนิดหนึ่ง เป็นภาวะตื่นตระหนกสุดขีด วิตกกังวลแบบกะทันหัน หรือ กลัวขั้นรุนแรง ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ แบบไม่ทราบเหตุผล ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ ตลอดเวลากับทุกคน อาจทำให้มีผลต่อ การดำเนินชีวิตประจำวัน

โดยเกิดจากฮอร์โมน เปลี่ยนฉับพลัน ส่งผลให้ ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ทำงานผิดปกติ เกิดอาการร่วมหลายอย่าง ที่มีสาเหตุจาก สุขภาพร่างกาย กรรมพันธุ์ หรือ การใช้สารเสพติด ส่วนทางด้านจิตใจ มักมาจาก เหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิต จนเกิดการเสียสมดุล สารเคมีในสมองตามมาด้วย

อาการแพนิค จะเกิดขึ้นไม่ทันตั้งตัว ไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อน มีความรุนแรง กว่าอาการเครียด หรือ อาการหวาดกลัวแบบทั่วไป ซึ่งเกิดขึ้นเป็นระยะเวลา 10 – 20 นาที หรือบางคน เกิดนานหลายชั่วโมงก็มี ส่งผลแน่นอนกับ ความไม่มั่นใจ การตัดสินใจลดลง เพราะไม่สามารถ ควบคุมตัวเอง ได้เหมือนเดิม

การแสดงออกของ อาการแพนิค จะเป็นอาการ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจไม่ออก ร่างกายชาขยับไม่ได้ เวียนหัว อยากอาเจียน มีเหงื่อออกมาก อาการหอบเจ็บหน้าอก ร้อนวูบวาบ หรือ หนาวเฉียบพลัน หากปล่อยไว้นาน อาจรุนแรงมากขึ้น ทั้งยังนำไปสู่โรคแทรกซ้อนได้ อย่างโรคซึมเศร้า เป็นต้น

แนวทางการดูแลตัวเองจาก อาการแพนิค

อาการแพนิค สามารถรักษาให้หาย และ มีอาการลดลงได้ ถ้าหากทำอย่างถูกต้อง ซึ่งต้องอยู่ในการดูแล ของแพทย์เฉพาะทาง โดยแต่ละวิธีการ จะขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเองว่า ต้องการรักษาแบบไหน ดูจากประวัติการรักษาโรค ความรุนแรง รวมถึงความพร้อม ทางด้านจิตใจ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • การบำบัดจิต : แนวทางการรักษา ที่จะทำให้ผู้ป่วย เข้าใจตัวเองมากขึ้น โดยจะบำบัดทั้ง กระบวนการคิด และ พฤติกรรม ที่ไม่ให้ก่อให้เกิด อันตรายในชีวิต
  • ยารักษาโรค : รักษาได้จากสาเหตุ ความผิดปกติ ของพันธุกรรม และ ประสาทสมอง กินยาระงับเพื่อไม่ให้กำเริบ โดยจะเป็นยา ต้านอาการซึมเศร้า กลุ่ม Benzodiazepines กับยาต้านอาการชักเกร็ง สามารถเห็นผลดีขึ้น ภายใน 6 – 8 สัปดาห์
  • อาหารควรเลี่ยง : อาหารที่เป็นตัวกระตุ้น อาการแพนิค ให้เกิดความกังวล กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย หรือ อาการซึมเศร้า ควรหลีกเลี่ยง เครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ ขนมหวาน ลูกอม อาหารแปรรูป และ ครีมเทียม

สรุป อาการแพนิค ไม่อันตรายแต่ต้องรักษาก่อนสาย

อาการแพนิค อาการของคนป่วยทางจิต แต่ไม่ใช่คนบ้าแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าจะไม่อันตราย ถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็นับว่ามีผลกระทบกับจิตใจ และ ร่างกายเป็นอย่างมาก อาจทำให้กลัว การเข้าสังคมไปเลย หากรู้ตัวเองแล้ว รักษาให้ถูกทาง ดูแลสภาพจิตใจให้เข้มแข็ง ก็จะมีความสุขได้ ในทุกวันแบบคนปกติ

อ้างอิง

[1] Wikipedia. (October 16, 2020). โรคตื่นตระหนก. Retrieved from Wikipedia