ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

หมากหวาย ผลไม้ป่าลูกเล็ก มีประโยชน์มหาศาล

หมากหวาย

หมากหวาย หรือ ลูกหวายป่า เป็นพืชไม้เลื้อย ในตระกูลปาล์ม ซึ่งจะมีอยู่ หลายสายพันธุ์ด้วยกัน และเป็นต้นหวาย ที่ขึ้นเองในป่า ตามธรรมชาติ สามารถพบได้ ทั่วทุกภาค ในประเทศไทย โดยจะพบได้มาก ทางภาคเหนือ ซึ่งพบได้ตามป่าทั่วไป ถือว่าเป็นผลไม้ป่า ที่อยู่คู่กับคนไทย มานานแล้ว ซึ่งคนไทยได้ ใช้ประโยชน์จาก ผลไม้ป่าชนิดนี้ ได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะทางด้าน งานหัตถกรรม การจักสาน เครื่องใช้ในครัวเรือนต่างๆ ที่ทนทาน และมีคุณภาพ

หมากหวาย กับข้อมูลทั่วไป

หมากหวาย เป็นผลไม้ ที่นอกจาก ผลจะรับประทาน แล้วดีต่อสุขภาพแล้ว ยังเป็นพันธุ์ไม้ ที่มีความสำคัญต่องาน ด้านหัตถกรรม เป็นอย่างยิ่ง แถมยังช่วยสร้าง รายได้ให้แก่ชาวบ้าน หรือชาวเกษตร ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยจะนิยมนำลำต้น มาทำการ จักสานเป็นหลัก เนื่องจากลำต้นมีความเหนียว ที่ให้ความแข็งแรง และทนทาน ผลงานทุกชิ้น ที่ทำออกมานั้น ถือว่าเป็นชิ้นงาน ที่มีคุณภาพ และมีอายุ การใช้งานได้ยืนยาว

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหมากหวาย

หมากหวายเป็นพืช ที่อยู่ในเผ่าหวาย Calameae พบได้ทั่วไป ในเขตร้อน ของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโดยทั่วโลก จะมีต้นหวาย เกือบ 600 ชนิด ถ้าเฉพาะในประเทศไทย จะพบต้น ได้ประมาณ 60 ชนิด ได้แก่ หวายดง, หวายน้ำผึ้ง และ หวายโคก เป็นต้น ซึ่งจะมีลักษณะ โดยทั่วไปคือ เป็นพันธุ์ไม้รอ ในตระกูลปาล์ม ผลรับประทานได้ ซึ่งผลเปรี้ยวอมฝาด ผลลูกอ่อน จะมีเปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ส่วนผลแก่เปลือก จะมีสีเหลือง [1]

หมากหวาย เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย

หมากหวายมีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Calamus sp. ซึ่งเป็นเถารอเลื้อย และเป็นผลไม้จากป่า ที่มีความสำคัญ รองมาจากไม้ใช้สอย ส่วนใหญ่แล้ว จะใช้ประโยชน์ ในการทำเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงงานจักสาน และงานหัตถกรรม ปัจจุบันหมากหวาย จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ช่วยเสริมสร้างรายได้ ให้กับชาวชนบท จากการผลิต เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่นอกจากจะ ผลิตเพื่อเป็นการค้าขาย ภายในประเทศแล้ว ยังมีส่งออก นอกประเทศ อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อ ประเทศไทย ทำให้มีรายได้เข้า ปีละมากๆ รวมถึงมีแนวโน้ม ที่จะได้ส่งออก มากขึ้นทุกปี แต่จะต้องปลูกต้นหวาย และมีการขยายพันธุ์ ให้เพียงพอกับความต้องการ ของจำนวนของ ที่จะต้องทำเพื่อส่งออก รวมถึงจะต้อง มีการศึกษา ถึงการแปรรูปวัตถุดิบ ของต้นหวาย เพื่อเพิ่มมูลค่า ถือว่าเป็น การสร้างรายได้ ให้กับชาวเกษตรกรไทย และผู้ที่ปลูกต้นหวาย ในชุมชนได้อีกด้วย

ที่มา: หวาย [2]

หมากหวาย ผลไม้แล้วดี อุดมไปด้วยสรรพคุณ

หมากหวาย

หมากหวาย เป็นผลไม้ป่า ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนจริงๆ เพราะทุกส่วนของลำต้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หมด ซึ่งหมากหวาย เป็นที่รู้จัก ของชาวบ้านในพื้นที่ดี และในปัจจุบัน จะนิยมปลูกกัน อย่างแพร่หลาย สามารถพบได้ ง่ายกว่าผลไม้ป่า ชนิดอื่นๆ แต่จะต้อง มีความระมัดระวัง เป็นพิเศษ ในเรื่องของหนามที่แหลมคม เนื่องจากลำต้น จะรอบล้อมไปด้วยหนาม ถือว่าอันตรายมาก หากเผลอไปโดนใส่ จนได้รับบาดเจ็บ จะทำให้เจ็บ และปวดไปอีกหลายวันเลย

ลักษณะทั่วไปของ หมากหวาย

หมากหวายเป็นผลไม้ รับประทานได้ และลำต้นสามารถ นำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างหลากหลาย จะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดังต่อไปนี้

  • ลำต้น : ลำต้นจะมีขนาดเล็ก ไปจนถึงใหญ่ ลำต้นจะถูกห่อหุ้ม ด้วยกาบใบ และลำต้น มีความสูง ได้มากกว่า 2 เมตร บริเวณโคนต้น จะมีขนาดใหญ่ ต้นอ่อนมีสีขาวครีม สามารถนำไป ประกอบอาหารได้ ลำต้นจะเป็นสีเขียว และมีหนามที่แหลมยาว
  • ใบ : ใบจะประกอบ ด้วยกัน 3 ส่วน คือ กาบใบ ที่แทงออกบริเวณ ข้อหุ้มสลับกัน ตลอดลำต้น เมื่อแก่จะหลุดร่วง และก้านใบ จะมีหนาม ที่เกิดแตกต่าง กันตามพันธุ์แต่ละชนิด รวมถึงทางใบ จะเป็นใบย่อย ที่มีลักษณะ โค้งลงล่างบริเวณปลาย มักจะพบหนามเยอะ ช่วงบริเวณด้านล่าง รวมถึงบางสายพันธุ์มีบริเวณด้านบนด้วย
  • ดอก : จะออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกจะมี ลักษณะเป็นพวงสีขาว ช่อดอกที่แทงออกใหม่ จะมีปลีหุ้ม มองเห็นลูกหวาย เป็นตุ่มสีขาวนวลภายใน
  • ผล : ผลจะมีลักษณะกลม และมีหนาม คล้ายผลระกำ ผลอ่อน จะเป็นสีเขียวอ่อน ถ้าเมื่อสุก จะเป็นสีเหลือง หรือ สีน้ำตาล ผลสุกจะมีรส เปรี้ยวอมหวานนิดๆ
  • เมล็ด : ภายในหนึ่งผล จะมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดจะมีขนาดเล็ก และเมล็ดเป็นสีน้ำตาล

ที่มา: ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ [3]

สรรพคุณและประโยชน์ของ หมากหวาย

สรรพคุณทั่วไป

  • เป็นยาพื้นบ้านล้านนา โดยการใช้ยอดอ่อน เคี้ยวทาน จะบรรเทา อาการปวด จากพิษแมลง สัตว์กัดต่อย ซึ่งถ้าหากทานผล โดยทันที จะช่วยให้ได้ผลดี และอาการปวดดีขึ้น
  • ผลรับประทาน แบบผลไม้สด จะอุดมไปด้วยแคลเซียม และวิตามินซี ใน 100 กรัม ที่ให้พลังงานได้มากถึง 79 แคลอรี และให้คาร์โบไฮเดรต 18.6 กรัม

ประโยชน์ที่คุณอาจไม่รู้

  • ลำต้นของผลไม้ชนิดนี้ สามารถใช้ประโยชน์ ได้ในหลายๆ อย่างด้วยกัน ได้แก่ การนำมาจักสาน เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น หมวก, ตะกร้าผ้า, โต๊ะ, ม้านั่ง, เตียงนอน, เป็นต้น
  • ลำต้นที่มีความเหนียว และทนทาน จะนิยมใช้จักสาน เป็นวัสดุก่อสร้างได้แก่ ฝาผนัง, หน้าต่าง หรือ ฝ้าเพดาน เป็นต้น

สามารถคลิกอ่าน เนื้อหาเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ต้นหวาย ได้ที่ pkk.mcu

สรุป หมากหวาย ผลไม้ป่า มีวิตามินซีสูง 

สรุป หมากหวาย จัดเป็นพืชไม้เลื้อย ในตระกูลปาล์ม ที่ต้นขึ้นเองในป่า ตามธรรมชาติ สามารถพบได้ ทั่วทุกภาค ในประเทศไทย ซึ่งจะพบได้ตามป่าทั่วไป ถือว่าเป็นผลไม้ป่า ที่อยู่คู่กับคนไทย มาเนิ่นนาน โดยผลจะรับประทาน ผลสุกจะมีรสชาติ เปรี้ยวอมหวานนิดๆ ทานแล้วดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่องาน ด้านหัตถกรรม และช่วยส่งเสริม รายได้ให้แก่ ประชากรชาวไทย ได้มีอาชีพที่มั่น และยั่งยืน อีกด้วย

อ้างอิง

[1] wikipedia. (January 09, 2024). หวาย. Retrieved from wikipedia

[2] hkm.hrdi. (January 26, 2016). หวาย. Retrieved from hkm.hrdi

[3] bloggang. (May 08, 2018). ประโยชน์ของหวายที่คุณอาจไม่รู้. Retrieved from bloggang