ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

หนุมานนั่งแท่น ว่านคุณไสย และว่านมงคล

หนุมานนั่งแท่น

หนุมานนั่งแท่น จัดเป็นว่าน ที่เป็นทั้งว่านคุณไสย ด้วยการนำส่วนหัวใต้ดินขุดไปแกะสลักทำคุณไสย และเสกคาถากลายเป็น ว่านมงคล ก็ได้เช่นกัน แค่นี้ก็น่าสนใจแล้ว สรรพคุณ และพิษก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เรามาทำความรู้จักเจ้าต้นหนุมานนั่งแท่น ดอกสีแดงสุดสวยกันเลย

แนะนำข้อมูล

ชื่อ: หนุมานนั่งแท่น
ชื่อสามัญ: Gout Plant, Guatemala Rhubarb, Fiddle-leaved Jatropha
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha podagrica Hook.
วงศ์: EUPHORBIACEAE (ยางพารา)
ชื่ออื่นๆ: หัวละมานนั่งแท่น (ประจวบคีรีขันธ์), ว่านเลือด (ภาคกลาง), ว่านหนุมาน, ว่านหนูมานนั่งแท่น เป็นต้น
ถิ่นกำเนิด: ในทวีปอเมริกากลาง

ที่มา: วิถีชาวบ้าน ต้นหนุมานนั่งแท่น [1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นหนุมานนั่งแท่น

หนุมานนั่งแท่น เป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 2.5 เมตร
ลำต้น: มีลักษณะพองที่โคน
ใบ: เป็นรูปไข่กว้าง ถึงรูปไข่กลับ ก้านใบยาวประมาณ 10 – 20 cm.
ดอก: จะแยกเพศออกเป็นช่อกึ่งเชิงหลั่น ยาวได้ถึง 26 cm. แกนช่อดอกยาวถึง 20 cm. ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงรูปไข่กว้าง กลีบดอกรูปไข่กว้าง ฐานรองดอกรูปโถ เกสรเพศผู้ยาว 6 – 8.5 มม. ก้านชูเกสรจะเชื่อมกันที่โคน ดอกเพศเมียนั้น จะมีกลีบเลี้ยงรูปรี
ผล: ผลมีลักษณะรูปรี มีลักษณะสามพู เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 cm. ปลายมน แตกทั้งแนวตั้งและแนวนอน เมล็ดรูปรี

ที่มา: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ [2]

การขยายพันธุ์ และการปลูก ต้นหนุมานนั่งแท่น

ขยายพันธุ์: โดยการใช้หัวหรือเหง้า
การปลูก: โดยนำดินร่วนปนทราย ปนกับผงอิฐดินเผาทุบให้ละเอียด ตากน้ำค้างทิ้งไว้หนึ่งคืน ผสมใบพืชตระกูลถั่ว หญ้าสับ วางหัวว่านไม่ต้องกลบดินให้หัวโผล่ และให้แสงแดดรำไร และว่าด้วยคาถา “นะ โม พุท ธา ยะ” 3 จบตอนรดน้ำ ตามความเชื่อ ควรปลูกในวันพฤหัสบดี ข้างขึ้น เวลานำไปใช้ ให้บอกกับต้นไม้ ด้วยว่าจะใช้รักษาอะไร

ต้นไม้มงคลแต่ละชนิดนั้นก็จะมีวันมงคลที่ควรปลูกแตกต่างกันออกไป เช่นต้นหนุมานนั่งแท่นควรปลูกในวันพฤหัสบดี ส่วนต้น หมากผู้หมากเมีย ควรปลูกในวันอังคารเป็นต้น

สรรพคุณของหนุมานนั่งแท่น

หัวหรือเหง้า: กินเป็นยาบำรุง พละกำลัง สำหรับผู้ที่ใช้กำลัง แบกหาม หรือทำงานหนัก
เหง้า: เป็นยาฟฟอกโลหิต, ยาสมานแผล และสามารถ นำมาโขลกให้ละเอียดใช้เป็นยาพอก ทาตามข้อมือ ข้อเท้า นวดแก้อาการ เคล็ดขัดยอก
น้ำยาง: ใช้เป็นยาทารักษาฝี, เป็นยาทารักษาแผลมีดบาด แผลถลอก และใช้ห้ามเลือด ส่วนวิธีใช้ขั้นตอนแรกก็ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด แล้วซับแผล ด้วยสำลีให้แห้ง แล้วเด็ดบริเวณก้านกลางใบ โดยให้เลือดใบที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป เมื่อน้ำยางเริ่มไหลออกมาก็ให้ใช้นิ้วมือรองยางที่หยดลงมา แล้วนำไปป้ายบริเวณแผลวันละ 2-3 ครั้ง แผลก็เริ่มแห้งและตกสะเก็ดภายใน 1-2 วัน

 ประโยชน์ของหนุมานนั่งแท่น

  • ใช้เป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้รักษาแผลในม้า โดยพบว่าได้ยางหนุมานสามารถรักษาแผลให้หายได้ดีกว่าและเร็วกว่ายาเนกาซันท์ ยาปฏิชีวนะ และยาสมานแผลทั่วไป
  • เป็นยาเพียงชนิดเดียว ที่ใช้รักษา บาดแผลเนื้องอกได้
  • รักษาแผลเน่าเปื่อย ให้หายได้โดยใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่ายาอื่นเท่าตัว
  • ด้านของความเชื่อ ในสมัยก่อนนั้น จะมีการนำหนุมานนั่งแท่นมาใช้ใน ทางคงกระพันชาตรี ทำให้ผู้คนรักใคร่ สมหวังสำเร็จดังปรารถนา ฯลฯ โดยมีคาถาต่างๆ กำกับไว้ใช้สำหรับแต่ละด้าน
  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ และว่านมงคลชนิดหนึ่ง ตามบ้าน และวัดทั่วไป
  • ที่มา: หนุมานนั่งแท่น [3]

สารพิษอันโดดเด่นของ หนุมานนั่งแท่น

ทุกส่วนของหนุมานนั่งแแท่นนั้น ล้วนเป็นพิษ โดยเฉพาะ น้ำยางและเมล็ด มีสารออกฤทธิ์ดังนี้

  • สารคลายท็อกซาลบูมิน (toxalbumin) ที่พบในละหุ่ง
  • สารกลุ่มฟอร์บอล (phorbol) ที่พบในสลอด และสบู่ดำ
  • สารแอลคาลอยด์ กลุ่มไกลโคไซด์

พิษของหนุมานนั่งแท่น

หากสัมผัสถูกน้ำยาง จะเกิดอาการดังต่อไปนี้
-แพ้ บวมแดง แสบร้อน

หากรับประทานเมล็ดเข้าไป จะทำให้เกิดอาการ
-ปวดหัว
-คลื่นไส้ อาเจียน
-ท้องเสีย
-กล้ามเนื้อชักกระตุก
-หายใจเร็ว การเต้นของหัวใจผิดปกติ
-ความดันโลหิตต่ำ

สรุป หนุมานนั่งแท่น สรรพคุณหลากหลาย

สรุป หนุมานนั่งแท่น มีสรรพคุณทางยามากมาย สามารถใช้เป็นยาสมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น แก้ไอ ขับเสมหะ และบรรเทาอาการปวด และการปลูกดูแล ก็แค่ชอบแสงแดดจัด และดินที่ระบายน้ำได้ดี ต้องการการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีสันสวยงามอีกต้นที่น่าสนใจมากอีกต้นหนึ่ง ที่ต้องมีไว้ประดับบ้าน

 

อ้างอิง

[1] technologychaoban. (December 19, 2016). วิถีชาวบ้าน ต้นหนุมานนั่งแท่น. Retrieved from technologychaoban

[2] Wikipedia. (July 12, 2023). ลักษณะทางพฤกษศาสตร์. Retrieved from wikipedia

[3] medthai. (July 15, 2020). หนุมานนั่งแท่น. Retrieved from medthai