ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ลำไยเถา ผลไม้อุดมไปด้วย วิตามินและแร่ธาตุ

ลำไยเถา

ลำไยเถา หรือ ลำไยเครือ เป็นชื่อเรียก ที่ชาวบ้านทาง ภาคอีสาน นิยมเรียกกัน จัดเป็นไม้ต้นรอเลื้อย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งไม่เหมือนกับ ลำไยชนิดอื่นๆ ก็คือมีผิวเปลือก สีเขียวอมชมพู ที่มองดูแล้วสวยงาม น่ารับประทาน โดยผลจะมีรสชาติหวาน ถือว่าเป็นผลไม้ ที่อยู่คู่กับชาวไทย มานานแล้ว ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีลำไย หลายสายพันธุ์ด้วยกัน ที่สามารถพบได้ ทั่วทุกภาค ในประเทศไทย

ข้อมูลทั่วไปของ ลำไยเถา

ลำไยเถา ผลไม้ทานง่าย แถมยังมีรสชาติ ที่อร่อย และออกดอก ติดผลให้ได้ทาน ตลอดทั้งปี เป็นผลไม้ที่ ชาวไทยต่างรู้จัก และคุ้นเคยกันดี มีประโยชน์ ต่อชาวไทย ในหลายๆ ด้านด้วยกัน ได้แก่ ผลที่นำมารับประทาน เป็นผลไม้สดๆ การนำไปแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงมีสรรพคุณ เป็นยาที่ช่วยบำรุงร่างกาย ให้มีสุขภาพ ที่ดีและแข็งแรง เป็นต้น

เรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับลำไยเถา

ผลไม้ลำไยเถา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dimocarpus longan Lour. var. obtusus (Pierre) Leenh. และมีชื่อวงศ์ Sapindaceae มีชื่อเรียกท้องถิ่นอื่นๆ ได้แก่ ลำไยเถา หรือ ลำไยเทียน ซึ่งลำไยเถา เป็นพืชถิ่นเดียว (endemic) ของไทย ในธรรมชาติ พบที่จังหวัดชลบุรี แถวป่าใกล้ ชายฝั่งทะเล และบนเกาะ โดยต่อมาได้ มีการนำไปปลูก ตามท้องถิ่นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ รวมไปถึง ประเทศเวียดนามด้วย [1]

ลำไยเถามีถิ่นกำเนิดมาจากไหน

ซึ่งถิ่นกำเนิดของลำไยเถา ได้มีการสันนิษฐานว่า อยู่ในประเทศจีนตอนใต้ และต่อมาได้มีการ แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ ประเทศอินเดีย, ประเทศพม่า, ประเทศฟิลิปปินส์, ประเทศยุโรป และในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงหมู่เกาะ อินเดียตะวันตก และเกาะมาดากัสการ์ ส่วนลำไย ที่อยู่ในประเทศไทยนั้นได้มีการสันนิษฐานว่า มาจากประเทศจีนตอนใต้ ด้วยเช่นกัน และพันธุ์ลำไย แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ลำไยเถาหรือ ลำไยเครือ กับ ลำไยต้น นั่นเอง [2]

ลำไยจะเป็นผลไม้ ที่คนส่วนใหญ่ต่างรู้จัก และคุ้นเคยกับ ผลไม้ชนิดนี้ดี ซึ่งถ้าตามลักษณะทั่วไป ของลำไยที่พบเห็นนั้น ก็จะมีผลกลมๆ มีรสชาติหวาน และมีเปลือกผิว สีน้ำตาล แต่ลำไยเถา จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ไม่เหมือนกับลำไยทั่วไป คือจะมีผิวเปลือก ที่เป็นสีเขียวอมชมพู มีสีเปลือกที่สวยงาม และค่อนข้างพบได้น้อย เนื่องจากปัจจุบัน ในประเทศไทย มีลำไยหลากหลาย สายพันธุ์นั่นเอง

ลำไยเถา หรือลำไยเครือ ผลไม้อุดมไปด้วยคุณประโยชน์

ลำไยเถา

ลำไยเถา ลำไยเถา ในปัจจุบัน จะพบเห็นได้น้อย และไม่ค่อยเห็น ใครปลูกกันมากนัก เนื่องจาก อาจเป็นเพราะว่า ปัจจุบัน ได้มีลำไย หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ พันธุ์ลำไย ที่ได้รับความนิยม ขายตามตลาดทั่วไป จะเป็นลำไย สายพันธุ์อีดอ, สายพันธุ์พวงทอง, สายพันธุ์เบี้ยวเขียว และสายพันธุ์กะโหลก เป็นต้น ส่วนลำไยเถา จะหาทานได้ยาก เพราะไม่ค่อย มีจำหน่าย ตามท้องตลาดทั่วไป

ลักษณะทั่วไปของลำไยเถา

ผลไม้ลำไยเถา จะลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดังต่อไปนี้

  • ลำต้น : จะเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก กึ่งไม้พุ่มประเภทรอเลื้อย ที่แผ่กิ่งกับ พุ่มเรือนยอด ออกไปไกล ลำต้นจะมี สีน้ำตาล อมสีเทา [3]
  • ใบ : ลักษณะของใบจะเรียวยาว ปลายใบจะแหม ใบอ่อนจะมี สีน้ำตาล ส่วนใบแก่จะมีสีเขียวเข้ม
  • ดอก : จะออกดอกเป็นช่อ ดอกจะมีสีขาว หรือสีขาวอมเหลือง
  • ผล : ผลจะกลม คล้ายกับผล ของลำไยทั่วไป แต่เปลือกผล จะเด่นตรงที่ ผลสุกจะมี สีเขียวอมชมพู หรือสีชมพู ส่วนผลดิบ มีสีเขียวปกติ
  • เมล็ด : ภายใน 1 ผล จะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดจะมีสีดำ และค่อนข้างแข็ง ทานไม่ได้

ลำไยเถากับคุณประโยชน์

ผลไม้ลำไยเถา ที่นอกจากผล จะรับประทาน แบบสดๆ ได้แล้ว ยังมีสรรพคุณ และมีประโยชน์ อีกมากมาย ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

  • ผลลำไย ใช้รับประทาน แบบสดๆ ได้เลย ซึ่งเป็นผลไม้ ที่ประกอบไปด้วย วิตามินหลายชนิด ได้แก่ วิตามินซี กับ วิตามินบี 12 รวมถึงมีแร่ธาตุต่าง ๆ อีกหลายอย่าง เช่น โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส โซเดียม, โพแทสเซียม, ทองแดง และ เหล็ก เป็นต้น
  • ลำไยเถาสามารถ นำมาแปรรูป ได้หลากหลาย เช่น น้ำลำไย ที่ช่วยเพิ่ม ความสดชื่น ให้แก่ร่างกาย และยังนำไป ประกอบเป็นอาหาร หรือของหวาน ได้แก่ เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย, ลำไยลอยแก้ว, วุ้นลำไย เป็นต้น
  • นอกจากนี้แล้ว ยังนำลำไย มาแปรรูป เป็นลำไยอบแห้ง ได้อีกด้วย ซึ่งในลำไยอบแห้ง จะมีส่วนช่วยยับยั้ง การสร้างเม็ดสีผิว ได้ดีกว่า การใช้สารเคมีอีกด้วย

สามารถคลิกอ่าน เนื้อหาเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ประโยชน์ของลำไย ได้ที่ identity.bsru

สรุป ลำไยเถา ผลไม้เนื้ออร่อย มีรสชาติหวาน

สรุป ลำไยเถา หรือที่ชาวทาง ภาคอีสาน เรียกกันว่า ลำไยเครือ เป็นผลไม้ที่คล้าย กับลำไยทั่วไป ผลรับประทานได้ มีรสชาติหวาน จัดเป็นไม้ต้นรอเลื้อย มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ มีสีเปลือกผิว สีเขียวอมชมพู ที่ดูสวยงาม และไม่เหมือนกับ ลำไยชนิดอื่นๆ อุดมไปด้วย สรรพคุณ และคุณประโยชน์ดีๆ มากมาย ซึ่งคู่ควร ต่อการอนุรักษ์ไว้ เพื่อไว้ให้ ลูกหลาน หรือคนรุ่นใหม่ ได้รู้จัก หรือ ลิ้มลองรสชาติ ของผลไม้ชนิดนี้

อ้างอิง

[1] wegrow. (2024). ชื่อต้น : ลำไยเครือ. Retrieved from wegrow

[2] doa. (2024). ลำไย (Longan). Retrieved from doa

[3] rspg. (2024). ลำไยเครือ. Retrieved from rspg