ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ภัยพิบัติ ลมมรสุม ลมประจำฤดูกาลเฉพาะท้องถิ่น

ลมมรสุม

ลมมรสุม หลายคนน่าจะเคยได้ยินกันบ่อย ตามข่าวสารพยากรณ์อากาศช่องทางต่าง ๆ โดยลมมรสุมเป็นลมประจำฤดูกาล ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ซึ่งลมมรสุมหรือฤดูมรสุม เกิดขึ้นได้อย่างไร มีลมชนิดไหนบ้าง รวมถึงเกร็ดความรู้เรื่องประโยชน์ และโทษจากมรสุม

รู้จักมรสุมลมตามฤดูกาลต่าง ๆ

ลมมรสุม (Monsoon) ลมเปลี่ยนทิศตามฤดูกาล การหมุนเวียนของบรรยากาศ โดยมาพร้อมกับปริมาณน้ำฝน ระหว่างเขตบรรจบเขตร้อน และขอบเขตทางเหนือและใต้เส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วย มรสุมแอฟริกาตะวันตก มรสุมเอเชีย – ออสเตรเลีย มรสุมอเมริกาเหนือ และมรสุมอเมริกาใต้ [1]

กระบวนการเกิดลม มรสุม

มรสุมเคยถูกมองว่าเป็น ลมทะเลขนาดใหญ่มาก่อน เพราะเกิดจากอุณหภูมิบนพื้นดิน ที่มีความสูงกว่ามหาสมุทร แต่ในปัจจุบัน คือ ปรากฏการณ์ระดับดาวเคราะห์ เกี่ยวข้องกับการอพยพของลมประจำปี โดยในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิพื้นดินจะเย็นกว่า อุณหภูมิน้ำในมหาสมุทร ทำให้เกิดลมพัดออกจากทวีป

ส่วนในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิพื้นดินในภาคพื้นทวีป จะร้อนกว่าอุณหภูมิน้ำในมหาสมุทร เป็นสาเหตุทำให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งลมมรสุมที่มีกำลังแรงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย คือ ลมมรสุมพื้นที่ภาคใต้ และลมมรสุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้

ลมมรสุม อิทธิพลกับประเทศไทย

สำหรับลมมรสุมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็น ภัยพิบัติธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นลมที่มีทิศแน่นอนและสม่ำเสมอ ที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิพื้นดินและพื้นน้ำ มีด้วยกัน 2 ชนิด ดังต่อไปนี้

  • มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ : พัดปกคลุมประเทศไทย ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากพื้นที่มีความกดอากาศสูง ทางซีกโลกใต้ของ มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเมื่อพัดเข้ามายังประเทศไทย จะทำให้มีเมฆมาก และฝนตกหนัก โดยเฉพาะแถบชายฝั่งทะเล และเทือกเขา
  • มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ : ลมหลังจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ในช่วงกลางเดือนตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยเกิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ทางซีกโลกเหนือ ของประเทศมองโกเลียและประเทศจีน พัดเอามวลอากาศเย็นเข้ามาในประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าดูปลอดโปร่ง อากาศหนาวเย็น และมีความแห้งแล้ง โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ที่มา: มรสุม [2]

ลมมรสุม สภาพอากาศมีประโยชน์และโทษ

ลมมรสุม

สภาพอากาศแบบมรสุม ที่หลายคนทั่วโลกต้องเจอ ไม่ได้เป็นเพียงอากาศตามฤดูกาล แต่เป็นเหมือนกับเส้นเลือดใหญ่ ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิต โดยฝนจะนำน้ำมาสู่พื้นที่แห้งแล้ง หรือเติมเต็มแหล่งน้ำสำคัญ แม้ว่ามรสุมจะมีประโยชน์ แต่ก็สามารถส่งผลกระทบ ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม หรือกับระบบนิเวศและเศรษฐกิจท้องถิ่น

มรสุมมีประโยชน์อย่างไร?

แน่นอนว่าลมมรสุม เป็นสัญญาณที่คุ้นเคยกันดีว่า กำลังเข้าสู่ฤดูกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะฤดูฝนจะมีเสียงฟ้าร้อง ซึ่งไม่ได้นำพาฝนมาอย่างเดียว แต่ยังนำพาไนโตรเจนมาด้วย เพื่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้เราเห็นพืชช่วงฤดูฝน มีความเขียวชอุ่มและชุ่มน้ำ เพราะพืชจะได้รับสารอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

นอกจากนี้ พายุฝนฟ้าคะนอง ในช่วงฤดูร้อน ยังสามารถปล่อยไนโตรเจนได้ในปริมาณมาก ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชพรรณต่าง ๆ เห็นได้ชัดเจนว่าพืชจะมีสีเขียวขึ้น หลังจากที่เกิดพายุ และน้ำฝนก็มีส่วนทำให้พืชมีสีเขียวอีกด้วย [3]

อธิบายเกร็ดน่ารู้รอบตัวของ ลมมรสุม

  • มรสุมกับพายุแตกต่างกันอย่างไร : มรสุมเป็นลมขนาดใหญ่ที่พัดประจำฤดูกาล มีระยะเวลายาวนาน โดยส่งผลกระทบกับสภาพอากาศ และฤดูกาลแบบวงกว้าง ส่วนพายุเป็นลมหมุนวนอย่างรุนแรง เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ โดยมีผลกระทบรุนแรง ในพื้นที่อย่างจำกัด
  • ลมจะพัดจากที่ไหนไปที่ไหน : พัดจากบริเวณความกดอากาศสูง เข้าสู่บริเวณความกดอากาศต่ำ
  • ลมมีน้ำหนักไหม : ลมเป็นอากาศที่มีสถานะเป็นก๊าซ โดยอากาศจะมีน้ำหนัก เหมือนกับของเหลวและของแข็ง เราจะเรียกน้ำหนักกดทับอากาศว่า ความกดอากาศ (Air Pressure)
  • ทิศไหนลมดีที่สุด : ทิศใต้ เพราะเป็นทิศที่ทำให้บ้านเย็น อากาศไหลเวียน และไม่ร้อนอบอ้าว
  • ทำไมประเทศไทยมี 3 ฤดู : ประกอบด้วย ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว เพราะพื้นผิวโลกมีสภาพแตกต่างกัน โดยประเทศไทยตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน จึงตกอยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม

สรุป ลมมรสุม “Monsoon”

ลมมรสุม ลมประจำฤดูกาล โดยหมุนเวียนบรรยากาศ มาพร้อมกับปริมาณน้ำฝน และความแห้งแล้ง ที่มีทิศทางแน่นอนและสม่ำเสมอ สัญญาณการเข้าสู่ช่วงฤดูกาลต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทยมีมรสุมเพียง 2 ชนิด สามารถสร้างประโยชน์และโทษต่อระบบนิเวศ และการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น

อ้างอิง

[1] wikipedia. (November 19, 2024). Monsoon. Retrieved from wikipedia

[2] trueปลูกปัญญา. (August 6, 2021). มรสุม. Retrieved from trueplookpanya

[3] theuniversityofarizona. (2024). Monsoon Rains Have Hidden Benefits For Plants. Retrieved from cales.arizona.edu