ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
รูหนอน อย่างที่หลายคนมักได้ยินกันว่า เป็นประตูมิติ หรือการเดินทางข้ามเวลา ที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์แฟนตาซี และวิทยาศาสตร์ นั่นอาจไม่ใช่เรื่องเหนือจินตนาการแต่อย่างใด เพราะทฤษฎีรูหนอน มีการทดลองค้นหาคำตอบได้สำเร็จ แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีอยู่จริงไหม
รูหนอน (Wormhole) โครงสร้างสมมติ ที่มีทางเชื่อมต่อกับจุดต่าง ๆ ในกาลอวกาศ หรือเรียกว่า สะพานของไอน์สไตล์-โรเซน (Einstein-Rosen Bridge) โดยมีคุณลักษณะเป็นสมมติฐานของทางลัด ตัดผ่านไปมาระหว่างปริภูมิและเวลา เปรียบเหมือนอุโมงค์ ที่มีปลายของทั้งสองด้าน พับเข้าหากันในจุดที่แยกกัน [1]
ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ตามหลักการทางฟิสิกส์สมัยใหม่ ถูกคิดค้นโดยนักฟิสิกส์และนักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ร่วมกับนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน นาธาน โรเซน (Nathan Rosen) นำเสนอในเชิงทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เรขาคณิตของกาลอวกาศ และสสาร
กล่าวคือ เป็นทางเชื่อมของจุดสองจุด ที่มีแรงโน้มถ่วงมหาศาล เช่นที่พบใน หลุมดำ จนทำให้บริเวณนั้น เกิดความโค้งของกาลอวกาศ มีค่าเป็นอนันต์ เรียกว่า ภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วง (Gravitational-Singularity) ซึ่งเกิดการพับของปริภูมิและเวลา (Space-Time) จะทำให้รูหนอนย่นระยะทางเชื่อมต่อในจักรวาล [2]
นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา ยังไม่เคยพบรูหนอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้เคลื่อนย้ายพลังงานและสสาร ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ไกลกันในจักรวาลภายในพริบตา โดยนักวิทยาศาสตร์สามารถจำลองรูหนอนขนาดเล็กขึ้นมาได้ ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
แต่ทว่ายังเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ที่จะสามารถเทเลพอร์ต สิ่งมีชีวิตหรือสิ่งของต่าง ๆ ผ่านรูหนอนนั้นได้จริง ซึ่งการจำลองรูหนอน จากคอมพิวเตอร์ควอนตัม เป็นเครื่องพิสูจน์เชิงทฤษฎีได้ว่า การเดินทางข้ามเวลา ข้ามห้วงจักรวาล หรือข้ามมิติผ่านรูหนอน อาจเป็นไปได้จริงในอนาคต
การคำนวณของทีมวิจัยพบว่า แนวคิดรูหนอน มีขนาดใหญ่พอที่จะผ่านเข้าไปได้ แต่ต้องฝ่าแรงไทดัล ที่มีความปั่นป่วนมหาศาล และจะนำไปสู่จุดหมายปลายทาง ระยะทางห่างออกไปกว่า 10,000 ปีแสง ภายใน 1 วินาที แต่คนบนโลกที่มองเห็นการเดินทางนี้ อาจใช้เวลานานมากถึง 10,000 ปี ตามอายุของมนุษย์เลยทีเดียว
อย่างที่เรารู้กันแล้วว่ารูหนอน เป็นเครื่องย่นระยะทางในอวกาศ ที่ช่วยให้การเดินทางไปยังจุดหนึ่งในจักรวาล เกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงสั้น ๆ แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนสงสัยว่า รูหนอนอาจเป็นเครื่องท่องเวลา (Time Machine) ได้ด้วยหรือไม่? เพราะจากการทดลอง ค้นพบว่ารูหนอนไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาเดียว
โดยพบว่ารูหนอนมีประเภท รูหนอนวงแหวน (Ring Wormhole) ที่เกิดจากวัตถุมวลมหาศาล แบบไม่ต้องเดินทางผ่านรูหนอนปกติ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เชื่อมอวกาศแบบแบน เพื่อข้ามไปยังอีกจุดหนึ่งทันที และพบว่ารูหนอนวงแหวน จะสร้างเส้นโค้งเวลาแบบปิดในกาลอวกาศ ถ้าพูดง่าย ๆ คือ “เวลาเดินทางเป็นวงกลม”
ทั้งนี้ทีมนักวิจัยยังระบุว่า รูหนอนที่จะอยู่ในเงื่อนไขนี้ ต้องอยู่ในสนามโน้มถ่วง ที่มีความเบาบางอย่างมาก และต้องไม่ถูกรบกวนจากดาวเคราะห์ หรือดาวฤกษ์บริเวณใกล้เคียง ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถสัมผัสได้ แต่เป็นสมมติฐานที่อาจเกิดขึ้นจริง เนื่องจากเป็นผลมาจาก สนามควอนตัมตามธรรมชาติ [3]
รูหนอน โครงสร้างสมมติระหว่าง จุดเชื่อมทั้งสองจุดในกาลอวกาศ โดยอยู่ในหลักการฟิสิกส์สมัยใหม่ เชิงทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ของไอน์สไตน์และโรเซน เปรียบเป็นเครื่องย่นระยะทางในจักรวาล ซึ่งยังไม่พบหลักฐานการเกิดขึ้นเอง และไม่มีคำตอบแน่ชัด แต่ในอนาคตอาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้
[1] wikipedia. (January 8, 2025). Wormhole. Retrieved from wikipedia
[2] step. (2023). ทฤษฎีรูหนอน บนจักรวาลMARVELS!. Retrieved from step.cmu.ac.th
[3] nationalgeographic. (July 25, 2023). เราจะสร้างเครื่องท่องเวลา จากรูหนอนในจักรวาล ให้กลายเป็นจริงอย่างไร?. Retrieved from ngthai
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.