ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ระบบสุริยะ หนึ่งในระบบของจักรวาล ที่เต็มไปด้วยดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ วัตถุท้องฟ้า และดาวนับพันล้านดวง ตั้งอยู่ในกาแล็กซีอันกว้างใหญ่ไพศาล แบบไม่มีที่สิ้นสุด ระบบที่เป็นแหล่งกำเนิดของโลก และมีวิวัฒนาการมากมาย เชื่อหรือไม่ว่าระบบสุริยะ มีอีกหลายเรื่องที่รอให้เราค้นพบ
ระบบสุริยะ (Solar System) ระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มวลของระบบ 1.0014 มวลสุริยะ และมีวัตถุท้องฟ้าโคจรรอบดวงอาทิตย์ มีแรงโน้มถ่วงเป็นพลังงานยึดเหนี่ยว โดยก่อตัวขึ้นประมาณ 4,600 ล้านปีก่อน จากกลุ่มเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ หรือกลุ่มฝุ่นก๊าซรวมตัวกัน เรียกว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar Nebula) [1]
องค์ประกอบของระบบสุริยะ ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (จุดศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วง), ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวโลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน (ดาวเคราะห์บริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ และหมุนรอบตัวเอง)
ทั้งนี้ยังประกอบด้วย ดวงจันทร์ (บริวารโคจรรอบดาวเคราะห์), ดาวเคราะห์แคระ (วัตถุขนาดเล็กโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทับซ้อนกับดาวเคราะห์ดวงอื่น แต่ไม่อยู่ในระนาบสุริยะวิถี), ดาวเคราะห์น้อย (วัตถุที่ไม่สามารถรวมตัวเป็นดาวเคราะห์ได้), วัตถุในแถบคอยเปอร์ (มีมากกว่า 35,000 ดวง), ดาวหาง และ เมฆออร์ต [2]
ระบบสุริยะสามารถเดินทาง ไปยังศูนย์กลางทางช้างเผือก ประมาณ 27,000 ± 1,000 ปีแสง ด้วยความเร็วโคจร 220 กิโลเมตร / วินาที และใช้ระยะเวลาการโคจร 225 – 250 ล้านปี โดยมีคุณสมบัติเป็นสเปกตรัม G2V, แถวน้ำแข็ง ≈5 AU และ ระยะทางถึงเฮลิโอพอส ≈120 AU
การค้นพบระบบสุริยะ เมื่อหลายพันปีก่อน มนุษย์ไม่เคยทราบมาก่อนว่าทั้งหมดนี้ เรียกว่าระบบสุริยะ เพราะเดิมทีเข้าใจว่าโลก คือศูนย์กลางจักรวาลที่หยุดนิ่ง และมีดาวเคราะห์โคจรรอบ ๆ ภายหลังมีผู้ที่ค้นพบ และพิสูจน์แนวคิดสำเร็จเป็นคนแรก คือนักดาราศาสตร์ “นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus)”
ภายหลังต่อมา ก็มีผู้ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์โลก คือ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei), โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) และ ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) พวกเขาพิสูจน์แล้วว่า โลกเคลื่อนไหวรอบดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ ก็ดำเนินไปตามกฎฟิสิกส์แบบเดียวกัน และเกิดปรากฏการณ์ทางภูมิธรณีต่าง ๆ
นักดาราศาสตร์กล่าวว่า ระบบสุริยะใหญ่โตมหาศาลอย่างน่าเหลือเชื่อ จากการสำรวจของยาน Voyager 1 องค์การ NASA ถูกส่งขึ้นอวกาศปี 1977 และกลายเป็นยานลำแรก ที่สามารถขึ้นสู่ห้วงอวกาศ และดวงดาวได้ โดยผ่านเฮลิโอพอส ขอบเขตที่อนุภาคกับสนามแม่เหล็ก หลุดออกจากดวงอาทิตย์ และสลายตัวไป
เคยสงสัยหรือไม่? ดาวพลูโตที่เคยเป็นดาวเคราะห์มานานหลายปี แต่กลับถูกลดสถานะให้กลายเป็น ดาวเคราะห์แคระ โดยในช่วงปี 1930 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ไคลด์ ทอมบอก์ (Clyde William Tombaugh) ผู้ค้นพบดาวเคราะห์ ที่อยู่ไกลมากในระบบสุริยะ จนได้รับการตั้งชื่อ “ดาวพลูโต” เทพเจ้าแห่งยมโลก
ตั้งแต่มีการค้นพบ ก็เจอกับความลึกลับ น่าประหลาดมากมาย และมีระยะทางไกลเกินกว่าจะสำรวจได้ จนได้พบกับดวงจันทร์บริวาร Charon ที่มีขนาดใหญ่กว่า (ถือว่าผิดปกติ) พบในช่วงปี 1978 ซึ่งนั่นก็ทำให้ได้รู้ว่าดาวพลูโต มีมวลน้อยมากเพียง 0.04 เท่า ของดาวพุธ แต่ก็ยังเป็นดาวเคราะห์มาจนถึงปี 2006
ทางสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ได้กำหนดนิยามของดาวเคราะห์ขึ้นใหม่ คือ ดาวเคราะห์ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นหลัก ดาวเคราะห์ต้องมีมวลมาก พอที่จะเป็นทรงกลมหรือเกือบกลม และวงโคจรต้องไม่ทับซ้อนกับดาวดวงอื่น จึงส่งผลให้ดาวพลูโต ไม่นับว่าเป็นดาวเคราะห์ เพราะไม่มีคุณสมบัติข้อใดนับแต่นั้นมา [3]
ระบบสุริยะ กำเนิดระบบสุริยะที่มีดวงอาทิตย์เป็นใจกลาง และมีวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ โคจรล้อมรอบ โดยถือกำเนิดมาจากโซลาร์เนบิวลา ตั้งแต่เมื่อ 4,600 ล้านปี ส่งผลต่อวิวัฒนาการมากมาย มีทั้งดาวเคราะห์ ดวงจันทร์บริวาร ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย แถบคอยเปอร์ ดาวหาง และเมฆออร์ต
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.