ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ม่วงเทพรัตน์ พรรณไม้พระราชทานนาม

ม่วงเทพรัตน์

ม่วงเทพรัตน์ พรรณไม้พระราชทานนามโดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเนื้อเยื่อพืช “ม่วงเทพรัตน์” หรือ Persian Violet ให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ เก็บรักษาและขยายพันธุ์ตามศักยภาพ จนประสบความสำเร็จ

แนะนำข้อมูล ต้นม่วงเทพรัตน์

ชื่อ : ม่วงเทพรัตน์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Persian gentian หรือ Persian, Arabian, German violet
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Exacum affine Balf.f. ex Regel
วงศ์ : Gentianaceae
ถิ่นกำเนิด : พืชพื้นท้องถิ่นหายากบนเกาะ Socotra เกาะในหมู่เกาะ Yemen ในมหาสมุทรอินเดีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นม่วงเทพรัตน์

ม่วงเทพรัตน์ เป็นไม้ล้มลุก และเป็นไม้ประดับที่ชอบแสงแดด
ลำต้น : มีความสูงไม่เกิน 60 cm.
ใบ : มีสีเขียวเข้ม รูปไข่ ยาวไม่เกิน 4 cm.
ดอก : มีสีม่วงอมฟ้า เมื่อดอกบานเต็มที่ มีลักษณะคล้ายดาว ดอกจะออกในช่วงฤดูร้อน และฤดูใบไม้ผลิ สามารถเร่งการออกดอก ด้วยการเด็ดดอกแห้งออก เพื่อกระตุ้นการออกดอกใหม่
เกสร : มีเกสรตัวผู้สีเหลือง เห็นได้อย่างชัดเจน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
เมล็ด : มีเมล็ดหลังดอกที่แห้งแล้ว ใช้เพื่อขยายพันธุ์

ที่มา : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ [1]

การขยายพันธุ์ และการปลูก

ขยายพันธุ์ : ได้ง่ายด้วยการ ปักชำ และใช้เมล็ด
การปลูก : ต้นม่วงเทพรัตน์ชอบความชื้นในอากาศ ให้โดนแดดเช้าเต็มที่ครึ่งวัน ดินต้องโปร่งและระบายน้ำได้ดี รดน้ำพอประมาณ ชอบน้ำแต่อย่ารดมากเกินไป จะทำให้รากเน่าได้ง่าย เมื่อดอกเริ่มเหี่ยวก็ให้เด็ดดอกทิ้งไป เพื่อเป็นการกระตุ้นดอกรุ่นใหม่ด้วย

ม่วงเทพรัตน์ กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  • ใช้ต้านไวรัส สำหรับฤทธิ์ต้านไวรัส พบว่าสารสกัด เมทานอลจากส่วนเหนือดินมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสหวัด [human influenza virus A/WSN/33 (H1N1)] และเชื้อไวรัสเริม (herpes simplex virus; HSV-1 strain KOS)
  • สารสกัดน้ำ มีฤทธิ์ต้าน เชื้อไวรัสหวัด แต่ไม่มีฤทธิ์ ยับยั้งเชื้อไวรัสเริม
  • สารสำคัญคือ สารกลุ่ม phenolic acids3ใช้ต้านโรค ติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • ฤทธิ์ต้านจุลชีพ สารสกัดคลอโรฟอร์ม เมทานอล และน้ำของส่วนดอกและใบ ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย [2]

ประโยชน์ การใช้งาน

ม่วงเทพรัตน์ หรือเปอร์เซียนไวโอเลต เป็นพืชท้องถิ่น ของเกาะโซโคตรา (Socotra) ในประเทศเยเมน อยู่ในมหาสมุทรอินเดีย โดยส่วนใหญ่แล้ว เหมาะที่จะปลูกเป็น ไม้กระถาง จะเป็นแบบตั้ง หรือแขวนตกแต่งสถานที่เป็น ไม้ดอกสีสันสวย เช่นเดียวกันกับ พุดพิชญา

ภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาว Yemeni ยังระบุว่าใช้เป็นสมุนไพรรักษา โรคติดเชื้อ ทางเดินหายใจ และผิวหนัง และโรคดีซ่าน [3]

คำแนะนำ จากผู้ที่เคยปลูก ต้นม่วงเทพรัตน์

ในการปักชำ ม่วงเทพรัตน์พบว่า หากปักชำในถุง ในเวลาไม่นานต้นจะเน่า อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าปักชำแบบเปิดเลย ต้นก็จะยังสดใสดูดี อยู่ได้ไม่กี่วัน แล้วก็จะเริ่มเน่า เหมือนการปักชำในถุงเช่นกัน

การเพาะเมล็ด โดยเมล็ดนั้นจะงอกภายในระยะเวลาประมาณ 3 อาทิตย์ และจะกลายมาเป็นต้นน้อยๆ นั้นจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 เดือน จึงจะสามารถให้ดอกได้

สรุป ม่วงเทพรัตน์ ไม้มงคลพระราชทาน

ม่วงเทพรัตน์

สรุป ม่วงเทพรัตน์ ไม้มงคลพระราชทาน เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะ Socotra ซึ่งเป็นมรดกโลก ด้วยดอกสีฟ้า อมม่วงที่สดใส และมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ จึงมีการนำไปปรับปรุงพันธุ์ ให้ทนร้อน ทนหนาว สีเข้ม สีอ่อน จนปัจจุบันนิยมปลูกเป็นไม้กระถาง และไม้แขวน ทั่วโลก

อ้างอิง

[1] wikipedia. (September 28, 2022). ลักษณะทางพฤกษศาสตร์. Retrieved from wikipedia

[2] pharmacy. (2013-2024). ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา. Retrieved from pharmacy

[3] scimath. (March 16, 2015). “ม่วงเทพรัตน์” ไม้มงคลที่มิใช่เป็นเพียงไม้ประดับ. Retrieved from scimath