ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

มะเฟือง (Star Fruit) ผลไม้สารพัดประโยชน์

มะเฟือง

มะเฟือง เป็นผลไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อดูแลสุขภาพ รวมไปจนถึงในเรื่องของความงามได้ มีคุณค่าทางสารอาหาร ให้รสอร่อย อีกทั้งส่วนประกอบต่างๆ ของต้นมะเฟืองยัง นำมาใช้เป็นยาแก้โรคได้หลากหลาย หากใครอยากสุขภาพดีลองอ่านไว้ประดับความรู้ได้ที่นี่

ข้อมูลเบื้องต้น

ชื่อ : มะเฟือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Averrhoa carambola L.
ชื่อสามัญ : Star Fruit, Carambola
วงศ์ : Oxalidaceae
สกุล : Averrhoa
ถิ่นกำเนิด : อินโดนีเชีย และมาเลเชีย แล้วค่อยแพร่กระจายเข้ามาสู่ไทย พม่า ลาว และประเทศใกล้เคียง
เป็นต้นไม้ที่เติบโตได้ดี ในอากาศร้อนชื้น ไม่ทนต่ออากาศหนาว ที่มีน้ำค้างแข็ง หรือหิมะ
ขยายพันธุ์ : ด้วยการต่อยอด การตอนกิ่ง การติดตา และการปลูกด้วยเมล็ด โดยจะเริ่มติดผลได้ เมื่อต้นมีอายุประมาณ 4-5 ปี และจะติดผลตลอดทั้งปี

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ ต้นมะเฟือง

มะเฟือง

ลำต้น: มะเฟือง เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางสูง 5-10 เมตร ลักษณะเป็นทรงพุ่ม ซึ่งมีทั้งลักษณะตั้งตรง และกึ่งเลื้อย
ขนาดลำต้นประมาณ 20-25 เซนติเมตร เปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ เป็นไม้เนื้ออ่อน แกนกลางมีไส้คล้ายฟองน้ำมีสีแดงอ่อน แตกกิ่งจำนวนมาก
ใบ: ใบประกอบสีเขียว ประกอบด้วยใบย่อย 5-11 ใบ ลักษณะคล้าย และขนาดใกล้เคียงกับใบมะยม แต่ใบมะเฟืองค่อนข้างป้อมกว่า แผ่นใบเป็นมัน และมีขนปกคลุม คล้ายขนกำมะหยี่
ดอก: ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง และตาข้างตามกิ่งและลำต้น มีดอกสีชมพูอ่อนไปจนถึงเกือบแดง ด้านล่างสุดของดอก เป็นรังไข่ที่จะเจริญเป็นผล
ผล: ผลมีก้นแหลมเป็นเหลี่ยมมีร่องลักษณะเป็นพูประมาณ 4-6 พู
เมล็ด: แทรกอยู่ภายในผล จำนวนเมล็ด 5-12 เมล็ด แต่บางพันธุ์จะมีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย เปลือกเมล็ดแข็ง มีสีน้ำตาล
มะเฟืองจะเริ่มสุก หลังจากดอกบานแล้วประมาณ 55 – 60 วัน

ที่มา: ลักษณะทางพฤษศาสตร์ [1] 

คุณค่าทางโภชนาการ

มะเฟืองสด 100 กรัม จะได้

  • พลังงาน 31 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 6.73 g
  • น้ำตาล 3.98 g
  • ใยอาหาร 2.8 g
  • ไขมัน.33 g
  • โปรตีน 1.04 g

วิตามิน

  • กรดแพนโทเทนิก (บี5) (8%) 39 มก.
  • โฟเลต (บี9) (3%) 12 ไมโครกรัม
  • วิตามินซี (41%) 34.4 มก.

แร่ธาตุ

  • ฟอสฟอรัส (2%) 12 มก.
  • โพแทสเซียม (3%) 133 มก.
  • สังกะสี (1%) 12 มก.

นอนไม่หลับ หลับยาก อ่านตรงนี้

มะเฟือง

สรรพคุณของผลมะเฟืองสุกพบว่า เต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี ฟอสฟอรัส อีกทั้งผลมะเฟืองยังมีเส้นใยอาหารมาก และไม่ละลายน้ำ จึงมีส่วนช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด หลังอาหารได้ดี เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก

การวิจัยในทางการแพทย์หลายๆ ประเทศทั้งหมดนี้พบว่า สิ่งสำคัญคือ การกิน มะเฟือง เป็นประจำ ยังช่วยลดความเครียด ทำให้หลับง่ายอีกด้วย มะเฟืองจึงถือเป็น “พืชสมุนไพรช่วยนอนหลับ” อีกชนิดหนึ่ง [2]

สรรพคุณ ของ มะเฟือง

  • ผล (รสเปรี้ยว หรือหวานอมเปรี้ยว) รับประทานสดหรือคั้นน้ำดื่ม
    บรรเทาอาการคอแห้ง, ขับเสมหะ, ร้อนใน, ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน, แก้อาเจียน, แก้เมารถ เมาเรือหรืออาการเมาค้าง, ใช้เป็นยาระบาย, ช่วยขับระดู, ช่วยเจริญอาหาร, ช่วยขับปัสสาวะ, ช่วยในการฟอกไต, แก้อาการหนองใน, ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด, ลดความเสี่ยงต่อโรคโลหิตจาง, แก้อากรท้องร่วง ท้องเสีย, ช่วยผ่อนคลายหลับง่ายขึ้น
  • เมล็ด (รสขม) ด้วยการนำมาต้มน้ำดื่มช่วยให้นอนหลับง่าย, แก้อาการปวดเมื่อย, แก้ดีซ่าน, ช่วยในการขับระดู, บรรเทาอาการปวดท้อง แน่นท้อง
  • ใบ (รสจืด และมัน) ใช้ด้วยการนำมาต้มหรือบดขยำทาภายนอกบรรเทาอาการเป็นหวัด ลดไข้, ดับร้อน, ถอนพิษสำแดง, นำมาบดใช้ทาพอกแก้ผื่นคัน, นำมาขยำใช้พอกหรือสระผมร่วมกับแชมพู ทำให้รังแคน้อยลง, ใช้ประคบแผล รักษาแผล, ช่วยในการห้ามเลือด, ใช้ประคบแผลแมลงกัดต่อย, ช่วยบรรเทาอาการปวด และบวมของแผล
  • ดอก (รสจืดเย็น) ใช้โดยการต้มน้ำดื่มบรรเทาอาการไข้, ลดอาการตัวร้อน, ช่วยขับพยาธิ, ช่วยขับสารพิษ
  • เปลือก (รสฝาด) โดยนำมาต้มน้ำดื่มหรือฝนเป็นผงทาภายนอก แก้อาการท้องเสีย, ช่วยรักษาแผล ทำให้แผลแห้ง
  • ราก (รสหวาน และเย็น) โดยนำมาต้มน้ำดื่ม แก้อาการปวดศรีษะ, ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ, บรรเทาไข้หวัด, บรรเทาอาการปวดแสบจากโรคกระเพาะอาหาร, บรรเทาอาการจุกแน่นหน้าอก

 

คลิกเพื่ออ่าน สรรพคุณมะเฟือง เพิ่มเติมได้ที่นี่ Puechkaset

ระวัง ผลข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้นได้

ผู้บริโภคบางรายอาจพบผลข้างเคียงจากการรับประทาน มะเฟือง เนื่องจากในมะเฟืองมีสารออกซาเลต (Oxalate) อยู่มาก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้ไต เกิดความเสียหาย หรือเป็นนิ่วในไตได้ เพราะอาจได้รับอันตรายจากการทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดอาการสับสนมึนงง ชักเกร็ง หรืออาจป่วยรุนแรง ถึงชีวิตได้

ผู้บริโภคควรรับประทาน มะเฟือง ในปริมาณเหมาะสม ควรเลือกผลที่สุกเต็มที่ ไม่เน่าเสีย ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้น แล้วนำเมล็ดออกก่อนรับประทาน [3] 

สรุป มะเฟือง รสอร่อย สรรพคุณดีๆ ที่ต้องทาน

มะเฟือง

สรุป มะเฟือง มีสรรพคุณที่ช่วยรักษา และบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ทั้งต้น ไม่ว่าจะเป็นใบ ดอก ผล และน้ำคั้นจากผลมะเฟือง ดังนั้นในสมัยก่อน มะเฟืองจะถูกนำมาใช้ในตำรับยาอยู่เสมอ ยังนิยมนำมะเฟืองมาแปรรูป เช่น ทำเป็นสบู่จะช่วยแก้อาการคันตามผิวหนัง และไขมันอุดตันตามรูขุมขน ถือเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งเลย

อ้างอิง

[1] wikipedia. (February, 2014). ลักษณะทางพฤษศาสตร์. Retrieved from wikipedia

[2] sukkaphap. (July 1, 2016). สรรพคุณมะเฟือง. Retrieved from sukkaphap

[3] pobpad. (2022-2024). รับประทานมะเฟืองอย่างไรให้ปลอดภัย. Retrieved from pobpad