ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

มะรุม สมุนไพรพื้นบ้านตัวท็อป รักษาสารพัดโรค

มะรุม

มะรุม เป็นพรรณพืชสมุนไพรพื้นบ้าน มีประโยชน์มาก และมีสรรพคุณช่วยบำรุง รักษาได้สารพัดโรค จัดว่าเป็นอีกหนึ่งตัวท็อปในวงการสมุนไพรเลยก็ว่าได้ มะรุมจะดีและมีประโยชน์อย่างไรบ้างนั้น เรามาเจาะลึกกันอีกนิดเกี่ยวกับเจ้าต้นมะรุมกันเลย

แนะนำข้อมูล ต้นมะรุม

ชื่อ: มะรุม
ชื่อภาษาอังกฤษ: Moringa
ชื่อวิทยาศาสตร์: Moringa oleifera Lam.
ชื่ออื่นๆ: กระทืบยอด หนามหญ้าราบ (จันทบุรี), หงับพระมาย (ชุมพร), ก้านของ (นครศรีธรรมราช), ระงับ (ภาคกลาง), หญ้าปันยอด หญ้าจิยอบ (ภาคเหนือ), กะหงับ ด้านของหงับพระพาย (ภาคใต้), หญ้าปันยอบ กะเสดโคก หญ้างับ เป็นต้นบะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม บักฮุ้ม (ภาคอีสาน) เป็นต้น
วงศ์: MORINGACEAE
ถิ่นกำเนิด: ในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดีย และศรีลังกา

ที่มา: มะรุม สรรพคุณและประโยชน์ของมะรุม 78 ข้อ ! [1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นมะรุม

  • ลำต้น: มะรุม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 m. ทรงต้นมีลักษณะโปร่ง
  • ใบ: ใบเป็นแบบขนนก คล้ายกับใบมะขาม ออกเรียงแบบสลับกัน ผิวใบสีเขียว ด้านล่างใบสีจะอ่อนกว่าด้านบน
  • ดอก: ออกเป็นช่อสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ
  • ผลหรือฝัก: ผลหรือฝัก มีความยาวประมาณ 20 – 50 cm. ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เปลือกผลหรือฝัก เป็นสีเขียวมีส่วนคอด และส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก ฝักเมื่อแก่ จะมีผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ด: มีเยื่อหุ้มกลม เป็นสีน้ำตาล มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 cm.

ที่มา: มะรุม_สรรพคุณดียังไง รักษาโรคอะไรได้บ้าง [2]

ประโยชน์ของ มะรุม

  • ต่อต้านมะเร็ง ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในมะรุม จึงสามารถต่อต้านการเกิดมะเร็ง
  • บำรุงสายตา โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงาน จ้องหน้าจอคอมเป็นเวลานาน ป้องกันการเสื่อมของจอประสาทตา รวมถึงโรคต้อในตา
  • บำรุงร่างกาย การรับประทานมะรุมเป็นประจำ จะช่วยปรับฮอร์โมนให้เป็นปกติ ช่วยซ่อมแซมร่างกายในส่วนที่สึกหรอให้ฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติเร็วขึ้น
  • บำรุงผิวให้สวยใส เพระมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง คนที่ต้องการมีผิวสวย มีสุขภาพผิวที่ดี มะรุมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ควรพลาด
  • รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน การนำมะรุมมาประกอบเป็นอาหาร หรือทานสดๆ จะช่วยบำรุงเหงือกและฟัน
  • รักษาโรคขาดสารอาหาร เพราะในมะรุมนั้นมีสารอาหารอยู่หลากหลายชนิด จึงสามารถทดแทนสารอาหาร ที่ขาดไปได้
  • กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด มีสรรพคุณในการบำรุงเลือด
  • ใช้รักษาอาการหวัด เพราะมะรุมอุดมไปด้วยวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • รักษา และบรรเทาโรคเบาหวาน มีสรรพคุณในการควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือด และลดระดับน้ำตาลให้น้อยลง
  • บรรเทาอาการปวด ทุกส่วนของร่างกาย ตามกล้ามเนื้อ และกระดูกได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงสามารถช่วยลดอาการอักเสบได้ดีอีกด้วย
  • ลดระดับความดันโลหิต ในมะรุมสารสำคัญประเภท Glycosides ซึ่งสามารถลดความดันโลหิตและลดอาการอื่นๆ ที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้
  • ลดระดับไขมัน และลดคอเลสเตอรัลในเลือด การรับประทานมะรุม สามารถช่วยลดระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดได้

สรรพคุณทางยาสมุนไพรของ มะรุม

  • ราก: ช่วยบำรุงธาตุไฟ, ใช้รักษาโรคหัวใจ, ช่วยรักษาโรคไขข้อ (Rheumatism)
  • ยาง: ช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาล, ใช้รักษาโรคหอบหืด (Asthma), ช่วยแก้อาการปวดฟัน, ช่วยแก้อาการปวดหู (Earache), ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส (syphilis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    เปลือกของลำต้น: แก้ลมอัมพาต, ช่วยคุมธาตุอ่อนๆ, ช่วยขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ, ช่วยในการคุมกำเนิด, เคี้ยวกินเพื่อช่วยย่อยอาหาร
  • น้ำมันมะรุม: ใช้นวดศีรษะ ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ แก้อาการคันหนังศีรษะ ลดผมร่วง, ช่วยบรรเทาอาการ และลดสิวบนใบหน้า, ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ, โรคโพรงจมูกอักเสบ, ช่วยลดจุดด่างดำจากแสงแดด, ใช้รักษาเชื้อราตามผิวหนัง ศีรษะ ตามซอกเล็บ โรคน้ำกัดเท้า, ช่วยถอนพิษ และลดอาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย,ใช้หยอดหูเพื่อป้องกัน และฆ่าพยาธิในหู รักษาโรคหูน้ำหนวก เยื่อบุหูอักเสบ, ช่วยรักษาโรคคอหอยพอกชนิดมีพิษ, ช่วยรักษาแผลในปาก หรือแผลจากโรคปากนกกระจอก
  • ดอก: ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้, ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่ต่ำลงของผู้ป่วยเอดส์, ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย,ใช้ขับน้ำตา, แก้อาการไข้หัวลม หรืออาการไข้เปลี่ยนฤดู
  • เมล็ดมะรุม: บรรเทาและรักษาอาการหวัด, ช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรังให้ดีขึ้น, ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ อาการท้องเสีย ท้องผูก, ช่วยรักษาและขับพยาธิในลำไส้
  • ใบ: รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน, ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ, ช่วยแก้อาการอักเสบ
  • ใบ, ดอก: ใช้เป็นยาปฏิชีวนะ, ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ที่ก่อให้เกิดสิว ผิวอักเสบได้เช่นเดียวกับ มะกรูด
  • ใบ, ฝัก: ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง, มะรุมลดความดัน, รักษาโรคความดันโลหิตสูง

คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม

ฝักมะรุมสด ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่

  • อุดมไปด้วยวิตามินเอ 4 mcg
  • วิตามินซี 141.0 Mg
  • น้ำ 88.20 กรัม
  • ฟอสฟอรัส 50 Mg
  • แมกนีเซียม 45 Mg
  • คาร์โบไฮเดรต 8.53 g
  • โปรตีน 2.10 g

และสารอาหารต่างๆ วิตามิน และแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด ได้แก่ ไขมัน, ใยอาหาร, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, แมงกานีส, โซเดียม, สังกะสี, วิตามินบี2, วิตามินบี3, วิตามินบี5, วิตามินบี6, และวิตามินบี9

ที่มา: มะรุม_(Moringa) [3]

 เมนูที่นิยมนำ”มะรุม”มาทำเป็นอาหาร

มะรุม

มะรุมนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด เช่น

  •  แกงส้มมะรุม
  •  แกงใบมะรุมใส่ปลาย่าง
  •  ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน
  •  มะรุมต้มจิ้มน้ำพริก
  •  ดอกหรือฝักมะรุมชุบแป้งทอด

สรุป มะรุม อร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

สรุป มะรุม นอกจากจะนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู ให้รสชาติอร่อยแล้วยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรบำรุงกำลัง และยังสามารถช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด แต่ก็ไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป เพราะอาจเสี่ยงต่อการสะสมของสารบางอย่างที่อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ ควรทานให้พอเหมาะ ไม่แนะนำให้สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ป่วยโรคเกาต์รับประทาน เพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้

อ้างอิง

[1] medthai. (July 3, 2020). มะรุม สรรพคุณและประโยชน์ของมะรุม 78 ข้อ !. Retrieved from medthai

[2] health_kapook. (November 17, 2023). มะรุม_สรรพคุณดียังไง รักษาโรคอะไรได้บ้าง. Retrieved from health_kapook

[3] hdmall. (December 4, 2024). มะรุม_(Moringa). Retrieved from hdmail