ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

แนะนำ มะก่อป่า หรือ เกาลัดป่า ของดีมีประโยชน์

มะก่อป่า

มะก่อป่า หรือ เกาลัดป่า คือผลไม้ป่า ผลรับประทานได้ ที่ต้นเกิดขึ้นเองในป่า ตามธรรมชาติ สามารถพบได้ตามป่าดิบเขา จัดเป็นผลไม้ที่อยู่คู่กับคนไทยมาเนิ่นนาน และเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ดีๆ มากมาย ผลจะมีรสชาติ หวานๆ มันๆ บริโภคได้ทุกเพศทุกวัย ผลจะคล้ายกับ เกาลัด แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า

มะก่อป่า ผลไม้หาทานได้ปีละครั้ง

มะก่อป่า เป็นผลไม้ป่า ที่ผลออกตามฤดูกาล ซึ่งจะหาทานผล ได้ปีละครั้ง จัดว่าเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ที่ผลสามารถรับประทานได้ ทั้งผลดิบ และผลสด ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คนจะนิยมนำผลมาคั่ว คล้ายกับเกาลัด จะมีรสชาติหวานมัน อร่อยดี ทานแล้วเพลิน สามารถเป็นผลไม้ ไว้ทานเล่น ในยามว่าง แต่ผลจะหาทานได้ยาก เพราะต้องเข้าไปเก็บในป่า

ข้อมูลทั่วไปของมะก่อป่า

มะก่อป่าหรือ เกาลัดป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lithocarpus ceriferu สามkรถพบได้ตามป่าดิบเขา ซึ่งเป็นไม้ผลัดใบ และไม่มียาง เปลือกของลำต้นจะหนา ดอกจะขนาดเล็ก รวมถึงมีเปลือก ที่มีหยามแหลมคม มีกะลาสีน้ำตาล และเนื้อในสีขาวครีม รสหวานมัน เมล็ดจะนิยม นำมาคั่ว หรือต้มให้สุก เพื่อรับประทาน ในเมล็ดมีกรดไขมัน โอเมกา 3 ที่ช่วยบำรุงสมองอีกด้วย [1]

ลักษณะทั่วไปของมะก่อป่า

มะกอป่าเป็นผลไม้ป่า ที่ผลมีลักษณะคล้ายกับ เกาลัด แต่ผลจะเล็กกว่า ซึ่งจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดังต่อไปนี้

  • ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นต้น ลำต้นจะมีสีน้ำตาล ลำต้นจะสูงมาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับอายุ
  • ใบ : ใบจะเป็นรูปทรงรี ใบอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน ส่วนใบแก่ จะมีสีเขียวเข้ม และมีปลายใบ ที่แหลม
  • ดอก : จะออกดอก เป็นช่อกระจุก ดอกจะมีสีขาว อมสีเหลือง
  • ผล : ผลจะรูปทรงกลม เปลือกผลนอก จะมีหนาม ครอบคลุมอยู่ ส่วนเปลือกชั้นใน จะมีสีน้ำตาล และมีเนื้อในสีขาว รสชาติหวานมัน รับประทานได้

มะก่อป่า ผลไม้รสชาติดี มีประโยชน์

มะก่อป่า

มะก่อป่า ถือว่าเป็นผลไม้ อีกหนึ่งชนิด ที่จัดว่าอยู่ในกลุ่ม ของผลไม้ป่า หาทานได้ยาก เช่นเดียวกันกับ ผลไม้ชนิดอื่น ได้แก่ หมากซู่ลูด ที่ส่วนใหญ่แล้ว จะสามารถพบได้ตามป่า ถ้าในประเทศไทย จะพบได้มากทางภาคใต้ เป็นผลไม้ที่ ผลออกตามฤดูกาล ซึ่งจะติดผล ในช่วงเดือนมิถุนายน ไปจนถึงเดือนกันยายน เป็นต้น

มะก่อป่ากับวิธีการเพาะเมล็ด

ซึ่งจะมีขั้นตอน และวิธีการทำ ดังต่อไปนี้

  • การเพาะเมล็ด : นำเมล็ดที่แก่จัด ไปแช่ในน้ำอุ่น 3-4 ชั่วโมง เพื่อเป็นการ กระตุ้นการงอก แล้วนำไปใส่ในถาดเพาะ โดยถมดินให้สูงเกือบมิดเมล็ด หลังจากนั้น ให้รดน้ำทุกวัน ทั้งช่วงเช้า และช่วงเย็น แล้วรอประมาณ 7-10 วัน เมื่อต้นมะก่อป่า เริ่มแตกใบ และมีรากงอกออกมา ให้นำเมล็ดที่มีราก ออกมาไปลงในถุงเพาะชำ เพื่อรอให้มะก่อแตกยอดใบแท้ออกมา เมื่อต้นแตกยอดใบแท้ออกมา ก็นำไปปลูกลงดินได้เลย
  • การปลูก : ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือควรปลูกในฤดูฝน โดยเว้นช่อง ระยะการปลูกที่เหมาะสม และก่อนปลูก ควรปรับปรุงดิน ให้เรียบร้อย แล้วทิ้งไว้ก่อน ประมาณ 1-3 เดือน จึงค่อยนำ มะก่อป่าลงปลูก
  • การรดน้ำ : ระยะแรกที่เริ่มต้นปลูก ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และต้องหาวัสดุ มาพลางแสง ในระยะเริ่มปลูกด้วย ต้องมีความใส่ใจ สังเกตต้นมะก่อป่า เพื่อป้องกันโรค และแมลงศัตรูพืช

ที่มา: ต้นเกาลัดป่า [2]

ประโยชน์และข้อควรระวังของ มะก่อป่า

ประโยชน์ทั่วไป

  • ผลรับประทานได้ มีรสชาติหวานมัน ทานได้ทั้งผลดิบ และผลที่นำไปคั่วสุกแล้ว ซึ่งคนส่วนใหญ่ จะนิยมทานผลคั่ว โดยไว้ทานเล่น เพลินๆ ในยามว่าง
  • มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ที่ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยแก้วัณโรค, แก้อาเจียนเป็นเลือด, ช่วยห้ามเลือด, ช่วยแก้ไอ และช่วยละลายเสมหะ แต่ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ ระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องอืดบ่อย ๆ อาหารไม่ย่อย ไม่ควรกิน ผู้ที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ ร้อนใน ตาบวม ห้ามกิน [3]

ข้อควรระวัง

  • เนื่องจาก ผลของมะก่อป่า จะมีเปลือกหุ้ม ภายนอกที่แหลม และคมมาก ต้องระมัดระวัง ในการเก็บผล หรือในการแกะเปลือก เพราะหากโดน แหลมที่คมทิ่มมือเข้าไป อาจจะทำให้เจ็บปวดได้

สรุป มะก่อป่า ผลไม้ป่า พบได้มากทางภาคใต้

สรุป มะก่อป่า คือผลไม้ป่า ผลรับประทานได้ ที่หาทานได้ปีละครั้ง เพราะผลออกตามฤดูกาล เป็นผลไม้ ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในป่า พบได้ตามป่าดิบเขา ถ้าในประเทศไทย จะพบได้มากทางภาคใต้ และภาคอื่นๆ จะพบได้บ้าง ในบางพื้นที่ ผลมีรสชาติหวานมัน ทานง่าย อร่อยและมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ที่ส่งผลดี และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

อ้างอิง

[1] wikipedia. (October 26, 2021). มะก่อ. Retrieved from wikipedia

[2] watmatchan. (2024). ต้นเกาลัดป่า. Retrieved from watmatchan

[3] mgronline. (July 16, 2021). หรอยจังฮู้ “ลูกกอ” เกาลัดปักษ์ใต้ ของกินเล่นจากป่าเคี้ยวเพลินปาก. Retrieved from mgronline