ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ภัยพิบัติ ภัยความแห้งแล้ง เตรียมพร้อมก่อนขาดแคลนน้ำ

ภัยความแห้งแล้ง

ภัยความแห้งแล้ง ภัยธรรมชาติที่แห้งแล้ง ของอากาศและดิน รวมถึงการขาดแคลนน้ำสะอาด เป็นความลำบากที่มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต้องเผชิญ โดยเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีทั่วโลก ล้วนก่อให้เกิดความเสียหายหลายด้านตามมา และมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป

ภัยความแห้งแล้ง สาเหตุมาจากอะไร?

ภัยความแห้งแล้ง (Drought) ภัยที่มีช่วงสภาพแห้งแล้งกว่าปกติ เกิดสภาวะแห้งแล้งในอากาศและพื้นดิน จากการขาดแคลนน้ำเป็นเวลานาน ตั้งแต่หลายวันจนถึงหลายปี สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งและซ้ำ ๆ ในทุกบริเวณของโลก โดยมีความรุนแรงที่คาดเดาได้ยาก ของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ [1]

จำแนกประเภทของภัย ความแห้งแล้ง

ภัยแล้งเป็นแหล่งที่ขาดน้ำ และขาดความชื้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

  • ภัยแล้งอุตุนิยมวิทยา : เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ยาวนาน และปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย เป็นภัยที่เกิดก่อนภัยแล้งประเภทอื่น และสภาพแวดล้อมค่อย ๆ เลวร้ายลง ส่งผลกระทบต่อประชากรในพื้นที่
  • ภัยแล้งอุทกวิทยา : เกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำสำรองในแหล่งน้ำต่าง ๆ ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งเป็นภัยที่มีแนวโน้มเกิดช้ากว่า เพราะว่าน้ำสำรองที่ถูกใช้ไป แต่ไม่มีการเติมใหม่ จึงได้รับอิทธิพลจากการจัดการน้ำของมนุษย์
  • ภัยแล้งทางการเกษตร หรือทางนิเวศวิทยา : ภัยที่อาจเกิดขึ้นได้เองอย่างอิสระ จากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝน การควบคุมจากการชลประทาน สภาพดินเพิ่มขึ้น และการกัดเซาะทางการเกษตร ที่ทำให้น้ำไม่เพียงพอ จึงส่งผลต่อผลผลิตพืชผลโดยตรง

ภัยแห้งแล้งมีผลกระทบอะไรบ้าง?

นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศแล้ว ยังส่งผลรุนแรงกับแหล่งอาศัยของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ให้เกิดการพลัดถิ่นและอพยพ โดยผลกระทบจากภัยแล้ง ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่น ขาดแคลนทรัพยากรน้ำ ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย สัตว์ล้มตาย นำมาสู่การขาดแคลนอาหาร

หน้าดินพังทลายบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมเมื่อฝนตกหนัก ภัยแล้งทำให้ค่าฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ หรือปัญหาสุขภาพ และเกิดการพลัดถิ่นของผู้คนจำนวนมาก เพื่อแสวงหาน้ำสะอาด อาหาร และสถานที่พักพิงปลอดภัย [2] ทั้งนี้การเกิด คลื่นความร้อน ยังทำให้สภาพแห้งแล้ง เลวร้ายขึ้นด้วย

ภัยความแห้งแล้ง สภาวะขาดแคลนน้ำทั่วโลก

ภัยความแห้งแล้ง

วิกฤตภัยแล้งเกิดขึ้นทั่วโลก จากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือเรียกว่า Climate Change แน่นอนว่าทำให้ทุกพื้นที่ ได้รับผลกระทบจำนวนมาก โดยเฉพาะใน ทวีปแอฟริกา คนมากกว่า 18.4 ล้านคน ต้องเผชิญกับภัยแล้งรุนแรง ความอดอยาก เด็กขาดสารอาหาร การเกษตรเสียหาย และราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นอีกด้วย

แนวทางการป้องกันภัยระดับชุมชน

ภัยพิบัติธรรมชาติ สามารถป้องกันได้ในระดับชุมชน ไม่ว่าจะเป็น การขอทำฝนเทียม เพื่อลดปัญหาภัยแล้ง การเจาะบาดาลใต้ดิน เพื่อเอาน้ำมาใช้ทดแทน การเตรียมขุดบ่อน้ำสำรอง และการติดตั้งถังแชมเปญ เพื่อสำรองน้ำ (ถังกักเก็บน้ำสำรองในปริมาณมาก และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากต่อเดือน) [3]

เรื่องจริงที่อาจไม่เคยรู้กับ ภัยความแห้งแล้ง

  • ภัยแล้งเกิดจากอะไร : จากการที่มีฝนในปริมาณน้อยกว่าปกติ หรือฝนไม่ตกตามฤดูกาล เป็นระยะเวลานาน และครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง จนทำเกิดการขาดแคลนน้ำ
  • ทำไมภาคอีสานของไทยถึงแห้งแล้ง : เพราะว่าพื้นที่ภาคอีสาน เป็นพื้นดินเก็บน้ำได้ปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาแล้ว ซึ่งดินส่วนมากเป็นดินทรายแบบไม่อุ้มน้ำ เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน จึงเกิดน้ำท่วมขังได้ง่าย แต่ไม่สามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ได้ และเมื่อถึงช่วงฤดูแล้ง จึงเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ สรุปได้ว่าภาคอีสาน ประสบปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้งในปีเดียวกัน
  • ทวีปใดมีปัญหาขาดแคลนน้ำมากที่สุด : แอฟริกาและเอเชีย
  • ประเทศไหนใช้น้ำเยอะที่สุดในโลก : ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศบริโภคน้ำรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยมีการใช้งานมานานหลายทศวรรษ โดยประชากรประมาณ 300 ล้านคน ใช้น้ำในครัวเรือนปริมาณเฉลี่ย 817 พันล้านลิตร / ปี
  • หากไม่ประหยัดน้ำจะเกิดอะไรขึ้น : แหล่งน้ำจืดทั่วโลกจะมีปริมาณลดลง เพราะทุกวันนี้ปริมาณน้ำสะอาด ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง สร้างผลกระทบในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการบริโภค อุปโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และสัตว์ขาดแคลนแหล่งน้ำ เพื่อดำรงชีวิต

สรุป ภัยความแห้งแล้ง “Drought”

ภัยความแห้งแล้ง สภาวะแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศ ที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำเป็นเวลานาน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก หรือที่เรียกกันว่าโลกร้อน ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศ ขาดแคลนน้ำสะอาด และสิ่งมีชีวิตขาดแคลนอาหารมากขึ้น

อ้างอิง

[1] wikipedia. (December 11, 2024). Drought. Retrieved from wikipedia

[2] unhcr. (2024). ภัยแล้ง วิกฤตรุนแรงที่ทำให้คนจำนวนมากต้องพลัดถิ่น. Retrieved from unhcr

[3] taksak. (February 8, 2021). ภัยแล้ง คืออะไร เกิดจากอะไร. Retrieved from taksak