ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ภัยพิบัติ ฟ้าผ่าฟ้าแลบ รู้ทันสายฟ้าฟาดวันฝนตกหนัก

ฟ้าผ่าฟ้าแลบ

ฟ้าผ่าฟ้าแลบ เราจะมองเห็นแสงไฟฟ้าจากก้อนเมฆได้ ในวันที่ฝนตกหนัก และได้ยินเสียงฟ้าร้องดังคำรามตามมาอีกระยะหนึ่ง เพราะการเดินทางของเสียง มีระยะคาบเกี่ยวกัน ชวนเขย่าประสาทของคนขวัญอ่อนได้ไม่น้อย จึงพามาเรียนรู้เพิ่มเติมกับ เรื่องของสายฟ้าและเสียงกัน

กระบวนการเกิดกระแสไฟฟ้า ฟ้าผ่าฟ้าแลบ

ฟ้าผ่าฟ้าแลบ (Lightning) การคายประจุไฟฟ้าและสถิต ผ่านชั้นบรรยากาศของสองพื้นที่ อย่างเช่น ก้อนเมฆกับก้อนเมฆ หรือก้อนเมฆกับพื้นดิน เป็นตัวกลางปลดปล่อยพลังงานชั่วคราว พลังงานเฉลี่ย 200 เมกะจูล – 7 กิกะจูล ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดใหญ่ แผ่รังสีหลายรูปแบบ จึงเกิดเป็นแสงฟ้าผ่า ฟ้าแลบ และเสียงฟ้าร้องทันที [1]

อธิบายลักษณะการเกิดรูปแบบต่าง ๆ

การเกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่า โดยมีการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า คือ เมื่อประจุลบบริเวณฐานก้อนเมฆ เหนี่ยวนำเข้าหาประจุบวกบริเวณบนก้อนเมฆ หรือเมฆอีกก้อนหนึ่ง ทำให้เกิดแสงสว่างในก้อนเมฆ หรือสายฟ้าวิ่งผ่าน เรียกว่า “ฟ้าแลบ” มีประกายไฟฟ้าสูง 200,000 แอมแปร์ และความต่างศักย์ 30 ล้านโวลต์

แต่หากประจุลบบริเวณฐานก้อนเมฆ ถูกเหนี่ยวนำเข้าหาประจุบวกบริเวณพื้นดิน จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า จากก้อนเมฆพุ่งลงสู่พื้นผิวดิน เรียกว่า “ฟ้าผ่า” และเมื่อเกิดเหตุการณ์ทั้งสอง การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า ผ่านไปในอากาศด้วยความเร็วสูง จะผลักดันให้มีอุณหภูมิสูงฉับพลัน จนเกิดเสียงดัง เรียกว่า “ฟ้าร้อง” [2]

สายล่อฟ้าคืออะไร ทำไมต้องมี?

สายล่อฟ้า (Lightning Rod) คือ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า สำหรับบ้านเรือนหรืออาคาร ไม่ให้ถูกฟ้าผ่าโดยตรง โดยจะติดตั้งไว้บริเวณยอดตึก ยอดอาคาร หรือยอดของสิ่งก่อสร้าง ที่มีความสูงมากกว่าบริเวณรอบ ๆ ซึ่งสายไฟจะถูกโยงจากสายล่อฟ้าไปสู่พื้นดิน

เมื่อมีประจุไฟฟ้าจำนวนมากในก้อนเมฆ ก็จะเกิดการถ่ายโอนประจุไฟฟ้า จากก้อนเมฆมายังพื้นดิน ผ่านตัวกลางสายล่อฟ้า จึงทำให้ไม่เกิดฟ้าผ่าตึกหรืออาคาร รวมถึงสิ่งมีชีวิตบนผิวดินด้วยเช่นกัน และยังช่วยลดประจุไฟฟ้าภายในบรรยากาศรอบนั้นอีกด้วย

ฟ้าผ่าฟ้าแลบ พลังงานไฟฟ้าสูงมหาศาล

ฟ้าผ่าฟ้าแลบ

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นควบคู่กันในวันที่ฝนตกหนัก และอาจส่งผลอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจากประกายไฟฟ้ามีอุณหภูมิสูง 25,000 – 30,000 องศาเซลเซียส และมีพลังงานไฟฟ้าสูงมาก ถึงขนาดเพียงพอที่จะเปิดหลอดไฟ ขนาด 60 แรงเทียน ให้สว่างได้มากถึง 600,000 ดวง ภายในพริบตาเดียว

ข้อห้ามในวันฝนตก ลดเสี่ยงฟ้าผ่า

เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นหนึ่งใน ภัยพิบัติธรรมชาติ เราควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่ออยู่ในวันฝนตกหนักหรือเกิด พายุฝนฟ้าคะนอง แนะนำข้อห้ามทำ เพื่อความปลอดภัย ดังต่อไปนี้

  • ห้ามยืนอยู่ใต้ต้นไม้สูงใหญ่ บริเวณใกล้เคียงกับต้นไม้ และพื้นที่สูง
  • หากอยู่ในสถานที่โล่งแจ้ง ห้ามยืนท่ามกลางสายฝน และห้ามนอนหมอบกับพื้น ควรนั่งชันเข่า มุดศีรษะเข้าระหว่างเข่าสองข้าง และเขย่งเท้าให้สัมผัสกับพื้นดินน้อยที่สุด
  • ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ และห้ามถือร่มปลายแหลมที่เป็นเหล็ก
  • หากอยู่ในอาคารหรือบ้าน ไม่ควรอยู่ใกล้กับหน้าต่างและประตู และถ้าหากอยู่ในรถยนต์ ต้องปิดกระจกให้มิดชิด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับโลหะทุกชนิด
  • งดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรถอดปลั๊กไฟ หรืออยู่ให้ห่างจากปลั๊กไฟที่ไม่สามารถถอดได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำประปา เพราะเป็นตัวนำไฟฟ้าเช่นกัน

ที่มา: วิธีป้องกันตัวเองจากฟ้าผ่า [3]

คนมักค้นหาคำถามกับ ฟ้าผ่าฟ้าแลบ

  • ฟ้าแลบอันตรายไหม : คนไม่เพียงแต่ได้รับอันตราย จากการถูกฟ้าผ่าโดยตรงเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสเกิดอันตรายจากฟ้าแลบได้ด้วย อย่างเช่น ฟ้าแลบด้านข้าง คือกระแสไฟฟ้ากระโดด เข้าสู่ร่างกายคนจากทางด้านข้าง จะเกิดขึ้นในกรณีที่คนหลบอยู่ใต้ต้นไม้ และกรณีกระแสวิ่งตามพื้น จากต้นไม้ลงสู่พื้นดินที่มีน้ำนอง ก่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้า เข้าสู่ตัวคนขณะก้าวเดิน
  • ทำไมเราจึงเห็นฟ้าแลบก่อนเสียงฟ้าร้อง : เพราะสายตาของคน สามารถมองเห็นแสงได้จากก้อนเมฆ ก่อนที่จะได้รับรู้การเกิดเสียง เนื่องจากความเร็วแสง มีมากกว่าความเร็วเสียงในอากาศ
  • หากโดนฟ้าผ่ามีโอกาสรอดไหม : ฟ้าผ่ามีความเร็ว 160 – 1,600 กิโลเมตร / วินาที ทำให้เกิดอุณหภูมิสูงถึง 30,000 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของ ดวงอาทิตย์ 6 เท่า แต่น่าแปลกที่คนเรา เมื่อโดนฟ้าผ่าด้วยพลังงานมหาศาล แต่ก็มีโอกาสรอดชีวิตเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะโดนไฟลวกผิวหนังอย่างสาหัส
  • ฟ้าผ่าแบบไหนเกิดขึ้นบ่อยที่สุด : ฟ้าผ่าแบบแผ่น ฟ้าผ่าที่เกิดภายในเมฆเท่านั้น ไม่มีกระแสลงสู่พื้น
  • บ้านควรมีสายล่อฟ้าหรือไม่ : บ้านพักอาศัยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีสายล่อฟ้า ยกเว้นบ้านเรือน ตึกหรืออาคาร ที่มีความสูงกว่าสิ่งก่อสร้างโดยรอบ และมีต้นไม้สูงกว่าบ้านในระยะ 3 เมตร

สรุป ฟ้าผ่าฟ้าแลบ “Lightning”

ฟ้าผ่าฟ้าแลบ การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน โดยมีการคายประจุไฟฟ้าและสถิต ผ่านชั้นบรรยากาศทั้งสองแห่ง ระหว่างก้อนเมฆกับก้อนเมฆ และก้อนเมฆกับพื้นดิน จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ และฟ้าร้อง สามารถเกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ในวันที่ฝนตกหนักฟ้าคะนอง

อ้างอิง

[1] wikipedia. (December 25, 2024). Lightning. Retrieved from wikipedia

[2] lesa. (2024). ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า. Retrieved from lesa.biz

[3] phitsanulokhospital. (September 1, 2022). วิธีป้องกันตัวเองจากฟ้าผ่า. Retrieved from phitsanulok-hospital