ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

พิกุล ไม้มงคลที่มีเทวดาสถิตรักษาอยู่ นิยมปลูกไว้ในบ้าน

พิกุล

พิกุล เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งในสวนของพระอินทร์ ดังนั้นดอกพิกุลจึงเปรียบเสมือน ดอกไม้จากสวรรค์ คนโบราณมีความเชื่อกันว่า บ้านใดปลูกต้นพิกุลไว้ เป็นต้นไม้ประจำบ้าน จะทำให้มีอายุยืน ถือเป็นไม้มงคลที่มีเทวดาสถิตรักษาอยู่ จึงนิยมปลูกไว้ในบ้านบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อความเป็นสิริมงคล หรือทิศใต้เพื่อให้กลิ่นหอมโชยเข้าบ้านในฤดูฝน

แนะนำข้อมูล ต้นพิกุล

ชื่อ: พิกุล
ชื่อภาษาอังกฤษ: Bullet Wood, Tanjong tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimusops elengi
ชื่ออื่นๆ: แก้ว (เชียงใหม่), ซางดง (ลำปาง), ตันหยง (นราธิวาส), กุน, พิกุลเขา
วงศ์: Sapotaceae
ถิ่นกำเนิด: ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต้นพิกุล

พิกุล เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8 – 15 m.

  • ลำต้น: ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม หรือสีเทาอมน้ำตาล และแตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้น มีน้ำยางสีขาว
  • ใบ: เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี หรือรูปไข่กว้างประมาณ 2 – 6 cm. ยาวประมาณ 7 – 15 cm. ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเป็นคลื่น
  • ดอก: เป็นดอกเดี่ยว อยู่รวมกันเป็นกระจุก ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยง 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น และมีกลีบดอกประมาณ 24 กลีบ เรียงซ้อนกันโคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเล็กน้อย ดอกมีสีขาว เมื่อใกล้โรย จะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี
  • ผล: รูปไข่ ผลสีเหลือง เมื่อสุกสีแดง รสหวานอมฝาด มีเมล็ดแข็ง

ที่มา: พิกุล Mimusops elengi L. [1]

การขยายพันธุ์ และการปลูก

ขยายพันธุ์: โดยการเพาะเมล็ด (ในปัจจุบันมีการเพาะปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก)

การปลูก: ปลูกได้ในดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ชอบแดดจัด ทนต่อสภาพต่าง ๆ ได้ดี ขึ้นประปรายในป่าดิบทางภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก [2] 

การใช้ประโยชน์จากต้นพิกุล

  • ปลูกประดับสวนทางทิศใต้ของบริเวณตัวบ้าน เพื่อให้ร่มเงา และกลิ่นที่หอมโชยพัดเข้าในตัวบ้านในช่วงฤดูฝน เช่นเดียวกันกับ บุหงาส่าหรี
  • สามารถนำมาเป็นอาหารรับประทานได้, แต่งกลิ่นอาหาร
  • ปลูกเป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา รักษาโรคได้
  • ลำต้นสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำโครงเรือเดินทะเล และเครื่องมือการเกษตร
  • ปลูกเป็นไม้มงคล

สรรพคุณทางยาสมุนไพร ของพิกุล

  • เปลือกต้น: นำมาต้ม ใช้อมกลั้วคอ ช่วยแก้เหงือกอักเสบ
  • เนื้อไม้: ที่ราลงมีสีน้ำตาลเข้มประขาว มีกลิ่นหอม นั้นเรียกว่า “ขอนดอก” ใช้บำรุงตับ, ปอด, หัวใจ, และบำรุงครรภ์ได้
  • ดอก: มีกลิ่นหอมจัด อยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า เข้าตำรายาหอม มีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ, แก้เจ็บคอ
  • น้ำมันหอมระเหยจากดอก: ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ผลสุก: ใช้รับประทานได้
  • เมล็ด: นำมาตำให้ละเอียด แล้วทำเป็นยาเม็ด ใช้สำหรับสวนเวลาท้องผูก

ที่มา: ต้นพิกุล [3] 

การดูแลพิกุลให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรง

  • น้ำ: หากปลูกลงดิน ควรรดทุกวัน วันละ 1 ครั้ง แต่หากปลูกในพื้นที่น้ำท่วมขัง หรือใกล้แหล่งน้ำ ควรจะลดปริมาณน้ำลงเหลือ 2-3 วันครั้ง
  • ดิน: พิกุลไม่ชอบพื้นที่น้ำท่วมขัง แต่ชอบขึ้นในพื้นที่ดินดี จึงควรเป็นดินร่วนซุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นเล็กน้อย ถึงปานกลาง 
  • ปุ๋ย: ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 2 – 3 kg./ต้น ควรใส่ปีละ 4 – 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงให้ต้น และใบแข็งแรง และช่วยกระตุ้นให้ออกดอกมากขึ้นด้วย

สรุป พิกุล มรดกทางวัฒนธรรมจากธรรมชาติ

สรุป พิกุล สะท้อนความเชื่อในด้านต่างๆ มีอิทธิพลต่อความเชื่อ ทั้งความเชื่อทางศาสนา และความเชื่อในท้องถิ่นที่มีจุดเริ่มต้นมาจากธรรมชาติรอบตัว เชื่อกันว่าพิกุลเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ และเป็นไม้มงคลที่มีเทวดาสถิตรักษาอยู่จึงนิยมปลูกไว้ในบ้าน

อ้างอิง

[1] data. (December 27, 2017). พิกุล Mimusops elengi L. Retrieved from data

[2] wikipedia. (July 19, 2024). พิกุล. Retrieved from wikipedia

[3] guru. (November 236, 2023). ต้นพิกุล. Retrieved from guru