ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ภัยพิบัติ พายุหมุนเขตร้อน พายุความเร็วลมสูงเหนือน้ำทะเล

พายุหมุนเขตร้อน

พายุหมุนเขตร้อน พายุขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดเมฆ และฝนตกอย่างหนัก ถือว่าเป็นภัยจากธรรมชาติ ที่มีความรุนแรงและอันตราย รองลงมาจาก แผ่นดินสั่นไหว เพราะเราจะได้ยินข่าวสารการเสียชีวิต การบาดเจ็บ และความเสียหายกันบ่อย ๆ เราจึงพามาเรียนรู้เพิ่มเติม กับลักษณะการเกิด ผลกระทบ และแนวทางปฏิบัติ

ทำความเข้าใจการเกิด พายุหมุน เขตร้อน

พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone) พายุหมุนอย่างรวดเร็วแบบเกลียว โดยมีศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ และการหมุนเวียนของบรรยากาศระดับต่ำแบบปิด มีลมกระโชกแรง ก่อให้เกิดฝนตกหนัก ความรุนแรงต่างกันตามตำแหน่ง เรียกพายุหมุนเขตร้อนว่า พายุเฮอริเคน พายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชั่น [1]

โครงสร้างทางกายภาพของพายุ

พายุหมุนในเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นทั่วโลก โดยเฉลี่ยประมาณ 80 – 90 ลูก / ปี โดยส่วนมากจะมีความเร็วลม เทียบเท่ากับพายุเฮอริเคน 120 กิโลเมตร / ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น เกิดขึ้นเหนือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ สภาพอากาศอบอุ่น ที่ได้รับพลังงานมาจาก การระเหยของน้ำทะเล และควบแน่นเป็นเมฆและฝน

ภายในโลกของเรามีพายุเขตร้อน ที่มีขนาดต่างกันตั้งแต่ 100 – 2,000 กิโลเมตร มีขนาดเฉลี่ยใหญ่ที่สุดในแอ่งของ มหาสมุทรแปซิฟิก และการไหลเวียนชั้นบรรยากาศของพายุเฮอริเคน มีความรุนแรงสามารถไปสู่ชั้นโทรโพสเฟียร์ และมีความสูงอย่างน้อย 15,000 – 18,000 เมตร

ผลกระทบหลัก จากพายุเขตร้อน

รูปแบบของพายุหมุนเขตร้อน ไม่ว่าจะเกิดบริเวณใดก็ตามบนพื้นผิวโลก นับว่าเป็น ภัยพิบัติธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ดังต่อไปนี้

  • โครงสร้างพื้นฐานเสียหาย ทั้งบ้านเรือน อาคาร สะพาน และถนน
  • อุทกภัยและน้ำท่วมขัง จากปริมาณฝนตกหนัก พร้อมกับคลื่นลมแรง
  • การสูญเสียและการบาดเจ็บของสิ่งมีชีวิต
  • ความเสียหายของภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากขาดแคลนอาหารกับผลผลิต
  • ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จากความเสียหายต่าง ๆ
  • ปัญหาด้านสาธารณสุข การแพร่ระบาดของโรคภัย
  • ประชากรผลัดถิ่นในประเทศ และสูญเสียแหล่งอาศัย อาจต้องอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มา: พายุหมุนเขตร้อน(Tropical Cyclones) [2]

พายุหมุนเขตร้อน ภัยกระแสลมแรงที่ไม่ควรละเลย

พายุหมุนเขตร้อน

พายุหมุนที่มีกระแสลมแรง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่เขตร้อน จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 26 องศาเซลเซียส โดยในประเทศไทย ก็มีโอกาสเกิดขึ้นระดับปานกลางถึงรุนแรง และมักก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งการพังทลายของบ้านเรือน การถูกกระแสน้ำพัดพา และการขาดแคลนน้ำสะอาด

แนวทางปฏิบัติในพื้นที่เสี่ยงภัย

คำแนะนำจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำหรับประชาชนในสถานการณ์ และได้รับผลกระทบจากพายุเขตร้อน ควรปฏิบัติตามข้อกำหนดคือ ติดตามพยากรณ์อากาศ ตรวจสอบบ้านเรือนให้อยู่ในสภาพแข็งแรง จัดเก็บสิ่งของให้มิดชิด ปิดประตูและหน้าต่าง หมอบต่ำ และสังเกตสภาพดินฟ้าอากาศ

สำหรับสิ่งของจำเป็น เตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ส่องสว่าง อาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรคประจำตัว อุปกรณ์การสื่อสาร แบตสำรอง เบอร์โทรฉุกเฉินเพื่อแจ้งเหตุในพื้นที่ และติดตามข่าวสาร คัดกรองข่าวลือด้วยข้อเท็จจริง [3]

คำถามหลากหลายกับ พายุหมุนเขตร้อน

  • พายุหมุนเขตร้อนเกิดจาก : จากการก่อตัวของหย่อนความกดอากาศต่ำ ที่มีกำลังแรงเหนือผิวน้ำทะเล ตำแหน่งการเกิดบริเวณเขตร้อน และบริเวณกลุ่มเมฆรวมตัวกันจำนวนมาก
  • รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนมีอะไรบ้าง : มีมากกว่า 80 รายชื่อ ยกตัวอย่างเช่น พายุไต้ฝุ่นอัสนี พายุไซโคลนอำพัน พายุเฮอริเคนอิสมาเอล แอ่งพายุหมุนเขตร้อน พายุโซนร้อนปาบึก เป็นต้น
  • พายุแบบไหนรุนแรงที่สุดในไทย : พายุไต้ฝุ่นเกย์ (Typhoon Gay) หรือเรียกกันว่า “พายุไซโคลนกาวาลี” เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีขนาดเล็กแต่พลังมหาศาล โดยมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 800 ราย บริเวณอ่าวไทย พัดถล่มคาบสมุทรมลายู มีความเร็วลมสูงสุด 230 กิโลเมตร / ชั่วโมง
  • วาตภัยครั้งสำคัญของไทยคือ : วาตภัยพายุโซนร้อน ที่เรียกว่า “แฮเรียต” เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2505 ณ แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 870 ราย ผู้หายสาบสูญ 160 ราย ผู้บาดเจ็บ 422 ราย ประชากรไร้แหล่งอาศัย 16,170 ราย และทรัพย์สินเสียหายประมาณ 960 ล้านบาท
  • ชื่อของพายุมาจากไหน : การตั้งชื่อของพายุ เกิดขึ้นจากหลายประเทศทั่วโลก โดยการได้รับการตั้งชื่อ จะต้องเป็นพายุที่มีระดับโซนร้อนขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งแต่ละประเทศมีโอกาสเสนอชื่อพายุ ประเทศละ 10 รายชื่อ และสามารถใช้ภาษาท้องถิ่นได้

สรุป พายุหมุนเขตร้อน “Tropical Cyclone”

พายุหมุนเขตร้อน พายุที่มีความรุนแรง ลมกระโชกแรง และหมุนเป็นเกลียวด้วยความเร็วสูง เกิดขึ้นเหนือมหาสมุทรเขตร้อน ขนาดแตกต่างกันระหว่าง 100 – 2,000 กิโลเมตร ส่งผลกระทบเกิดฝนตกหนักและลมแรง จนเกิดความเสียหาย กับสิ่งมีชีวิตและที่อยู่อาศัยจำนวนมาก

อ้างอิง

[1] wikipedia. (December 24, 2024). Tropical cyclone. Retrieved from wikipedia

[2] unhcr. (2024). พายุหมุนเขตร้อน(Tropical Cyclones). Retrieved from unhcr

[3] กรุงเทพธุรกิจ. (January 3, 2019). เตรียมตัวรับมือพายุหมุนเขตร้อน. Retrieved from bangkokbiznews