ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ผักโขม หรือ ผักขม (Amaranth) จัดเป็หนพืชล้มลุก มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผักที่ Popeye ใช้เพิ่มพลัง อันที่จริงแล้วนั่นคือ ผักปวยเล้ง หรือ spinach โดยในการ์ตูนป๊อบอายจะใช้คำว่า spinach อย่างชัดเจน ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับผักโขม เป็นพืชที่ขึ้นได้ง่าย ขึ้นได้ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง มีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารได้แก่ ผักโขม ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม เป็นต้น
ชื่อ: ผักโขม
ชื่อภาษาอังกฤษ: Amaranth
ชื่อวิทยาศาสตร์: Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costea
ชื่ออื่นๆ: ผักโหม ผักหม (ภาคใต้), ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
วงศ์: AMARANTHACEAE (วงศ์บานไม่รู้โรย)
ถิ่นกำเนิด: ในแถบประเทศเขตร้อน
ที่มา: ผักโขม [1]
ผักโขมเป็นไม้พุ่มเตี้ย และเป็นพืชล้มลุก มีอายุแค่ปีเดียว สูงประมาณ 30 – 100 cm.
ขยายพันธุ์: โดยการเพาะเมล็ด ปัจจุบันมีการจำหน่ายเมล็ดบ้างแล้ว ในบางสายพันธุ์ และก็ยังมีสายพันธุ์ที่มักเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถเก็บเมล็ดแก่ เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์เองได้
การเตรียมดิน: ผักโขมสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีการระบายน้ำที่ดี ควรใช้ดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายผสมกับวัสดุทางการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เถ้า เป็นต้น ในอัตราส่วนดินกับวัสดุปลูก 2:1
วิธีการปลูก: ใช้วิธีการหว่านเมล็ดทั้งแปลงหรือการหว่านเมล็ดเป็นแถว
การดูแล: ตั้งแต่หลังการหว่านเมล็ด จนถึงก่อนระยะเก็บผลผลิต ควรรดน้ำทุกวัน วันละ 1 – 2 ครั้ง ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อไม่ให้ดินอุ้มน้ำ หรือมีน้ำท่วมขัง และตั้งแต่ระยะที่ต้นอ่อนมีใบแท้ 2 – 4 ใบ ให้เริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 16-8-8 ประมาณ 2-3 ครั้ง
ที่มา: ผักโขม_และการปลูกผักโขม [2]
อันที่จริงแล้ว ผักโขมจะมีรสชาติออกหวานหน่อยๆ ไม่ได้ขมเหมือนอย่างที่ใครหลายๆ คนคิด กินง่ายและให้โปรตีนสูง วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ อีกมากมาย เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม เป็นต้น
แต่ผักโขมมีปริมาณของสารออกซาเลต (Oxalate) ค่อนข้างสูง ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคนิ่ว ไม่ควรรับประทานผักชนิดนี้ในปริมาณมากๆ โดยแนะนำว่าการปรุงอาหาร ด้วยวิธีการทอด หรือคั่ว จะช่วยลดปริมาณสารออกซาเลตได้ดีที่สุด ส่วนการต้มนั้น จะช่วยลดลงไปได้ ในระดับหนึ่งเท่านั้น
ส่วน”ปวยเล้ง”จะมีสปีชีส์เดียวกันกับผักโขม มีคุณสมบัติทางด้านโภชนาการจะคล้ายๆ กันแต่ผักโขมจะมีธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามินซี สูงกว่าปวยเล้งหลายเท่าตัว ส่วนลักษณะภายนอก และรสชาติจะต่างกันแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่สำคัญคือ ราคาผักปวยเล้งจะมีราคาแพงกว่าผักโขมประมาณเท่าตัว [3]
เป็นยาสมุนไพร: ทั้งต้นผักโขมสามารถนำมาเป็นยา ช่วยรักษาได้หลายโรค เช่น
ทางอาหาร: ยอดอ่อน ใบอ่อน ต้นอ่อน นำมาต้ม,ลวกหรือนึ่งให้สุก รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือนึ่งพร้อมกับปลา ทำผัดผักกับเนื้อสัตว์ นำไปปรุงเป็นแกงเช่น แกงเลียง กินใบผักโขมเป็นอาหาร เป็นยาชูกำลัง ทำให้สุขภาพดี
ประโยชน์อื่นๆ:
ในปัจจุบันมีทั้งพันธุ์ที่มีการปรับปรุงพันธุ์ และพันธุ์ดั้งเดิมที่เกิดตามธรรมชาติ โดยเรียกชื่อตามความนิยม ได้แก่
1. ผักโขมจีน (A. tricolor)
2. ผักโขมบ้าน หรือผักโขมเล็ก
3. ผักโขมหนาม (A. viridis, A. spinosus)
4. ผักโขมยักษ์
สรุป ผักโขม ผักใบเขียวที่มีคุณค่าทางอาหาร มีโปรตีนสูง และมีกรดอะมิโนครบทุกชนิด เหมาะกับผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ ทั้งอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ อีกทั้งยังมีบีตา-แคโรทีนสูง โดยมีสารลูทีนและสารเซอักแซนทิน ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์อยู่เป็นจำนวนมาก สรรพคุณช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา และมีสารซาโปนินที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย สรรพคุณขนาดนี้สนใจอยากทานบ้างแล้วใช่ไหมคะ
[1] wikipedia. (November 23, 2024). ผักโขม. Retrieved from wikipedia
[2] puechkaset. (April 5, 2017). ผักโขม_และการปลูกผักโขม. Retrieved from puechkaset
[3] medthai. (July 2, 2020). ผักโขม. Retrieved from medthai
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.