ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ดินโคลนถล่ม ภัยที่มาพร้อมกับฤดูฝน เมื่อคุณต้องเดินทางผ่านพื้นที่ลาดเชิงเขา หุบเขา หรือใกล้ทางน้ำไหล ดูจะอันตรายไม่น้อยเลย ถ้าเกิดดินหรือโคลนถล่มลงมา เราจะรับมือกับเหตุการณ์นี้อย่างไร พามารอบรู้เพิ่มเติมกับเรื่องของดินโคลน สาเหตุการเกิด พื้นที่เสี่ยงอันตราย วิธีการรับมือและการป้องกัน
ดินโคลนถล่ม (Landslide) หรือดินถล่ม เป็นการเคลื่อนตัวของพื้นดินแบบวงกว้าง ในลักษณะทางลาดชัน ทั้งตื้นและลึก และการไหลของมวลดินและหิน หรือเศษซาก สามารถเกิดขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมหลากหลาย ตั้งแต่แนวเทือกเขาไปจนถึงหน้าผาชายฝั่ง หรือแม้แต่ดินถล่มใต้น้ำ [1]
ดินถล่มเคลื่อนตัวแบบทางลาด แบ่งตามการเคลื่อนที่ทั้ง 5 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
ที่มา: ส่องภัยพิบัติดินถล่มทั่วโลก [2]
เหตุการณ์ดินหรือโคลนถล่ม มีสาเหตุหลายปัจจัย โดยส่วนมากจะเกิดบนพื้นที่ลาดชัน หากมีสิ่งเข้ามากระตุ้นก็จะทำให้เกิดดินถล่มได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณน้ำฝน การละลายของหิมะ ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง การกัดเซาะของแม่น้ำ แผ่นดินสั่นไหว ภูเขาไฟระเบิดลาวา และการรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์
สำหรับพื้นที่ที่มีแนวโน้มการเกิดดินถล่มมาก จะเป็นพื้นที่ลาดชันมีหุบเขาลึก พื้นที่ดินถูกเผาทำลาย พื้นที่มีการก่อสร้างหรือตัดไม้ทำลายป่า ช่องทางตามแม่น้ำหรือลำธาร และพื้นที่มีการระบายน้ำผิวดินหรืออิ่มตัว นอกจากนี้ยังรวมถึง พื้นที่ภูเขามีหิมะและน้ำแข็งปกคลุม เมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น จะเป็นตัวกระตุ้นอีกด้วย
การเกิดดินและโคลนถล่มในประเทศไทย มักเกิดบ่อยครั้งช่วงฤดูฝน เพราะส่วนมากจะมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยน้ำจะเป็นตัวช่วยลดแรงต้านทาน ในการเคลื่อนที่ของมวลดินหรือหิน และเป็นตัวที่ทำให้ดินเปลี่ยนเป็นของไหลได้เช่นกัน จึงมักสร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน
ก่อนอื่นเลยการเกิด ภัยพิบัติธรรมชาติ มักจะมีสัญญาณเตือนก่อนเสมอ อย่างเหตุการณ์ดินหรือโคลนถล่ม จะมีฝนตกหนักนานกว่า 6 ชั่วโมง (มากกว่า 100 มิลลิเมตร / วัน) ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นรวดเร็ว โดยน้ำมีสีขุ่นเหมือนกับสีดิน อาจมีเสียงแตกหักของดินและกิ่งไม้ สัตว์ป่าแตกตื่น และดินมีสภาพชุ่มน้ำกว่าปกติ
วิธีการรับมือ สำรวจความเสี่ยงภัย ติดตามสถานการณ์ (พยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัย) สังเกตสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ และวางแผนอพยพล่วงหน้า (เส้นทางหนีห่างจากแนวการไหล) แต่ถ้าหากกำลังขับรถผ่านเส้นทางเสี่ยง ไม่ควรขับรถเร็วและชิดไหล่ทาง หรืออาจหยุดรถก่อน ในบริเวณที่ปลอดภัย [3]
ดินโคลนถล่ม การเคลื่อนตัวของมวลดินหรือหินเป็นวงกว้าง ในสภาพแวดล้อมทางลาดชันเชิงเขา หุบเขา หรือบริเวณใกล้กับแหล่งน้ำ สามารถเกิดดินถล่มได้หลายแบบ ส่วนมากเกิดขึ้นช่วงฤดูฝน สามารถเอาตัวรอดได้หากพบเจอเหตุการณ์ดินถล่ม เพื่อให้ชีวิตและทรัพย์สินปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.