ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ดาวอังคาร ดาวเคราะห์ที่หลายคนได้ยินอยู่บ่อยครั้ง ฉายา “ดาวเคราะห์สีแดง” เกี่ยวกับการสำรวจนอกโลก ต่างก็ตั้งคำถามกันว่า สามารถเป็นอาณานิคม เหมาะกับการอยู่อาศัยหรือไม่ เราจะพามาหาคำตอบในทุกเรื่อง ทั้งสภาพพื้นผิว ภูมิอากาศ และตอบคำถามยอดฮิต ดาวอังคารมีมนุษย์ต่างดาวจริงหรือไม่
ดาวอังคาร (Mars) ดาวเคราะห์ดวงที่ 4 จากการโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ของ ระบบสุริยะ ที่มีแสงสว่างมากในท้องฟ้า โดยก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ 4,500 ล้านปีก่อน มีดาวบริวาร 2 ดวง คือ Phobos และ Deimos ได้รับการตั้งชื่อตามตำนานกรีก เทพเจ้าแห่งสงคราม เนื่องจากเป็นดาวที่มีสีแดงเด่นชัด [1]
โครงสร้างของดาวอังคาร มีเช่นเดียวกับ ดาวโลก แต่ดาวอังคารจะมีขนาดเล็กกว่า โดยเส้นผ่านศูนย์กลาง 6,779 กิโลเมตร (น้อยกว่าโลกครึ่งหนึ่ง) พื้นผิวมีลักษณะเด่นเป็น หลุมจากอุกกาบาตพุ่งชน ประกอบด้วย ดินแห้ง หิน ทะเลทรายร้อน และแอ่งน้ำ จึงมองเห็นพื้นผิว เป็นสีน้ำตาลแดง หรือสีแดงอมส้ม
สำหรับความหนาแน่น น้อยกว่าโลก ประมาณ 11 – 15% ของโลก ส่งผลทำให้มีแรงโน้มถ่วงบนพื้นผิว 38% โดยมีอุณหภูมิพื้นผิว เกิดการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ระหว่าง -78.5 ถึง 35 องศาเซลเซียส ซึ่งค่อนข้างใกล้เคียงกับโลก แต่ดินในดาวอังคารจะมีค่า pH สูง และสารเคมีเปอร์คลอเรตเข้มข้น ที่เป็นอันตรายกับมนุษย์
การหมุนรอบตัวเองของดาวอังคาร เกิดขึ้นทุก 24.6 ชั่วโมง / รอบ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับวันบนโลก โดยวันบนดาวอังคาร จะถูกเรียกว่า Solar Day หากใน 1 ปี บนดาวอังคาร จะมีระยะเวลาเท่ากับ 669.6 Sols หรือเท่ากับว่าโคจรรอบดวงอาทิตย์ 687 วันบนโลก [2]
จากการหมุนที่เอียง 25 องศา ทำให้ดาวอังคารมีฤดูกาลต่าง ๆ เช่นเดียวกับโลก แต่จะยาวนานมากกว่าโลก เพราะว่าใช้เวลาโคจรนานกว่า และระยะห่างอยู่ไกลกว่าด้วย โดยจะมีฤดูใบไม้ผลิทางซีกโลกเหนือ ยาวนานมากที่สุด 194 วัน ส่วนฤดูใบไม้ร่วงทางซีกโลกใต้ ระยะเวลาสั้นที่สุด 142 วัน และฤดูหนาวกับฤดูร้อน
ภูมิประเทศของดาวอังคาร เรามักจะเห็นพื้นผิว ที่เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต เป็นไปได้ว่าถูกพุ่งชนเมื่อ 4 พันล้านปีก่อน โดยมีหลุมขนาดมหึมาขนาด 10,600 x 8,500 กิโลเมตร หรือเทียบเท่ากับทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลียรวมกัน มีชื่อว่า Korolev Crater แอ่งน้ำแข็งขนาดยักษ์บนดาวอังคาร
หากพูดถึงสิ่งมีชีวิตในดาวอังคาร หลายคนมักนึกถึงมนุษย์ต่างดาว หรือที่เรียกกันว่า “เอเลียน” ซึ่งในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานใด ที่ยืนยันได้ว่ามีอยู่จริง แต่ทีมนักวิทยาศาสตร์ก็สำรวจค้นพบ ข้อเท็จจริงหลายประการ ที่มีความเป็นไปได้สูง เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตหนึ่งบนดาวอังคาร
โดยสภาพพื้นผิวของดาวอังคาร นอกจากจะมีดินแห้ง และทะเลทรายแล้ว ยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ความลึกลงไปถึงชั้นเปลือกหิน ประมาณ 11.5 – 20 กิโลเมตร จึงพบข้อสรุปว่ามี คลื่นไหวสะเทือน (Seismic Waves) ผ่านชั้นหินเปียก เปิดโอกาสสร้างสิ่งมีชีวิต อย่างจุลินทรีย์ และสามารถเจริญเติบโตได้ดีภายในใต้ดิน [3]
นอกจากนี้ ยังมีอีกข้อเท็จจริง คือ นักวิทยาศาสตร์ที่ออกไปสำรวจนอกโลก พบว่ากระบวนการป้องกันสารปนเปื้อน และการทำความสะอาดชุดด้วยรังสี ไม่สามารถทำลายจุลินทรีย์บางชนิดได้ รวมถึงอุณหภูมิต่ำและสูงมากในอวกาศ จึงเป็นไปได้ว่าจุลินทรีย์จะเติบโตจากโลก และไปสู่การอาศัยในดาวอังคาร
ดาวอังคาร ดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กกว่าโลก พื้นผิวส่วนมากเป็นสีน้ำตาลแดง จากหลุมอุกกาบาตพุ่งชน เกิดเป็นดินแห้ง ชั้นหินหนา และทะเลทรายอุณหภูมิสูง จนขึ้นชื่อว่าเป็น ดาวเคราะห์สีแดง เกิดฤดูกาลเหมือนกับโลกของเรา โดยมีสิ่งมีชีวิตอย่างจุลินทรีย์บางชนิด สามารถอาศัยอยู่ได้แต่ไม่ใช่กับมนุษย์
[1] wikipedia. (November 6, 2024). Mars. Retrieved from wikipedia
[2] nasa. (2024). Mars Facts. Retrieved from science.nasa.gov
[3] bbc. (August 25, 2024). เบาะแสสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร. Retrieved from bbc
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.