ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ

ข้อเท็จจริง ดาวยูเรนัส ดาวมฤตยูราชาแห่งท้องฟ้า

ดาวยูเรนัส

ดาวยูเรนัส ดาวเคราะห์สีฟ้าถูกเรียกว่า “ราชาท้องฟ้า” ดาวที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์และโลก ดินแดนที่เต็มไปด้วยชั้นบรรยากาศของก๊าซ น้ำแข็งปกคลุมหนาวเย็น ลมพัดแพง และพายุฝนบ้าคลั่ง ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตไหนได้เหยียบบนดาวเคราะห์นี้ เพราะไม่มีพื้นผิวแม้แต่นิดเดียว มาทำความรู้จักกันให้มากขึ้นกันเลย

เปิดประวัติ ดาวยูเรนัส เจ้าท้องฟ้าน้ำแข็งความตาย

ดาวยูเรนัส (Uranus) ดาวเคราะห์ดวงที่ 7 นับจากวงโคจรของ ดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อันดับ 3 โดยมีแกนเอียงอย่างชัดเจน ขนานกับระนาบของ ระบบสุริยะ จึงมองเห็นเป็นวงแหวนจาง ๆ โดยรอบ ซึ่งได้รับการอ้างอิงชื่อตาม เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า อูรานอส (Caelus) หรือที่เรียกกันว่า ดาวมฤตยู [1]

ดาวยูเรนัส ลักษณะเป็นอย่างไร?

ลักษณะโดยรวมของดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์ก๊าซ มีน้ำแข็งปกคลุม มีวงแหวนเป็นแกนเอียงแบบบาง มองเห็นดาวเป็นสีฟ้าอมเขียว ประกอบด้วย น้ำ แอมโมเนีย และก๊าซมีเทน โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50,724 กิโลเมตร มีมวลมาก และชั้นบรรยากาศไฮโดรเจนและฮีเลียม ค่อนข้างหนาหลายชั้น

อุณหภูมิหนาวเย็นต่ำสุดที่ -224 องศาเซลเซียส ถือว่าเป็นดาวเคราะห์ ที่หนาวเย็นมากและมืดมิด และมีลมพัดด้วยความเร็วสูงสุด 900 กิโลเมตร / ชั่วโมง จากแกนที่เอียง มักเกิดฤดูกาลเปลี่ยนแปลงรุนแรง อย่างเช่น พายุฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง หรือฟ้าผ่า และมีความหนาแน่น ของชั้นบรรยากาศมากกว่า ดาวเนปจูน

1 วันกับการหมุนและวงโคจร

ระยะเวลาการหมุนรอบตัวเอง ภายในหนึ่งวันของดาวยูเรนัส จะใช้เวลาประมาณ 17 ชั่วโมง โดยเป็นระยะเวลาที่หมุนได้รอบแกน 1 รอบ และโคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นเวลา 84 ปีบนโลก สำหรับตลอดเวลา 4 ปี จะมีเพียงหนึ่งครั้ง ที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงเหนือมาโดยตรง ทำให้เกิดฤดูหนาวยาวนานและมืดถึง 21 ปี [2]

สำหรับการมองเห็นดาวยูเรนัส สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลก แต่จะมองไม่เห็นวงแหวน เพราะค่อนข้างมืดมากและบาง ผิดกับวงแหวนของ ดาวเสาร์ โดยวงแหวนดาวยูเรนัส แบ่งออกเป็น 2 ชุด ระบบวงแหวนด้านใน และระบบวงแหวนด้านนอก ซึ่งมีฝุ่นละเอียด และอนุภาคน้ำแข็ง สะท้อนแสงล้อมรอบ

ดาวยูเรนัส ดาวเคราะห์วงแหวนอันตราย

ดาวยูเรนัส

ดาวเคราะห์น้ำแข็ง ที่ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ 4,500 ล้านปีก่อน มีดวงจันทร์บริวาร 27 ดวง โดยดวงจันทร์ชั้นในของดาวยูเรนัส เต็มไปด้วยน้ำแข็งและหิน เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีพื้นผิว ส่วนมากมีแต่ของเหลวหมุนวน โดยยานอวกาศไม่สามารถลงจอดได้ เพราะแรงกดอากาศกับอุณหภูมิ จะเป็นตัวทำลายโลหะได้อย่างง่ายดาย

ยานอวกาศสำรวจเพียงลำเดียว

การสำรวจดาวยูเรนัส มียานอวกาศเพียงลำเดียวเท่านั้น คือ Voyager 2 จากสหรัฐอเมริกา ขององค์การ NASA โดยเฉียดเข้าใกล้กับดาวมากที่สุด ในช่วงปี ค.ศ. 1986 (หลังจากการส่งยานขึ้นสู่อวกาศ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977) เรียกว่าใช้เวลานานถึง 9 ปี ซึ่งตรวจพบดวงจันทร์บริวาร และวงแหวนเพิ่มเติมในปัจจุบัน

ศึกษาเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศ สนามแม่เหล็ก การถ่ายภาพกลุ่มดวงจันทร์บริวาร และการค้นพบเครือข่ายหุบเหว ที่มีความซับซ้อนมาก บนดวงจันทร์บริวาร มิแรนดา (Miranda) โดยนักดาราศาสตร์คาดว่า อาจเกิดจากที่ดวงจันทร์บริวารดวงนี้ แตกออกก่อนสสารที่หลุดไป และกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง [3]

ข้อสงสัยเพิ่มเติมกับ ดาวยูเรนัส

  • ดาวยูเรนัสมีสีอะไรบ้าง : ลักษณะสีฟ้าอมเขียว จากก๊าซมีเทนจำนวนมาก
  • ดาวยูเรนัสมีวงแหวนกี่ชั้น : วงแหวนรวมทั้งหมด 13 ชั้น เป็นแบบจาง ๆ
  • ดาวยูเรนัสมีอุณหภูมิกี่องศา : อุณหภูมิเฉลี่ย -195 °C ค่อนข้างหนาวเย็นมาก และมีลมพัดแรง
  • ดาวยูเรนัสอาศัยอยู่ได้ไหม : จากอุณหภูมิที่เย็นจัด แรงกดอากาศที่เป็นอันตราย และบนดาวไม่มีพื้นผิวโลก จึงทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตใด สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ แม้กระทั่งจุลินทรีย์
  • ทำไมคนไทยเรียกดาวยูเรนัสว่าดาวมฤตยู : เพราะดาวมฤตยู มีความหมายว่า ดาวแห่งความตาย จึงถูกเสนอตั้งเป็นชื่อดาว เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อของเทพเจ้ากรีก และถูกยอมรับอย่างกว้างขวาง

สรุป ดาวยูเรนัส “Uranus”

ดาวยูเรนัส ดาวมฤตยูน้ำแข็ง ดาวเคราะห์แห่งท้องฟ้าและความตาย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 จัดว่าเป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ เพราะมีชั้นบรรยากาศก๊าซอันตราย อนุภาคน้ำแข็งปกคลุม โดยมีวงแหวนล้อมรอบแบบจาง ๆ ดาวที่ไม่มีพื้นผิวโลกให้เหยียบ ทั้งยังมีอุณหภูมิหนาวเย็นจัด และสภาพแวดล้อมมืดมิดตลอดหลายปี

อ้างอิง

[1] wikipedia. (November 13, 2024). Uranus. Retrieved from wikipedia

[2] nasa. (2024). Uranus Facts. Retrieved from science.nasa.gov

[3] thaipbs. (March 9, 2023). 8 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับดาวยูเรนัส. Retrieved from thaipbs