ทางเข้า เว็บตรง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ศูนย์รวมความบันเทิงชั้นนำ
ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่มอบความอบอุ่น และแสงสว่างอยู่เสมอ แม้ว่าจะห่างไกลจากโลกหลายล้านกิโลเมตร เราจะรู้จักกันอีกชื่อว่า “ดาวแคระเหลือง หรือ ดาวยักษ์แดง” ดาวที่เราไม่สามารถจ้องมองด้วยตาเปล่าได้ เพราะนั่นเทียบเท่ากับการเปิดไฟ 4 ล้านล้านดวง มาลองทำความรู้จักกัน ให้มากกว่าที่เคยรู้มาก่อน
ดวงอาทิตย์ (Sun) ดาวฤกษ์ศูนย์กลางของ ระบบสุริยะ โดยเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ สำหรับสิ่งมีชีวิต และดาวเคราะห์ มีระยะการโคจรรอบใจกลางกาแล็กซี ระยะห่าง 24,000 – 28,000 ปีแสงจากโลก นับว่าเป็นดาวฤกษ์ในลำดับหลัก ประเภท G ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “ดาวแคระเหลือง” แม้ว่าแสงจะเป็นสีขาว [1]
การก่อตัวเกิดขึ้นตั้งแต่ 4,600 ล้านปีก่อน จากการยุบตัวของสสาร เพราะว่ามีแรงโน้มถ่วง บริเวณกลุ่มเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ โดยมวลใจกลางมีความร้อน และหนาแน่นมาก จนเกิดปฏิกิริยาฟิวชันนิวเคลียร์ทุกวินาที ทำให้ไฮโดรเจนถูกหลอมเป็นฮีเลียม 600 พันล้านกิโลกรัม และสสารเปลี่ยนเป็นพลังงาน 4 พันล้านกิโลกรัม
เมื่อปฏิกิริยาฟิวชันไฮโดรเจน ลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต จะส่งผลให้แก่นของดวงอาทิตย์ มีความหนาแน่น และมีอุณหภูมิสูงขึ้น สำหรับชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออก จนกลายเป็น “ดาวยักษ์แดง” ที่อุณหภูมิประมาณ 100 ล้านเคลวิน คือช่วงท้ายของดวงอาทิตย์ในอีก 4 – 5 พันล้านปี
ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลม โดยมีการเคลื่อนที่ของสนามแม่เหล็ก ผ่านกระบวนการไดนาโม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.39 ล้านกิโลเมตร เทียบกับว่าใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลมากถึง 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นอัตราร้อยละ 99.86 ของมวลทั้งหมดในระบบสุริยะ
เปลือกนอกของดวงอาทิตย์ ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 73.46% ฮีเลียม 24.85% ออกซิเจน คาร์บอน ธาตุเหล็ก นีออน ไนโตรเจน ซิลิคอน แมกนีเซียม และกำมะถัน โดยภายในแกนมีอุณหภูมิ 15 ล้านเคลวิน ส่วนพื้นผิวนอกมีอุณหภูมิ 5,800 เคลวิน และความสว่างปรากฏ -26.74 เป็นวัตถุท้องฟ้า ที่มีความสว่างมากที่สุด [2]
ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับโลกของเรา โดยมีระยะห่าง 149.60 ล้านกิโลเมตร มีแสงอาทิตย์ที่ใช้เวลาเดินทางมาถึงโลกเพียง 8.3 นาที เราจะมองเห็นแสงเป็นสีสันต่าง ๆ ทั้งหมด 7 สี นอกจากนี้ดวงอาทิตย์ สามารถหมุนรอบแกนของตัวเองได้ ในเวลา 25.38 วัน และการโคจรรอบตัวเอง จะโคจรไปในทางทิศทวนเข็มนาฬิกาเสมอ
รู้หรือไม่? ดวงอาทิตย์มีวันสิ้นอายุขัย โดยอายุขัยของดวงอาทิตย์ จะขึ้นอยู่กับมวล และระยะเวลาการเผาผลาญเชื้อเพลิงไฮโดรเจน เมื่อถึงเวลาที่เชื้อเพลิงหมด จะเกิดวาระสุดท้าย ซึ่งดวงอาทิตย์สามารถมีอายุขัยได้นาน 10,000 ล้านปี สำหรับในปัจจุบันดวงอาทิตย์ มีอายุขัยประมาณ 4.6 พันล้านปี
แนวโน้มเมื่อดวงอาทิตย์สิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์พบว่าอาจกลายเป็น “เนบิลลาดาวเคราะห์” ประกอบด้วย ฟองก๊าซ และฝุ่นคอสมิกส่องสว่าง แต่ถึงอย่างนั้น ก่อนถึงจุดจบที่แท้จริง ดวงอาทิตย์จะกลายเป็น ดาวยักษ์แดง และ ดาวแคระขาว ที่มีแนวโน้มกลืนกิน ดาวโลก ดาวพุธ ดาวศุกร์ และ ดาวอังคาร [3]
ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์พลาสมาร้อนขนาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ มอบพลังงานความร้อน และเปล่งแสงสว่าง ถือกำเนิดมานานกว่า 4,600 ล้านปี มีมวลมาก และอุณหภูมิสูง สามารถหมุนรอบตัวเองได้ และมีวันสิ้นอายุขัยในอีก 1 หมื่นล้านปีข้างหน้า ที่เราจะเรียกว่า เนบิลลาดาวเคราะห์
[1] wikipedia. (November 14, 2024). Sun. Retrieved from wikipedia
[2] howstuffworks. (August 23, 2023). How the Sun Works. Retrieved from science.howstuffworks
[3] nationalgeographic. (March 27, 2024). อายุขัยของดวงอาทิตย์ คือเท่าไหร่. Retrieved from ngthai
LONPAO Official © 2023 All Rights Reserved.